พัฒนาฟ้าทะลายโจร ได้สารสำคัญสูงกว่า


เพิ่มเพื่อน    

  นักวิจัย ม.เกษตร สกลนคร ร่วมกับ 6 ภาคีเครือข่ายใช้นวัตกรรมพัฒนาปลูกฟ้าทะลายโจรให้ได้สารสำคัญ แอนโดรกราโฟไลด์ สูงกว่ามาตรฐาน พบเพิ่มขึ้น 4-6% พร้อมปั้นแบรนด์ภูพานไพล สร้างรายได้ครัวเรือนละ 20,000 บาทต่อเดือน เล็งขยายผลปลูกสู่ตำบลอื่นๆ

    วันที่ 17 ส.ค. ผศ.ดร.ศรีบุษย์ ศรีไชยจรูญพง หัวหน้าทีมวิจัยจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสมุนไพรฟ้าทะลายโจรสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามถึงมาตรฐานสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่จำหน่ายในท้องตลาด ตนและคณะได้ศึกษาวิจัยหัวข้อ “การสร้างนวัตกรรมชุมชน เพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มสมุนไพร” ภายใต้โครงการวิจัย “การสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พื้นที่จังหวัดสกลนคร” ระหว่างเดือน ธ.ค.2563-มิ.ย.2564 โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร, มรฏ.สกลนคร, มทร.อีสาน, กรรมาธิการวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร และโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    ผศ.ดร.ศรีบุษย์กล่าวว่า ทีมวิจัยศึกษาบริบทพื้นที่ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด ด้านเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิตในท้องถิ่น รวมถึงสาเหตุปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องทั้งเอื้อและไม่เอื้อกับการสร้างมาตรฐาน GAP พืชสมุนไพร เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรเปราะบางพืชสมุนไพรให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรสู่การเป็นสินค้า OTOP รวมทั้งจัดการห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าผลผลิตสมุนไพรของเกษตรกร มีช่องทางการตลาด ทั้งออนไลน์ ออฟไลน์
    หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า เดิมชาวบ้านปลูกฟ้าทะลายโจรใช้เมล็ดพันธุ์จากชุมชน ปลูกเน้นการเจริญเติบโตของต้น ไม่มุ่งเน้นค่าสารสำคัญชื่อว่า แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสและยับยั้งการอักเสบ เพราะขาดความรู้และเทคนิคเฉพาะด้านเพื่อให้ได้ค่าสาระสำคัญสูง ทำให้ห่วงโซ่การผลิตฟ้าทะลายโจรยังไม่ครบวงจร ตลอดจนความรู้วิชาการในวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว การตลาดยังมีน้อย เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ความต้องการของตลาดสูงขึ้น ราคาตลาดของฟ้าทะลายโจรต้นแห้งสูงจากเดิม 10 เท่า จากเดิม 50 บาท เป็น 500 บาท/กิโลกรัม ทางทีมวิจัยได้เข้าไปสร้างนวัตกรรมชุมชน เพื่อพัฒนาเกษตรกรกลุ่มสมุนไพรห่วงโซ่คุณค่าฟ้าทะลายโจร
“เปลี่ยนมาปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ฟ้าทะลายโจรคัดจากแปลงจังหวัดปราจีนบุรี พัฒนากระบวนการปลูกแบบแปลงมาตรฐาน ปรับปรุงดินและระบบน้ำ ดูแลเก็บเกี่ยวให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์แปลงมาตรฐาน (PGS, GAP) อบรมการเก็บเกี่ยวลดต้นทุนการกำจัดวัชพืช จนถึงการตากแห้งเพื่อให้ได้ค่าสารแอนโดรกราโฟไลด์สูง เพิ่มเป็น 4-6% จากเดิมได้แค่ 1% สร้างมูลค่าเพิ่มฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัมตากแห้งเป็นแคปซูล จากกิโลกรัมละ 150 บาท เพิ่มเป็น 2,000 บาท พัฒนาแบรนด์ “ภูพานไพล” เป็นตราสินค้าหลักของกลุ่ม สร้างการรับรู้ผ่านตลาดออนไลน์เพจภูพานไพล ฟ้าทะลายโจรแห้ง ต้นกล้าฟ้าทะลายโจร ทำบันทึกความร่วมมือ และเกษตรพันธสัญญากับบริษัทโรงงานผลิตยาแคปซูล แปรรูปแคปซูลยา 2 บริษัท เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจาก 10,000 ต่อครัวเรือน เป็น 20,000 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า ส่งผลให้มีเกษตรกรนอกพื้นที่สนใจโมเดลเพิ่มเติมอีก 3 กลุ่มวิสาหกิจ นอกจากนี้นักวิจัยได้นำชุดความรู้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรนำไปขยายผลในโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล พื้นที่ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร” ผศ.ดร.ศรีบุษย์กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"