ผงะ! คอร์รัปชัน 15,282 กรณี ไม่เว้นแม้ภาวะวิกฤติโควิด


เพิ่มเพื่อน    

20 ส.ค.64 - ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวปาฐกถา หัวข้อ กับดักคอร์รัปชันในอนาคต การถอดกับดักที่ทรงพลังตอนหนึ่ง ในงานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ระดับชาติเรื่อง ถอดกับดักคอรัปชันว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 63 ถึงปัจจุบัน ทำให้ชีวิตและการทำมาหากินต้องปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมสร้างอนาคตใหม่เพื่อผ่านความทุกข์นี้ แต่ภายใต้ความทุกข์ยากนี้ยังมีปัจจัยที่ไปเพิ่มความทุกข์ยากในสังคมขึ้นไปอีกคือการทุจริตคอร์รัปชันที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ในภาวะวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอยู่คำกล่าวหาการทุจริตมีจำนวนถึง 15,282 กรณี แสดงว่าการทุจริตไม่มีการลดราวาศอกให้กับสถานการณ์ใดๆ  

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า กับดักคอร์รัปชัน คือ จิตใจความรู้สึกนึกคิดที่อ่อนแอถูกครอบงำได้โดยง่ายโดยกิเลสความโลภเป็นผู้ที่ขาดคุณธรรมในจิตใจไม่ละอายไม่เกรงกลัวการทำผิด อุดมการณ์แรงจูงใจหรือการประพฤติที่ดีงาม มีค่านิยมที่ผิดเช่น ยกย่องคนมีเงิน คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงโดยไม่สนใจปัจจัยอื่นๆ ยอมอยู่ใต้อิทธิพลของผู้ทุจริต รวมทั้งมีค่านิยมว่าการทุจริตเป็นวิถีชีวิตปกติธรรมดา เห็นคนฉวยโอกาสเอาเปรียบคนอื่นเป็นคนฉลาด   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า การถอดกับดักคอร์รัปชันที่ทรงพลัง คือการพัฒนาจิตใจของปัจเจกทุกคนทั้ง ครอบครัว ชุมชน สังคมให้เข้มแข็งสามารถต้านทานความโลภและค่านิยมผิดๆ ป.ป.ช.มีกระบวนการที่ได้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงรุก โดยได้บูรณาการกับหลายภาคส่วน ดังนี้ ตรากฎหมายให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติก็ด้วยการต่อต้านการทุจริต , การออกหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการลดโอกาสในการทุจริต , การบูรณาการร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปราบปรามการทุจริต, การเร่งรัดให้ดำเนินการไต่สวนที่ขาดอายุความและการยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยทางทุจริตตาม พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 , บูรณาการ การทำงานตามกฏหมายให้มีความรวดเร็วมากขึ้น   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า นอกจากนี้ในเรื่องระหว่างประเทศมีการประชุมเพื่อติดตามการอนุวัตรการตามสนธิสัญญา ให้ความเห็นทางกฎหมายและเสนอแก้ไขกฎหมายและกระบวนการปราบปรามการทุจริตให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การเผยแพร่ข้อมูลการทุจริตให้สาธารณะชนได้รับทราบ เช่น การเผยแพร่ผลการชี้มูลความผิดคดีทุจริตและผลคำพิพากษาของศาลบนเว็บไซต์ของสำนักงานป.ป.ช.ทั้งนี้ยังมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนทุกครั้งที่มีผลการวินิจฉัยเรื่องร้องเรียนและตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการตอกย้ำ ให้เห็นถึงการเทพประสิทธิภาพในการปราบปรามการทุจริต  

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า สำหรับกระบวนการต่อมาเป็นมาตรการทางด้านการป้องกันและการทุจริตเชิงรุก โดยป.ป.ช. มีการกำหนดหลายมาตรการตามนัยยะมาตรา 32 ของกฎหมายป.ป.ช. ได้แก่ ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยปัญหาทางสังคมของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรณีศึกษาของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกี่ยวกับการทุจริตในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการกองทุนประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ซึ่งครม.มีมติเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุนวัดของ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งครม.มีมติเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า รวมทั้งได้มีการกำหนดมาตรการที่เสนอต่อครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ได้แก่ มาตรการป้องกันการทุจริตในการเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ตอบแทนเพื่อโอกาสในการเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การเรียกเก็บเงิน บำรุงการศึกษาและเรียกเก็บค่าปรับพื้นฐาน , มาตรการป้องกันการทุจริตด้วยการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม จะทำหนังสือเรื่องสินบนกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมโดยรวบรวมคำพิพากษาเกี่ยวกับพอดีการรับสินบนและการดำเนินคดีเกี่ยวกับกำลังทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ป.ป.ช. มีนวัตกรรมการสื่อสารแอพพลิเคชั่นที่เรียกว่า “WE STRONG” เพื่อจับตามองและแจ้ง เบาะแสของสมาชิกSTRONG จิตพอเพียงต้านทุจริตทั่วประเทศ ซึ่งสามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้และแจ้งเบาะแสเรื่องร้องเรียนต่อสำนักงานป.ป.ช.ได้ ในปัจจุบันได้มีจำนวนสมาชิกรวม 3,330 คน อีกนวัตกรรมที่มีประโยชน์คือแอนตี้คอร์รัปชันทูบ๊อก เป็นคลังเครื่องมือการป้องกันการทุจริตที่มีในประเทศมากกว่า 250 เครื่องมือเพื่อขยายผลในการนำไปใช้ได้มีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สำนักงานป.ป.ช. ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2564   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ยังมีมาตรการการป้องกันเชิงรุกโดยใช้เครื่องมือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ไอทีเอ) ซึ่งพบว่าความโปร่งใสของภาครัฐมีการพัฒนาดีขึ้นตามลำดับ โดยมีหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินปีงบประมาณ 2561 จำนวน 5,994 แห่ง ได้คะแนนเฉลี่ย 68.78 คะแนน มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป 573 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.29 ของจำนวนผู้ที่เข้ารับการประเมิน ต่อมาปี 62 หน่วยงานที่เข้ารับการประเมิน 8,058 แห่ง ได้คะแนนเฉลี่ย 66.74 คะแนน มีหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป 970แห่ง คิดเป็นร้อยละ 11.69 ของจำนวนผู้ที่เข้ารับการประเมิน ในปี 63 หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินจำนวน 8,300 แห่ง ได้คะแนนเฉลี่ย 67.90 คะแนนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป 1,095 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 13.19 ของจำนวนผู้ที่เข้ารับการประเมิน 

สำหรับปี 64 หน่วยงานที่เข้ารับการประเมินจำนวน 8,300 แห่ง ได้คะแนนเฉลี่ย 81.25 คะแนนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ 85 คะแนนขึ้นไป 4,146 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49.95 ของจำนวนผู้ที่เข้ารับการประเมิน จะเห็นว่าจากปี61ถึง64 การดำเนินการประเมินนั้นมีแนวโน้มที่ดีขึ้นซึ่งหมายความว่าการให้บริการของหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการต่อประชาชนได้รับการยอมรับจากประชาชนและ ถ้าเราสามารถให้หน่วยงานภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ในการให้บริการประชาชนได้มากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ก็แสดงให้ประเทศของเรามีความปลอดภัยมากขึ้นและบริหารจัดการที่ดีแต่คะแนนในอนาคตจะสูงขึ้น 

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า นอกจากนี้ป.ป.ช.ยังมีการประเมิน (ไอทีเอ) กับสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครและสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้ารับการประเมินด้วย ซึ่งถ้าสามารถผ่านการประเมินได้และเป็นที่ยอมรับของประชาชนแสดงว่าประชาชนในกรุงเทพมหานครได้รับความดูแลและคุ้มครองจากหน่วยงานของรัฐได้เป็นอย่างดี กรุงเทพมหานครก็จะเป็นเมืองในฝันเป็นเมืองหลวงไม่ใช่เฉพาะของประเทศไทยแต่เป็นเมืองหลวงชั้นนำของโลกได้  

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า ลำดับกระบวนการต่อมาเป็น มาตรการการป้องปรามเชิงรุก คือ การปักหมุดพื้นที่เสี่ยงต่อการทุจริต ปี 63 เริ่มนำข้อมูลเข้าระบบแผนที่พื้นที่เสี่ยง 2 ชุดข้อมูล คือ 1.ความเสี่ยงในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 2.ความเสี่ยงต่อการทุจริตในความสนใจของภาคประชาชนในชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ซึ่งมีประเด็นร่วมที่ได้รับการปักหมุดในหลายพื้นที่ ได้แก่ การบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ, การจัดซื้อจัดจ้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นที่, การใช้จ่ายงบประมาณโครงการเร่งด่วน

ต่อมาในปี 64 มีการดำเนินการรับหมุดในรูปแบบการประชุมผ่านระบบซูมเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจที่ภาคประชาชนแจ้งว่า มีการดำเนินการผ่านชมรม STRONG จนสามารถถอนหมุดหรือบรรเทาความรุนแรงลงได้จำนวนมาก ดังนี้ ประเด็นหมุนการก่อสร้างซ่อมแซมสาธารณูปโภคในพื้นที่ ซึ่งในหลายจังหวัดสามารถดำเนินการถอนหมุดได้สำเร็จเป็นภาคประชาชนและสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดร่วมกับประสานหน่วยงานที่เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการ เพื่อร่วมการกำกับติดตามผู้รับจ้างให้ดำเนินการถูกต้องตามสัญญาจ้างไม่ให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชน ประเด็นหมุดการใช้จ่ายงบประมาณการแก้ไขปัญหาภัยแล้งภัยและอุทกภัยใช้งบประมาณฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคสี่จังหวัดกาฬสินธุ์และสกลนครมีความรุนแรงลดลง เป็นต้น   

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวว่า กระบวนการสุดท้ายเป็นการมาตรการการป้องกันและการป้องปรามการทุจริตในระดับชุมชนและสังคม โดยการงานส่วนร่วมของภาคประชาชนในชมรมSTRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ใช้กรอบ STRONG โมเดลเพื่อผักดันการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตและนำมาสู่การจริตเชิงรุกพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปครั้งหน้าโดยการประยุกต์และบูรณาการหลักความพอเพียง สร้างความโปร่งใสการแยกแยะผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ส่วนรวมมีความเอื้ออาทรต่อเพื่อนมนุษย์และร่วมกัน ป้องปรามการทุจริตในชุมชน  

ประธานปปช. กล่าวค่อว่า ตั้งแต่ปี 62 เป็นต้นมามีการก่อตั้งชมรม STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต ระดับจังหวัดครบทั้ง 76 จังหวัดและกทม. และในปัจจุบันชมรมSTRONGได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนป.ป.ช.เพื่อขยายผลจัดตั้งชมรมระดับอำเภอ และจากฐานข้อมูลชมรม STRONG ทั่วประเทศมีสมาชิกทั้งสิ้น 63,552 คน และตัวอย่างผลงานของชมรม STRONG เช่น ในภาค 1 ชมรมSTRONG จ. สมุทรปราการ ได้มีประเด็นเรื่องเสาไฟปะติมากรรมกินรีพร้อมโคมไฟระบบพลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์ ของอบต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ผลลัพธ์คือ อ.บางพลี ได้สั่งการขอให้อบต.ราชการเทวะ ชะลอโครงการจัดซื้อเสาไฟประติมากรรมกินรีพร้อมโคมไฟระบบพลังงานแสงอาทิตย์โซล่าเซลล์ออกไปก่อน เพื่อให้หน่วยงานทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว ผลกระทบคือทำให้หน่วยงานท้องถิ่นตระหนักในการตื่นรู้ของภาคประชาชนจึงต้องระมัดระวังการหย่อนยานให้ถูกต้อง 

กระบวนการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตดังกล่าวทั้ง 4 มาตรการข้างต้นคือตัวอย่างของการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการถอดกับดักคอรัปชั่นในระดับชุมชนแล้วก็สังคม ส่วนการถอดกับดักคอรัปชั่นในระดับปัจเจกบุคคลคือการสร้างเสริมจิตใจที่แข็งแกร่งด้วยกลไกทางการศึกษาและกลไกทางศาสนาในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยป.ป.ช. สร้างหลักสูตรต้านการทุจริตศึกษา พ.ศ.2561 เป็นเครื่องมือการปรับวิธีคิดให้คนไทยทุกกลุ่มเป้าหมายและประเด็นสำคัญคือ 1.การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม 2.ความละอายและความไม่ทนต่อการทุจริตร 3.STRONG จิตพอเพียงต้านทุจริต 4.พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม 

ประธาน ปปช. กล่าวว่า ต่อมาในปี 64 ป.ป.ช.ได้สร้างหลักสูตรต้านการทุจริตศึกษาในประเด็นสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ที่สามารถบูรณาการเข้าในหลักสูตรปี 61 ประกอบด้วย การต้านทุจริตในสถานการณ์ดิจิตอลดิสครับชั่น การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางธรณี การพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติน้ำและน้ำบาดาล และในปัจจุบันหลักสูตรต้านทุจริตฯปี 61เป็นรายวิชาในการศึกษาขั้นพื้นฐานและยังมีการฝึกอบรมในทหารและตำรวจ เป้าหมายของหลักสูตรคือเพื่อปรับวิธีคิดที่ไปหาของความซื่อสัตย์สุจริตและมีจิตพอเพียงต้านทุจริต มีความละเอียดในการทำทุจริตและไม่ทนต่อการกระทำทุจริตใดๆ และในปีนี้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาดำเนินการจัดทำหนังสือหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนากับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา ฉะนั้นในปี 65 เป็นต้นไปกลไกทางศาสนาและกลไกทางการศึกษาจะนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาแพร่ขยายไปทั่วพร้อมๆกันในระยะยาวต่อเนื่องทั้งในทางโลกและทางธรรมในการปลูกฝังความเข้มแข็งในจิตใจของคนไทยระดับปัจเจกบุคคล 

พล.ต.อ.วัชรพล เชื่อว่ากลไกในการป้องกันและป้องปรามการทุจริตของทุกภาคส่วนกลไกทางศาสนาและกลไกทางการศึกษาการปลูกฝังวิธีคิดได้ดูจริตจะสร้างความเข้มแข็งของสังคมชุมชนครอบครัวใจเข้มแข็งของคนไทยซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่มีเป้าหมายหลักให้ ภาครัฐมีความโปร่งใสปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบผ่านการพัฒนาคนและระบบ โดยให้ความสำคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรมคนทุกกลุ่มมนสังคมให้มีจิตสำนึกและจะทำให้กับดักคอร์รัปชันที่ไม่มีอิทธิพลและปรากฏแค่ในตำนานเท่านั้น  


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"