ไบโอเทค สวทช. พัฒนาชุดตรวจ 'COVYD-19 Ab test kit (ELISA)' แม่น เร็ว ถูกกว่านำเข้า


เพิ่มเพื่อน    

 

 

23ส.ค.64-กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (สวพท.) พัฒนา “COVYD-19 Ab test kit (ELISA)”ชุดตรวจภูมิคุ้มกันโควิด-19  ด้วยเทคนิค ELISA ใช้งานง่าย รวดเร็ว แม่นยำ และราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ    อยู่ระหว่างการยื่นคำขอประเมินเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และเริ่มมีการนำไปใช้ประโยชน์เพื่อสนับสนุนการศึกษาวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด 19 จาการติดเชื้อหรือได้รับวัคซีน


ดร.พีร์ จารุอำพรพรรณ หัวหน้าทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี ไบโอเทค สวทช.  เปิดเผยว่า“COVYD-19 Ab test kit (ELISA)”  เป็นชุดตรวจภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 พัฒนาโดยทีมวิจัยไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยี และทีมวิจัยการผลิตโมโนโคลนอลแอนติบอดีและการประยุกต์ใช้ ไบโอเทค สวทช. เป็นการนำองค์ความรู้เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาของสุกร ที่เป็นความเชี่ยวชาญเดิมของทีมวิจัยผนวกกับเทคโนโลยีที่เป็นแพลตฟอร์มพื้นฐานคือ ELISA มาพัฒนาต่อยอดได้ทันท่วงที จึงทำให้ชุดตรวจนี้สำเร็จรูปพร้อมใช้งานสำหรับตรวจระดับแอนติบอดีต่อเชื้อก่อโรคโควิด-19 เชิงปริมาณ ที่สามารถใช้ตรวจระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อหรือการได้รับวัคซีน และได้ร่วมกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (สวพท.- AFRIMS) ทดสอบคุณภาพชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 โดยมีการอนุเคราะห์ตัวอย่างซีรั่ม  มาทดสอบเปรียบเทียบกับชุดตรวจแอนติบอดีทั่วไปในท้องตลาด  พบว่ามีความไวและความจำเพาะเทียบเท่ากัน รวมทั้งยังมีการสอบเทียบชุดตรวจตัวอย่างซีรั่มมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO เพื่อให้สามารถอ่านค่าแอนติบอดีในหน่วยมาตรฐานของ WHO   ในขณะนี้ได้นำไปใช้งานในโครงการวิจัยระดับประชากรโดยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตรวจระดับภูมิคุ้มกันโรคโควิด-19 ในบุคลากรสาธารณสุขมากกว่า 1,000 ตัวอย่าง

ดร.พีร์ อธิบายต่อว่า COVYD-19 Ab test kit (ELISA) ทางทีมวิจัยได้เลือกตรวจแอนติบอดีต่อส่วนที่สำคัญที่สุดของไวรัส เป็นส่วนที่ไวรัสใช้จับเข้าเซลล์มนุษย์ในการติดเชื้อ คือ Receptor Binding Domain หรือ RBD ที่อยู่บนโปรตีนสไปค์ (ส่วนที่เป็นหนาม) โดยมีการผลิตแอนติเจน RBD ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมและการผลิต รีคอมบิแนนท์โปรตีน  ให้มีหน้าตาที่เหมือนกันกับโปรตีนของไวรัส แต่ไม่ได้ใช้ชิ้นส่วนจากไวรัสจริงๆ เพื่อความปลอดภัย จากนั้นนำแอนติเจน RBD มาเคลือบลงบนเพลท และใช้สารตรวจจับซึ่งมีปฏิกิริยาทำให้เกิดสี เมื่อนำตัวอย่างซีรั่ม หรือพลาสมา มาตรวจ ถ้าในตัวอย่างมีแอนติบอดีต่อ RBD แอนติบอดีนั้นจะจับอย่างจำเพาะเจาะจงกับ RBD และถูกจับด้วยสารตรวจจับ และแสดงสัญญาณสี แต่หากในตัวอย่างซีรั่ม หรือพลาสมานั้นไม่มีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อ RBD ก็จะไม่มีสีเกิดขึ้น”

“ขณะนี้ ทางทีมวิจัย สวทช. อยู่ในระหว่างการถ่ายทอดชุดตรวจแอนติบอดีต่อ SARS-CoV-2 ที่พัฒนาขึ้น ให้กับคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วที่สุดในช่วงเวลาวิกฤติ ในส่วนของชุดตรวจฯ ยังต้องใช้ตรวจในห้องปฏิบัติการ ไม่สามารถตรวจเองได้ เพราะยังต้องใช้เครื่องอ่านผล แต่ก็เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่มีในห้องปฏิบัติการทั่วไป รวมถึงโรงพยาบาลขนาดกลาง เนื่องจากเป้าหมายการพัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีในช่วงแรกเน้นเพื่อการตรวจวินิจฉัยส่วนบุคคลในระดับประชากร ที่มีตัวอย่างจำนวนมาก เพื่อใช้เป็นข้อมูลสถิติในการอ้างอิง ด้วยเชื่อว่าการตรวจเพื่อให้ทราบระดับของภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในระดับประชากรจะเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการบริหารวัคซีนและกำหนดมาตรการสาธารณสุขที่เหมาะสม จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรคได้ รวมทั้งสามารถวางแผนบริหารบุคลากรด่นหน้าได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย” ดร.พีร์ กล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"