นวัตกรรมบอร์ดเกม เสริมทักษะการเงินเยาวชน


เพิ่มเพื่อน    

    บอร์ดเกม หรือในภาษาไทยเรียกกันว่า เกมกระดาน เป็นเกมประเภทหนึ่งที่ไม่ได้เพียงแต่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน แต่ทุกวันนี้ มีการนำมาใช้เพื่อพัฒนาคน 
    การละเล่นอย่างบอร์ดเกม และชุมชนที่มีภาพลักษณ์สีเทาๆ ต่อสายตาบุคคลภายนอก เช่น ชุมชนคลองเตย ฟังดูเหมือนเป็นคนละเรื่องกัน 
    แต่นักศึกษาชั้นปี 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มหนึ่ง สามารถนำมารวมกันได้ โดยเอากระบวนการเรียนรู้มาเชื่อมโยง เกิดเป็นนวัตกรรมบอร์ดเกมที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับเด็กๆ คลองเตย ได้เล่นสนุกไปพร้อมกับเรียนรู้เรื่องการเงิน 
    5 เดือนเต็มที่นักศึกษากว่า 20 ชีวิต ลงพื้นที่สำรวจชุมชนทุกตรอกซอกซอย ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้คนหลากอาชีพ ทุกเพศทุกวัย เพื่อหาโจทย์ที่จะทำโครงการ ด้วยความเป็นชุมชนแออัดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ชาวคลองเตยต่างสะท้อนปัญหาที่หลากหลายและความท้าทายในชีวิต ซึ่งผู้คนที่นี่มักพูดถึงคือ “ปัญหาหนี้สิน”
    “บีม” ชาลิสา พงศ์พันธ์ หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม ถ่ายทอดประสบการณ์ในการลงพื้นที่เรียนรู้ว่า “ตอนแรก พอได้ยินชื่อคลองเตย เราตัดสินเขาไปก่อนแล้วตามสิ่งที่เคยได้ยินมา แต่พอเราได้ไปสัมผัสชีวิตที่นี่ โดยมีพี่ๆ น้องๆ ในชุมชนพาเดินสำรวจทุกพื้นที่ ได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น เห็นความน่ารักของชุมชน ได้พบเจอผู้คนดีๆ เจอเยาวชนที่มีศักยภาพ ซึ่งเราไม่เคยรับรู้มาก่อน 
    จากการพูดคุยกับผู้คน ปัญหาหนึ่งที่หลายคนในชุมชนกำลังเผชิญคือ ปัญหาการเงินและหนี้สิน ซึ่งอาจไม่ได้แปลว่าชุมชนยากจน แต่อาจหมายถึงความต้องการเสริมทักษะด้านการบริหารจัดการเงิน เราเลยจับประเด็นเรื่องความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) โดยเลือกที่จะทำงานกับกลุ่มเด็กๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เราเข้าถึงได้ และเด็กๆ ที่เราทำกิจกรรมด้วยส่วนใหญ่ก็ใกล้ถึงวัยที่พวกเขาต้องออกไปอยู่ในจุดที่ต้องทำงานและจัดการการใช้เงินของตนเอง เราจึงอยากปลูกฝังเรื่องการใช้เงินกับเขา เพื่อให้ทักษะติดตัวพวกเขาและเกิดประโยชน์ในวันข้างหน้าได้” 

แล้วทำไมต้องเป็นบอร์ดเกม? 
    คำตอบที่ได้จากนักศึกษากลุ่มนี้คือ พวกเขาเห็นว่าธรรมชาติของเด็กโดยทั่วไปนั้นชอบเล่นซึ่งนำไปสู่การอยากเรียนรู้ จึงคิดที่จะทำงานกับเด็กๆ ในชุมชนโดยการเอาเกมมาเชื่อมโยงการเรียนรู้กับความสนุกเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเสริมทักษะด้านการใช้เงินผ่านการเล่นเกม และเชื่อมโยงสู่การถอดบทเรียนให้น้องๆ เห็นว่าสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างไร 
    การที่นักศึกษาทั้งกลุ่มแทบไม่เคยเล่นบอร์ดเกมมาก่อน แต่อยากจะออกแบบเกมเพื่อการเรียนรู้ขึ้นมาใช้งานจริงๆ ถือเป็นความท้าทายที่ยากลำบากไม่น้อย เพื่อให้เข้าใจกลไกของการออกแบบเกม ทุกคนในกลุ่มต้องเล่นเกมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ต้องทำ Research ในพื้นที่อย่างหนัก รวมไปถึงต้องทำความเข้าใจเรื่องความรู้ทางการเงินให้มากที่สุด แล้วลองเล่นและปรับแก้มานับครั้งไม่ถ้วน พร้อมทั้งฝึกนำเล่นเกมและถอดบทเรียน เพื่อสร้างสรรค์เกมที่เหมาะกับเยาวชนในพื้นที่คลองเตยจริงๆ  
    บีมได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “บางครั้งโครงการของเราที่คิดว่าดีแล้ว แต่เมื่อเจอสถานการณ์จริงมันมีอีกมากที่ต้องปรับแก้ เพราะมันคือการทำงานจริง ไม่ใช่การทำงานบนหน้ากระดาษ ซึ่งการเรียนในคณะที่ให้ความสำคัญกับการเข้าใจความแตกต่างหลากหลายก็ช่วยได้มาก และด้วยความที่พวกเราชินกับการเรียนที่เป็นกระบวนการ ทำให้เราสามารถนำน้องๆ เรียนรู้ผ่านการเล่นเกมได้ไม่ยากนัก” 
    รอยยิ้มของน้องๆ ในชุมชนคลองเตย และความเข้าใจในการจัดการบริหารจัดการเงินในชีวิตประจำวันที่มากขึ้น เมื่อได้ลองเล่นบอร์ดเกมที่มีต้นทุนจากชุมชนของพวกเขาเอง รวมไปถึงความสนใจจากเหล่าเกมเมอร์ผู้ทำงานด้านบอร์ดเกม ถือเป็นกำลังใจอย่างดีให้น้องๆ นักศึกษาชั้นปี 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มนี้ 
    ความสำเร็จในวันนี้ ดูเหมือนเป็นแค่บอร์ดเกมหนึ่งกล่องกับการฝึกให้เยาวชนคลองเตยสามารถไปนำเล่นเกมและถอดบทเรียนกันเองต่อได้ แต่ก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กในคลองเตยหันมาสนใจการศึกษามากขึ้น ด้วยเห็นแล้วว่า การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องถูกจำกัดแค่ในโรงเรียน แต่สามารถเรียนรู้ผ่านสิ่งรอบตัวอย่างอย่างการเล่นได้. 

อะไรคือ...บอร์ดเกม 
    สำหรับบอร์ดเกมมีมานานมาก และได้รับความนิยมเด่นๆ ก็คงหนีไม่พ้น "Monopoly" หรือที่เราคุ้นเคยกันนั้นก็คือ "เกมเศรษฐี" นั่นเอง และได้พัฒนามากขึ้นๆ จนทำให้เกิดเกมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น The Settler of Catan/Ticket to Ride/Timeline และเกมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
    ณ ปัจจุบันเกมกระดานมีหลายเกมส์และมีประโยชน์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ในทางการศึกษาเรียนรู้ในโรงเรียน เอาไปฝึกภาษา การคำนวณ และประโยชน์อย่างอื่นอีกมากมาย รวมถึงความสนุกสนานในตัวเกมส์อีกด้วย
    บอร์ดเกมที่คนไทยทุกคนยอมรู้จักดี เช่น เกมเศรษฐี เกมบันไดงู เป็นต้น ซึ่งทั่วโลกเองก็มีเกมในลักษณะแบบนี้เช่นกันครับ โดยเฉพาะในโซนทวีปยุโรป ทำให้มีการเรียกเกมกลุ่มนี้ว่า EURO GAME 
    ปัจจุบันมีเกมออนไลน์มากมายบนอินเทอร์เน็ต แต่บอร์ดเกมนั้นยังคงได้รับความนิยมไม่ต่างจากในอดีต
    จุดเด่นของบอร์ดเกมที่แตกต่างจากการเล่นเกมบนคอมพิวเตอร์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ คือการที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่น ได้เรียนรู้นิสัยใจคอ เป็นการละลายพฤติกรรมที่ดีเลยทีเดียว บางเกมยังช่วยพัฒนาผู้เล่นอีกด้วย นอกจากนี้ บอร์ดเกมยังเป็นของสะสมที่ถูกใจใครหลายๆ คน
    บอร์ดเกมที่คนไทยเล่นกันอยู่ในปัจจุบันตามร้านบอร์ดเกมคาเฟ่ต่างๆ เป็นบอร์ดเกมยุคใหม่ กล่าวคือ บอร์ดเกมปัจจุบันได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่น อุปกรณ์การเล่น และธีมของเกม รวมไปถึงงานศิลป์ของเกมให้น่าสนใจมากขึ้น 
    ระบบการเล่นของบอร์ดเกมยุคใหม่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การทอยลูกเต๋า เอาตัวหมากของเราเดิมตามช่อง แต่ตัวเกมกลับออกแบบให้เราใช้ความคิดมากขึ้น ตัวเกมมักจะให้ทรัพยากรเริ่มต้นเรามาจำนวนหนึ่ง (คนงานก็ได้ หรือ Action แม้กระทั่งการ์ด) ให้เราเอาทรัพยากรที่มีอย่างโคตรจำกัดไปเปลี่ยนเป็นคะแนน (รูปแบบการเล่นแบบนี้เรียกแบบกว้างๆ รวมๆ ว่าแนว Worker Placement) โดยที่เราต้องวางแผนให้รอบคอบ เพราะเราไม่ใช่คนเดียวที่อยากได้คะแนนนั้น ระบบทอยลูกเต๋าจึงกลายเป็นระบบการเล่นที่โคตรเฉยมากในวงการบอร์ดเกม เพราะการทอยเต๋าเป็นเรื่องของดวงที่เรากำหนดไม่ได้ คนเล่นส่วนใหญ่จึงไม่ชอบที่การวางแผนมาตลอดทั้งเกมมาพังลงเพราะการทอยเต๋าครั้งเดียว
    นอกจากเกมแนววางแผนจัดการทรัพยากรแล้ว บอร์ดเกมยังมีเกมอีกแนวที่เรียกแบบไทยๆ ว่าเกมโกหก เกมบลัฟ (คำฝรั่ง แต่เรียกแบบไทย) หรือปาร์ตี้เกม คือเกมแนวนี้จะเป็นเกมที่เล่นง่ายๆ ไม่ซับซ้อน และระบบการเล่นจะใช้วิธีการสนทนาพูดคุยกันมากกว่า โดยมากธีมเกมมักจะเป็นการจับโกหกคนอื่นให้ได้ หาให้ได้ว่าใครเป็นคนร้าย และเป็นเกมที่ใช้เวลาเล่นไม่นาน อย่างพวกเกม Werewolf, Avalon, Coup.
    

ที่มาอันยาวนานของ...บอร์ดเกม
    รู้หรือไม่ว่า...บอร์ดเกมเกิดขึ้นมาก่อนที่จะมีการประดิษฐ์ตัวอักษร
    นักประวัติศาสตร์ได้ขุดพบหลักฐานเป็นหินสีขนาดเล็กแกะสลักจำนวน 49 ชิ้น ที่ประเทศตุรกี ซึ่งคาดเดาว่าหลักฐานชิ้นนี้น่าจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช และมีการสันนิษฐานกันว่าบอร์ดเกมแรกที่ถูกสร้างขึ้น ก็คือ ลูกเต๋า
    แต่ลักษณะของลูกเต๋าในอดีตก็แตกต่างกับปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เมื่อก่อนลูกเต๋าจะเป็นแท่งแบนหลายแท่ง แต่ละแท่งจะทาสีไว้แค่ด้านเดียว มีวิธีเล่นคือ ต้องโยนทุกแท่งพร้อมกัน และก็นับเฉพาะด้านที่มีสีปรากฏ จนกระทั่งในยุคโรมันมีการเปลี่ยนรูปร่างของลูกเต๋าให้มีลักษณะทรงลูกบาศก์ที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน คือ มี 6 ด้าน แต่มีการตัดมุมออก ลูกเต๋าในตอนนั้นน่าจะหรูกว่าตอนนี้มาก เพราะทำมาจากแก้ว เหล็ก ทองแดง และหินอ่อน
    แต่เกมแรกที่มีอุปกรณ์ เช่น กระดานและหมาก ลักษณะคล้ายกับบอร์ดเกมในปัจจุบัน ก็คือ SENET หลักฐานนี้คาดว่าอยู่ในยุค 3,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งพบว่าในช่วงนั้นบอร์ดเกมนิยมเล่นเป็นกิจกรรมยามว่างในกลุ่มของฟาโรห์
    ยังพบหลักฐานว่าเกม SENET ถูกบันทึกเป็นภาพในพิธีฝั่งศพของยุคอียิปต์โบราณ และราชวงศ์แรกของอียิปต์ ต่อมาก็กลายเป็นเครื่องรางสำหรับการเดินทางของคนตาย
    ต่อมายุค 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในอาณาจักรโรมัน บอร์ดเกมยังคงได้รับความนิยมในทุกวัย จนดัดแปลงให้เป็นการละเล่นสำหรับเด็กๆ ที่มีชื่อว่า Hop-Scotch หรือคนไทยเรียกกันว่า เกมตั้งเต (คือเกมที่กระโดดตามช่องเพื่อไปเก็บหมากที่โยนไว้ก่อนเริ่มเกมนั่นเอง)
    ยังมีบอร์ดเกมอีกหนึ่งเกมที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ ค.ศ.400 และพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเกมที่คุ้นเคยอย่าง หมากรุก จนมาถึงปี 1903 Ms.Lizzi Magie ได้สร้างเกมที่มีชื่อว่า Landlord เพื่อจำลองการครอบครองที่ดินของนายทุน โดยนำหลักแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ของ Henry George มาใช้
    แต่ต่อมา Magie ได้ขายเกมนี้ให้กับพี่น้องตระกูลปาร์กเกอร์ในราคา 500 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกมนี้ก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Monopoly หรือเกมเศรษฐี จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และต่อมาพี่น้องตระกูลปาร์กเกอร์ก็สร้างเกมอื่นๆ ออกมา เช่น Risk และ Sorry หลังจากนั้นบอร์ดเกมก็เริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น
    ในปี 1978 ได้มีการสร้างเวทีออสการ์สำหรับผู้ที่ออกแบบบอร์ดเกมยอดเยี่ยม โดยมีชื่อรางวัลว่า “Spiel des Jahres” ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกอยู่ 4 อย่าง คือ แนวคิด โครงสร้าง การจัดผังเกม และการออกแบบ
    บอร์ดเกมที่ได้รางวัลจากเวทีนี้ เช่น Settlers of Catan, Ticket to Ride, Dixit, Camel Up และขอยกตัวอย่างรายได้ของบริษัท Asmodee North America ที่เป็นผู้ผลิตบอร์ดเกม
    ปี 2015 มีรายได้ประมาณ 8,819 ล้านบาท
    ปี 2016 มีรายได้ประมาณ 14,577 ล้านบาท
    ลักษณะของบอร์ดเกมที่หลากหลาย และเล่นได้ในหลายโอกาส ทำให้เป็นที่นิยมเพิ่มขึ้น เช่น เกมวางแผน เช่น Game of Thrones, Splendor, Carcassonne เกมจับผู้ร้าย เช่น Avalon, สามก๊ก
เกมใช้คิดสร้างสรรค์ เช่น Dixit, Codename เกมปาร์ตี้ เช่น Uno, Exploding Kittens, Mogel Motte
    นอกจากจะมีหลายประเภท บอร์ดเกมยังมีข้อแตกต่างจากเกมประเภทอื่น คือเล่นได้ทุกวัย และจำนวนคนในแต่ละเกมสามารถเริ่มต้นตั้งแต่ 1 คน จนบางเกมเล่นได้ถึง 68 คน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"