มช.พัฒนาเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ราคาถูก มีความแม่นยำสูง คลาดเคลื่อนไม่เกิน 2%


เพิ่มเพื่อน    


 
25 ส.ค.64-จากการระบาดโควิด-19 ทำให้คนไทยตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ หลายคนหาซื้ออุปกรณ์ตัวช่วยเพื่อเช็คอาการเบื้องต้น รวมถึงอุปกรณ์วัดค่าออกซิเจนในเลือด เพื่อเฝ้าระวังตรวจสอบความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของตัวเอง จนทำให้อุปกรณ์ชนิดนี้ที่ขายตามท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงเกิดแนวคิดผลิตเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ในราคาที่ย่อมเยาและมีความแม่นยำสูง เพื่อให้เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย รองศาสตรจารย์ ดร.เอกรัฐ บุญเชียง อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านสารสนเทศทางสุขภาพเพื่อชุมชน ร่วมกับทีมวิจัยสถาบันวิทยสิริเมธี (Vistec) ได้พัฒนาอุปกรณ์เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนด้วยปลายนิ้ว วางแผนออกแบบและสั่งชิ้นส่วนอุปกรณ์จากต่างประเทศ นำมาประกอบและตั้งค่าความแม่นยำในการตรวจวัด โดยอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นมานี้ สามารถวัดได้ทั้งค่าออกซิเจนในเลือด และอัตราการเต้นของหัวใจ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 2 % เท่านั้น ที่สำคัญคือ มีต้นทุนน้อยกว่าที่ขายตามท้องตลาดหลายเท่าตัว 

นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดพัฒนาแอปพลิเคชัน ชีวิต (Chivid) ที่สามารถเข้าสู่ระบบโดยผ่านแอปพลิเคชันไลน์และกรอกข้อมูลประวัติคนไข้ ถ่ายภาพเครื่องวัดในขณะใส่ที่นิ้วลงบนแอปพลิเคชัน ระบบจะจดบันทึกได้โดยที่คนไข้ไม่จำเป็นต้องกรอกค่าออกซิเจนด้วยตนเอง ข้อมูลจะส่งถึงเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ทันที โดยลดการใกล้ชิดของผู้ป่วยและบุคลากร อีกทั้งการใช้งานสะดวกต่อคนชราที่อาศัยอยู่ที่บ้าน ซึ่งอาจจะลำบากต่อการอ่านค่าปริมาณออกซิเจน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพหน้าจอแสดงผล ส่งเข้าไปให้กับ       แอปพลิเคชันเพื่อรายงานค่าต่าง ๆ อย่างละเอียด เป็นการช่วยลดระยะห่างระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย

แม้เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนปลายนิ้วจะไม่ใช่อุปกรณ์ที่สามารถวินิจฉัยได้ว่า ผู้ใช้ติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ แต่สามารถใช้เฝ้าระวังอาการผิดปกติภายในร่างกาย สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ รวมทั้งใช้ติดตามอาการผิดปกติ ในผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับแพทย์ เพื่อให้สามารถมาพบแพทย์ได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการผิดปกติ ซึ่งเมื่อพบความผิดปกติ และพบแพทย์ได้เร็ว โอกาสที่โรคจะเพิ่มความรุนแรงหรือเสี่ยงเสียชีวิตก็จะน้อยลงไปด้วย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่มีความพร้อมและมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้า ทีมนักวิจัยที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ต่างมีเป้าหมายเดียวกันคือ มุ่งเน้นการทำงานด้านสุขภาพเพื่อรับใช้สังคมให้เกิดประโยชน์สูงสุดและได้มาตรฐานในระดับสากล 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"