ต่ออายุ VAT7%


เพิ่มเพื่อน    

หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำเสนอแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ ด้วยการกู้เงินเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้าน เพื่อนำมาใช้ประคองเศรษฐกิจในช่วงที่สถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังเป็นที่น่ากังวล  
    โดยชี้ว่ารัฐบาลไม่ต้องไปกังวลกับเรื่องกรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยเฉพาะเรื่องของอัตราส่วนของหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ซึ่งหากมีการกู้จริงจะส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีวิ่งจากปัจจุบันในระดับกว่า 50% ไปอยู่ที่ระดับพีกสูงสุดที่ประมาณ 70% ของจีดีพีในปี 2567
      แน่นอนตัวเลขดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นการทะลุเพดานความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดไว้ว่า หนี้สาธารณะของประเทศไม่ควรเกิน 60%
    แต่ในมุมมองของผู้ว่าแบงก์ชาติย้ำชัดว่า ไทยยังมีเสถียรภาพการคลังที่ดี และมองว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะวิ่งขึ้นไป 70% เศรษฐกิจไทยไม่ได้ลำบากและยังรองรับได้ เพราะเชื่อว่าหากเศรษฐกิจฟื้น ตัวเลขสัดส่วนหนี้สาธารณะจะลดลงอย่างรวดเร็ว จากการที่เศรษฐกิจมีการขยายตัว โดยจากข้อมูลประมาณการของ ธปท.ชี้ว่า
     “เมื่อเทียบกับกรณีที่รัฐบาลกู้เงินเพิ่ม พบว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี 2574) จะต่ำกว่ากรณีที่รัฐบาลไม่ได้กู้เงินเพิ่มเติมถึงกว่า 5% ดังนั้นหากรัฐบาลไม่เร่งพยุงเศรษฐกิจเพิ่มเติมในภาวะที่ความไม่แน่นอนสูง เพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤติยืดเยื้อ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีแม้จะเพิ่มขึ้นช้า แต่จากการประมาณการ คาดว่าจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงและปรับลดลงได้ไม่มากนักในระยะยาว”
     พร้อมกันนี้ทาง ธปท.ยังระบุเองว่า กรณีที่สถานการณ์การคลังตึงตัว รัฐบาลก็ยังสามารถเลือกที่จะขยับการจับเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้อีก เพราะในกรอบของกฎหมายให้สามารถเก็บได้ถึง 10% ซึ่งในปัจจุบันเก็บอยู่ 7% เท่านั้น
     ซึ่งมีการศึกษากันมาตลอดว่า หากรัฐบาลเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 1% จะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาช่วยลดภาระการคลังของรัฐบาลลงได้
     นี่คือมุมมองและข้อเสนอของ ธปท.
     แต่อย่างไรก็ดี เรื่องแผนการกู้เงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมที่เสนอไปนั้น ทางภาครัฐเองก็ยังไม่ได้ขานรับและจะนำมาใช้เป็นแนวทาง
    และจากมติ ครม.ล่าสุดที่เห็นชอบให้คงจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% สำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2564 - 30 ก.ย.2566 ก็แสดงให้เห็นว่า เรื่องแนวทางการขึ้นภาษี VAT นั้น อาจจะไม่ใช่ทางเลือกในการบริหารเศรษฐกิจในช่วงนี้
     โดยสิ่งที่คณะรัฐมนตรีและกระทรวงการคลังประเมินออกมานั้น เพราะเห็นว่าด้วยสถานการณ์ทางการเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และไม่ต้องการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคที่หลายคนมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง และภาระรายจ่ายอยู่แล้ว ขณะเดียวกันช่วยแบ่งเบาภาระภาษีด้วยการขยายเวลาชำระภาษีหลายประเภทออกไป เพื่อให้สภาพคล่องอยู่ในมือประชาชนและผู้ประกอบการต่อไปอีกสักระยะหนึ่งด้วย
     แน่นอนหากมองในมุมรายได้ การขึ้น VAT นั้นเป็นทางออกที่แก้ได้ง่ายมาก แต่ในมุมของเศรษฐกิจ อารมณ์ความเชื่อมั่นของประชาชน การขึ้น VAT ก็คือการเพิ่มภาระให้กับประชาชนนั่นเอง และของทุกอย่างก็จะแพงขึ้น ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อ และพาลนำไปสู่การไม่จับจ่ายใช้สอย  กลายเป็นเศรษฐกิจฝืดเคืองตามมา
     ดังนั้นเรื่องนโยบายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องคิดใน 2 ด้าน ซึ่งจะต้องมีการชั่งน้ำหนักให้ชัดว่าจะเลือกในด้านไหน
     แต่ตอนนี้รัฐบาลขอเล่นเกมเพลย์เซฟ ยืนการจัดเก็บในอัตราเดิม เพราะการจะไปแตะภาษีมูลค่าเพิ่มในช่วง 1-2 ปีนี้ ซึ่งเศรษฐกิจยังไม่กลับมาฟื้นตัวเต็มที่ ถือเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงมาก.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"