'ศักดิ์สยาม'แจงปมตั๋วร่วมอืดชี้ติดปัญหาสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าในอดีต


เพิ่มเพื่อน    


27 ส.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยในการตอบกระทู้ถามทั่วไป เรื่องความคืบหน้าในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมรถไฟฟ้า (บัตรแมงมุม) และระบบตั๋วร่วมขนส่งมวลชน ตามที่นายสมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล กรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า เรื่องดังกล่าว ถือเป็นเรื่องเดิมในอดีต โดยการขนส่งสาธารณะนั้น ประเทศไทย เริ่มต้นจากระบบไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งถือเป็นเส้นทางแรกในปี 2542 ภายใต้การกำกับดูแลของ กทม. ถัดมาในปี 2547 ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ภายใต้กำกับของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้ ในสัญญาสัมปทานทั้ง 2 สัญญาของโครงการรถไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น ไม่ได้มีการระบุถึงการใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้ในปี 2555 กระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมา จะต้องใช้เวลาเล็กน้อย เพราะว่าในปี 2556-2558 มีการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ขณะที่ในปี 2558-2560 มีการศึกษาระบบจัดทำศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House: CCH) ซึ่งในขณะนี้ ดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นในปี 2561 สนข. ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอออก พ.ร.บ.การบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.
 
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า โดยสรุปเบื้องต้นนั้น ปัญหาระบบตั๋วร่วมที่มีความล่าช้า ไม่สามารถเปิดบริการให้กับประชาชนได้ มี 2 ประการ ประกอบด้วย 1.มีผู้ประกอบการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหลายราย ซึ่งในสัญญาสัมปทาน ไม่ได้ระบุให้มีการดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วม ทำให้ต้องอาศัยการเจรจา ซึ่งในขณะนี้การเจรจาต่างๆ ได้ผลลุล่วงเป็นอย่างดี และ 2.ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องระบบตั๋วร่วมอย่างชัดเจน ทำให้ไม่มีอำนาจไปบังคับเอกชนผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าให้เข้าร่วมใช้ระบบตั๋วร่วมได้

“ผมเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในเดือน ก.ค. 2562 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ผมได้มอบนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการพัฒนาระบบตั๋วร่วมให้สำเร็จเป็นรูปธรรม เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้บัตรโดยสารเพียงใบเดียว หรือใช้บัตรอะไรก็ได้ เพื่อผ่านเข้าระบบได้เป็นระบบเดียว เพื่อที่จะสามารถใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบ ไม่เฉพาะแค่เรื่องรถไฟฟ้า ขณะนี้ต้องเรียนว่า การศึกษาของกระทรวงคมนาคมเราสามารถที่จะไปใช้ได้ทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เรือโดยสาร และสามารถใช้ซื้อตั๋วโดยสารขึ้นสายการบินได้” นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับระบบตั๋วร่วมนั้น เพื่อเพิ่มความสะดวกประชาชน หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อแก้ปัญหาหารจราจรติดขัด และลดมลพิษปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ในเขต กทม. และปริมณฑล สำหรับการเร่งรัดใช้ระบบตั๋วร่วมนั้น ขณะนี้ รัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. 2563 กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายระบบตั๋วร่วม (คนต.) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ 

นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมองค์กร เพื่อกำหนดมาตรฐานและรูปแบบบัตรโดยสารร่วม และ 2.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดมาตรฐานอัตราค่าโดยสารและการจัดสรรรายได้ เพื่อกำหนดมาตรฐานของอัตราค่าโดยสารร่วม และค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เหมาะสม ซึ่งในขณะนี้คณะกรรมการทั้ง 2 ชุดสามารถศึกษารูปแบบออกมาอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถดำเนินการให้ประชาชนได้ใช้ระบบตั๋วร่วมในเร็วๆ นี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"