ลุ้นได้ใช้ตั๋วร่วม


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อพูดถึงการนำ "ระบบตั๋วร่วม" ที่จะใช้กับการบริการขนส่งสาธารณะทุกประเภทด้วยตั๋วใบเดียว จากที่ได้ผลักดันมาเป็นเวลานานดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าไว้ แน่นอนว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัย หรือแม้แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทุกคนที่ผ่านมาต่างก็เดินหน้าผลักดันให้เกิดตั๋วร่วม แน่นอนว่าส่วนหนึ่งสำหรับประเทศไทยแล้วถือได้ว่าตั๋วร่วมเป็นเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ และเป็นเรื่องของเทคนิคเฉพาะด้านที่ยังไม่เคยมีการใช้
    แน่นอนว่าที่ผ่านมาได้มีการใช้เวลาศึกษามานานแล้ว จนเป็นเรื่องที่หลายคนสงสัยว่า เมื่อไหร่ประเทศไทยจะมีตั๋วร่วม ที่ผ่านมาได้นำมาปัดฝุ่นเป็นนโยบายเร่งด่วน โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ได้มอบเป็นภารกิจหลักให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งผลักดันระบบตั๋วร่วมที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบสามารถจ่ายเงินค่าโดยสารโดยใช้ตั๋วใบเดียว ซึ่งขณะนี้ถือว่ามีความคืบหน้าไปมากแล้ว
    แม้แต่ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ได้ถามถึงความคืบหน้าในการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม โดย รมว.คมนาคมได้ชี้สาเหตุในเบื้องต้นที่เปิดให้ประชาชนได้ใช้บริการระบบตั๋วร่วมล่าช้า แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.มีผู้ประกอบการรถไฟฟ้าหลายราย โดยรถไฟฟ้าสายสีเขียว อยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน อยู่ในการดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้บริการปี 2547 ซึ่งในสัญญาสัมปทานของรถไฟฟ้าทั้ง 2 สาย ไม่ได้มีการระบุถึงการใช้ตั๋วร่วมกัน จึงต้องอาศัยเรื่องการเจรจาเป็นหลัก โดยขณะนี้การเจรจาต่างๆ ได้ผลลุล่วงเป็นอย่างดี
    และ 2.ประเทศไทยไม่มีกฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องตั๋วร่วมที่ชัดเจน ทำให้ไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับเอกชน ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าให้เข้าใช้ระบบตั๋วร่วมได้ ทำให้ตั้งแต่ปี 2555 กระทรวงคมนาคมจึงมอบให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เริ่มโครงการศึกษาพัฒนาระบบตั๋วร่วม โดยการดำเนินการที่ผ่านมาต้องใช้เวลาเล็กน้อย ซึ่งระหว่างปี 2556-2558 ได้ศึกษาวางแนวทางการจัดการระบบตั๋วร่วม และจัดทำร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการตั๋วร่วม จากนั้นปี 2558-2560 ได้ศึกษาจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดทำรายได้กลาง และในปี 2561 ได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอออก พ.ร.บ.การบริหารจัดการตั๋วร่วม แต่ปรากฏว่าไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ครม.
    สำหรับความคืบหน้าตั๋วร่วมในขณะนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับธนาคารกรุงไทย พัฒนาระบบตั๋วร่วมระบบ Europay Mastercard and Visa (EMV) โดยสามารถนำบัตรเครดิตมาใช้ชำระค่าโดยสารได้ ซึ่งผู้โดยสารไม่จำเป็นต้องทำบัตรใหม่ จะช่วยลดระยะเวลาในการซื้อตั๋ว และลดต้นทุนในการบริหารจัดการตั๋วด้วย ปัจจุบันทั่วโลกได้มีการนำระบบ EMV มาใช้ในหลายประเทศ ทั้งยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย จากข้อมูลของมาสเตอร์การ์ด พบว่าในปี 2563 ได้ใช้ระบบ EMV กับขนส่งสาธารณะใน 60 ประเทศ 240 เมือง
    โดยขณะนี้ รฟม.ได้กำหนดแผนภายในเดือน ต.ค.นี้ จะปรับปรุงประตูจัดเก็บค่าโดยสารทุกสถานีของรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง จากนั้นภายในเดือน ม.ค.2565 จะเริ่มทดลองให้บริการเฉพาะกลุ่ม และภายในเดือน เม.ย.2565 จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ประชาชนจะสามารถใช้บัตรใบเดียวเข้าระบบได้ ทั้งรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สีม่วง สีเหลือง สีชมพู และแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนรถไฟฟ้าสายสีแดง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเปิดให้ประชาชนใช้บัตร EMV ได้ภายในเดือน พ.ย.นี้ ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีเขียวคงต้องเจรจากันต่อไป
    ส่วนเรื่องการพัฒนาระบบตั๋วร่วมนั้น ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ใช้งบประมาณดำเนินการไปแล้ว 3 โครงการ รวม 674.1 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.โครงการศึกษาวางแนวทางการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.2556 ใช้งบประมาณ 301.7 ล้านบาท 2.โครงการจัดทำระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง ดำเนินการเมื่อปี 2558 ใช้งบประมาณ 337.9 ล้านบาท และ 3.โครงการจัดทำแผนการกำกับบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม ดำเนินการเมื่อเดือน ส.ค.2563 ใช้งบประมาณ 34.5 ล้านบาท
    ก็รอกันอีกอึดใจเดียวสำหรับการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ พกบัตรใบเดียวจ่ายค่าโดยสารได้ทุกระบบ แน่นอนว่าจะเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สังคมไร้เงินสดในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถใช้บริการขนส่งสาธารณะทุกรูปแบบได้ ทั้งรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือโดยสาร อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนช่วยให้ประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด และลดปัญหามลพิษอีกด้วย.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"