เด็กกำพร้า...ผลพวงโควิด-19 ปัญหาเงียบสุ่มเสี่ยงสุขภาวะ


เพิ่มเพื่อน    

 การระบาดของโควิด-19 จาก 193 ประเทศทั่วโลก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตบนโลกใบนี้ ขณะนี้เด็ก 1.5 ล้านคนทั่วโลกประสบกับการเสียชีวิตของพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือผู้ดูแลที่เลี้ยงดูแลเด็กอันเนื่องมาจากโควิด-19

            ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นการศึกษาของนักวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน ซึ่งรวบรวมข้อมูลการตายและสถิติการเจริญพันธุ์จาก 21 ประเทศ ตั้งแต่เดือน มี.ค.2563 ถึงเดือน เม.ย.2564 ในขณะที่เมืองไทยเกิดเหตุการณ์ที่น่าเป็นห่วงวิกฤตเด็กกำพร้า พ่อแม่เสียชีวิตจากโควิด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน ลงสำรวจพื้นที่ตั้งแต่ต้นปี เด็กติดโควิด 70,153 คน กทม. 16,535 คน ต่างจังหวัด 53,618 คน ตัวเลขบอกว่าผู้ปกครองพ่อแม่ดูแลเด็กติดเชื้อโควิด ผู้ปกครองติดเชื้อ เด็กกำพร้าทันที จึงต้องเร่งให้ความช่วยเหลือประสานงานเป็นกลุ่มๆ

            นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เปิดเผยว่า “พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 10) ทรงรับเด็กกำพร้าทั้ง 343 คนจากพ่อหรือแม่ติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิต อยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ ซึ่งมีมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีโรงเรียน 52 แห่งครบวงจร ได้เรียนหนังสือด้วยการพระราชทานทุนชีวิต”

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด ข้อมูลวันที่ 23 ส.ค.64 สำรวจพบเด็กกำพร้า มีจำนวน 343 คน โดยจังหวัดที่มีเด็กกำพร้าจากสถานการณ์โควิด-19 สูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ ปัตตานี 57 ราย นราธิวาส 34 ราย ยะลา 26 ราย พระนครศรีอยุธยา 18 ราย กาฬสินธุ์ 14 ราย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ใกล้กับประเทศมาเลเซียซึ่งมีตัวเลขผู้ที่ติดโควิดค่อนข้างมาก ทั้งนี้ในการสำรวจไม่ได้แยกว่าเด็กนับถือศาสนาใด

            นายจุติกล่าวว่า พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ดูแลเด็กให้ได้รับความช่วยเหลือด้วยการให้คำปรึกษา 343 ราย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 199 ราย มอบเงินสงเคราะห์เงินฉุกเฉิน 174 ราย ประสานขอรับทุนและขอความช่วยเหลือหน่วยงานอื่น 194 ราย มอบเงินช่วยเหลือจากกองทุนคุ้มครองเด็ก 51 ราย จัดหาครอบครัวอุปการะ ครอบครัวทดแทน 3 ราย รับเข้าอุปการะชั่วคราว 2 ราย ให้การช่วยเหลืออื่นๆ 1 ราย อยู่ในระหว่างเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามและกำหนดแนวทางการดูแลเด็ก 307 ราย ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 312 ราย จะได้ให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนและครอบคลุมทุกมิติปัญหา ทั้งนี้ได้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนเด็กกำพร้าจากกองทุนคุ้มครองเด็กตั้งแต่เดือน เม.ย.-ส.ค.2564 จำนวน 51 ราย เป็นจำนวนเงิน 303,300 บาท

            การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกลุ่มเด็กกำพร้าจากกองทุนคุ้มครองเด็กกำพร้าใน กทม. จำนวน 51 ราย เป็นจำนวนเงิน 303,300 บาท ทั้งนี้กรมกิจการเด็กและเยาวชนได้ประสานความร่วมมือกับทีมสหวิชาชีพอาสาสมัครในการจัดเตรียมสถานที่รองรับเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือเด็กกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงที่ต้องได้รับการดูแลในระหว่างกักดัว 14 วัน จะประสานให้เด็กเข้ารับการดูแลเพื่อติดตามอาการในสถานที่กักตัว (state Quarantine) สำหรับเด็กที่พ้นระยะกักตัว 14 วัน พ่อแม่ผู้ปกครองยังไม่พร้อมในการรับเด็กไปเลี้ยงดู จะประสานญาติเพื่อรับเด็กไปดูแลเป็นการชั่วคราวในสถานรองรับเด็ก ที่กรมกิจการเด็กและเยาวชนจัดเตรียมไว้ 4 แห่ง ซึ่งขณะนี้รับเด็กได้ 160 ราย แต่หากเป็นกรณีที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลเสียชีวิต จะดำเนินการให้เด็กเข้าสู่ระบบการเลี้ยงดูทดแทนในรูปแบบที่มีเครือญาติ

            การช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบและเด็กกำพร้าจากสถานการณ์โควิด-19 พบว่ามีเด็กหรือครอบครัวติดเชื้อหรือได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก โดยมีเด็กติดเชื้อรายวันเฉลี่ยวันละกว่า 2,000 ราย และมียอดเด็กติดเชื้อสะสมนับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-23 ส.ค.2564 จำนวน 115,362 ราย คิดเป็นร้อยละ 11.11 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด (1,037,923ราย)

            นายจุติยังเปิดเผยว่า พม.มีครอบครัวอุปถัมภ์ ครอบครัวอุปการะ ครอบครัวบุญธรรม ทั้งนี้ยึดหลักการเด็กควรอยู่กับครอบครัว ไม่มีใครที่จะสร้างความรักความผูกพันทดแทนญาติพี่น้องในครอบครัวได้ เด็กต้องเป็นศูนย์กลาง อยู่ที่ไหนเขามีความสุข ปลอดภัย เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน ดังนั้นเมื่อพ่อแม่เสียชีวิต ญาติพี่น้องเด็กควรจะเป็นผู้ดูแล ทั้งนี้กระทรวง พม.จะให้เงินช่วยเหลือเด็กเดือนละ 2,000 บาท จนเด็กอายุ 18 ปี ในขณะเดียวกันยังมีครอบครัวอุปการะ “ผมไม่มีลูก อยากอุปการะเด็กเป็นรายเดือน เราอยากให้เด็กอยู่กับครอบครัวมีญาติพี่น้องช่วยกันดูแล ไม่รู้สึกเหลื่อมล้ำในสังคม”

            ครอบครัวอุปถัมภ์ที่เป็นครอบครัวอาสาสมัคร ครอบครัวบุญธรรมหรือสถานสงเคราะห์ ซึ่งจะเป็นทางเลือกสุดท้าย ตลอดจนมีการติดตามให้ความช่วยเหลือแก่เด็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เด็กได้รับการปกป้องดูแลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

            ขณะนี้ประเทศไทยมีครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวพ่อเลี้ยงเดี่ยว 5 แสนครอบครัว จากครอบครัวไทย/20.5 ล้านครัวเรือน ยังมีครอบครัวที่แยกกันอยู่ แม่ม่ายที่ไม่ได้อยู่ในทะเบียนเป็นล้านครอบครัว ปัญหาเด็กเร่ร่อนที่ขายของอยู่ตามสี่แยกไฟแดง ในวันอาทิตย์ที่ 29 ส.ค. มีงานเปิดตัวให้สังคมรับรู้ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวง พม. กทม. กรมตำรวจ กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต กระทรวงแรงงาน กระทรวงเทคโนโลยีฯ ดูแลลูกๆ แรงงานก่อสร้างที่อยู่ในแคมป์งาน เด็กเร่ร่อนที่ขาดการดูแลแม้จะมีพ่อแม่อยู่ก็จริง

            กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน ได้ดำเนินการช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-23 ส.ค.2564 แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ประเภท 1.เด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยมีผลการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ก่อนจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กรมกิจการเด็กและเยาวชนหรือ ศบค.ดย. (1ม.ค.-26 ก.ค.64) มียอดรวมผู้ประสบปัญหาความยากจนและได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวให้การช่วยเหลือ 5,343 ราย โดยการช่วยเหลือการให้คำแนะนำปรึกษา การมอบเครื่องอุปโภคบริโภค ของใช้ที่จำเป็น การช่วยเหลือเป็นเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวอุปถัมภ์ การช่วยเหลือเป็นที่พักพิง รวมถึงการประสานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            การให้ความช่วยเหลือระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ค.-23 ส.ค.2564 ได้ให้การช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมยอดสะสม 3,370 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ 262 ราย แบ่งเป็น 1.เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ 371 ราย ผู้ปกครองติดเชื้อ เด็กไม่ติดเชื้อ 224 ราย เด็กติดเชื้อ ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ 297 ราย ผู้ดูแลเสียชีวิต 343 ราย เด็กป่วยสงสัยติดเชื้อ 26 ราย บุคคลในครอบครัวติดเชื้อ 25 ราย เด็กถูกเลี้ยงดูโดยมิชอบหรือถูกทารุณกรรม 6 ราย โดยการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ กับครอบครัวยากจน 2,078 ราย

            การให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข ตรวจเชื้อ 73 ราย ส่งต่อเข้ารับการรักษา 151 ราย และประสานที่พักชั่วคราวหรือเข้าศูนย์พักคอย 107 ราย การให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคมสงเคราะห์ การให้คำแนะนำปรึกษา 1,949 ราย การช่วยเหลือเป็นเงินสงเคราะห์ 965 ราย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 1,007 ราย รับความคุ้มครองชั่วคราวบ้านพักเด็กและเยาวชน 9 ราย มอบชุดเวชภัณฑ์ 20 ราย ประสานกลับภูมิลำเนา 11 ราย และประสานส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 319 ราย การช่วยเหลือสนับสนุนเด็กและเยาวชนจากกองทุนคุ้มครองเด็กแบ่งออกเป็น การสนับสนุนรายบุคคลตั้งแต่เดือน เม.ย.-ส.ค.2564 จำนวน 1,550 ราย เป็นจำนวนเงิน 9,217,700 บาท การสนับสนุนโครงการ 7 โครงการ กลุ่มเป้าหมาย 6,173 ราย จำนวนเงิน 5,710,398 บาท

            การผลักดันให้เด็กได้ทำงานอย่างบูรณาการ ด้วยความร่วมมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้เด็กเหล่านี้มีอาชีพเลี้ยงตัวเองได้ มีอาชีพขายของทางออนไลน์ การฝึกอาชีพ การเข้าเรียนหลักสูตร Care Giver วิชาชีพ เป็นผู้ช่วยพยาบาลในอนาคต ใช้เครื่องมือแพทย์ ถ้าเก่งเรื่องภาษาก็จะเป็นเรื่องดี ช่วยดูแลผู้สูงอายุต่างชาติ ดูแลผู้สูงอายุ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้สูงอายุในประเทศอังกฤษ เป็นช่องทางที่คนไทยจะได้ใช้ความสามารถในความเป็นไทย

            ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์มีการฝึกงานเด็กเป็น Budler เลขาฯ ส่วนตัวทำ House Keeping วางแผนการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาพักในโรงแรม 5 ดาวในภาคใต้ ปัตตานี มีครูมาจากโรงแรมโอเรียนเต็ล แอร์โฮสเตส สจ๊วต สอนการชงกาแฟอร่อยที่สุด เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจ รวมถึงการจดจำรายละเอียดอาหาร เครื่องดื่ม เฉพาะที่นักท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ชื่นชอบเป็นพิเศษ การซ่อมเสื้อผ้า ตลอดจนการขับรถพานักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ การเป็นเชฟด้วยสูตรอาหารอร่อย การพาไปร้านอาหารที่มีบรรยากาศดี

            โลกเปลี่ยน อาชีพกัลบกช่างตัดผมเดินเป็นอาชีพที่มีรายได้ Low End แต่วันนี้กลายเป็นอาชีพสำคัญ คอมพิวเตอร์ AI ทำหน้าที่นี้ไม่ได้ ประเทศไทยเป็นHubของ Health&Wellness เราต้องนำคนที่ทำงานนอกระบบเข้ามาทำงาน ดำเนินงานมาแล้ว 1 ปี ขณะนี้มีทีมทั้งหมด 5 ทีม เข้าไปทำใน 10 จังหวัด ฝึกการทำงานด้วยใจรัก

            เด็กกำพร้าถูกปิดบังด้วยความเชื่อทางศาสนา วัยรุ่นที่ไม่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามีครอบครัวใหม่ สามีใหม่ ภริยาใหม่ ปัญหาย่อมเกิดขึ้นกับเด็กที่พ่อแม่แยกทางกันเดิน เด็กเรียนนอกระบบการศึกษา การประกอบอาชีพ สถิติมีการยิงกันตายในโรงเรียนสหรัฐ มหาวิทยาลัยทำงานวิจัยตลอด 20 ปีที่ผ่านมา 17% เด็กที่ยิงเพื่อนมาจากครอบครัวล่มสลาย เวลานี้ประเทศไทยกำลังเติบโตสู่เส้นทางนั้น เราต้องทำลายวงจรปัญหาให้หมดสิ้นไป พิสูจน์ได้จากเด็กแว้นวัย 10 กว่าขวบที่มาจากครอบครัวมีฐานะแต่ขาดความอบอุ่น ได้รับเงินมากมาย เด็กบางคนต้องกินยาควบคุมอารมณ์ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ เพราะพ่อแม่ตามใจ อยากจะได้อะไรก็ต้องได้ทุกสิ่งทุกอย่าง เด็กแว้นหลายคนที่ขาดความอบอุ่นในครอบครัวไม่เคยกลัวตำรวจ พร้อมที่จะกระทำความผิดฝ่าฝืน กม.รวมตัวกันเป็นกลุ่มสร้างปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม.

**********************************///////////////////////

(ล้อมกรอบ)

เด็กกำพร้า1.5ล้านคนทั่วโลก

พ่อแม่เสียชีวิตจากโควิด-19

 

ขณะนี้เด็ก 1.5 ล้านคนทั่วโลกประสบกับการเสียชีวิตของพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย หรือผู้ดูแลที่เลี้ยงดูแลเด็กอันเนื่องมาจากโควิด-19 ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเป็นการศึกษาของนักวิจัยจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน ซึ่งรวบรวมข้อมูลการตายและสถิติการเจริญพันธุ์จาก 21 ประเทศ ตั้งแต่เดือนมี.ค.2563 ถึงเดือน เม.ย.2564

            ทีมวิจัยจากทั้งสองสถาบันพบว่ามีเด็กมากกว่า 1 ล้านคนสูญเสียพ่อแม่ 1 คน หรือสูญเสียทั้งคู่ เด็กอีกครึ่งล้านคนสูญเสียผู้ดูแลหรือพี่เลี้ยงตั้งแต่เด็ก เฉพาะในประเทศสหรัฐประเทศเดียวมีเด็กมากกว่า 110,000 คน สูญเสียพ่อแม่หรือผู้ดูแล ทั้งนี้ นักวิจัยชี้ให้เห็นว่าควรให้การสนับสนุนและช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เด็กกำพร้าต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพสูงขึ้น

            ดร.เซ แฟฟลก์แมน 1 ในผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจฯ กล่าวว่า การระบาดของโควิด-19 ไม่สามารถควบคุมได้ เป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กให้ถูกทอดทิ้งอย่างกะทันหันและถาวรตลอดไป เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่ เด็กมีโอกาสน้อยที่จะติดเชื้อโควิดรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคนี้ แต่เด็กมีความเสี่ยงที่ลดลงนี้ได้ปิดบังผลกระทบร้ายแรงที่การระบาดใหญ่ต่อเด็ก ประกอบกับจำนวนผู้เสียชีวิตที่มากกว่า 4 ล้านคนทั่วโลก จึงทำให้เด็กจำนวนมากต้องสูญเสียพ่อแม่ ปู่ย่าตายายและผู้ใหญ่ที่สำคัญในชีวิตของพวกเขาเนื่องจากไวรัสโควิด-19

            กองทุนฉุกเฉินเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF ระบุว่า เด็กกำพร้าที่เกิดจากการสูญเสียพ่อแม่ 1 คนหรือทั้งคู่ ทำให้เด็กมีความเสี่ยงสูงด้านสุขภาพ เนื่องจากเด็กกำพร้ามีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพจิต ความยากจน ความรุนแรงทางร่างกายอารมณ์และทางเพศ พวกเขาอาจมีอาการเรื้อรัง และมีความเสี่ยงสูงต่อโรค HIV เอดส์ และโรคอื่นๆ เพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ เด็กที่สูญเสียพี่เลี้ยงหรือคนดูแลที่ไม่ใช่พ่อแม่ เช่น ปู่ย่าตายายหรือญาติ คนอื่นก็มีความเสี่ยงต่อเด็กเช่นเดียวกัน.

           


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"