กสศ.สำรวจล่าสุดพบนักเรียนยากจนพิเศษทุบสถิตินิวไฮ 1.3 ล้านคน  


เพิ่มเพื่อน    


5ก.ย.64-นายไกรยส ภัทราวาท รองผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า ตามที่เมื่อเร็วๆ นี้ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ "สำรวจสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ในวิกฤตโควิด-19 การศึกษาไทยเดินหน้าอย่างไร ไม่ให้เด็กหลุดจากระบบการเรียนรู้" พบว่า จากข้อมูลล่าสุดปีการศึกษา 1/2564 มีเด็กยากจนและยากจนพิเศษรวมประมาณ 1.9 ล้านคน ถือเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับเด็กทั้งหมด  ในช่วงวัยเรียนการศึกษาภาคบังคับที่มีประมาณ 9 ล้านคน ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้รายได้ของครอบครัวเด็กและเยาวชนกลุ่มนี้ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 1,094 บาท อีกทั้งในรายละเอียดพบว่า รายได้จากการเกษตรหรือด้านอื่น ๆ ส่วนใหญ่ลดลง แต่รายได้ที่เพิ่มมาจาก สวัสดิการรัฐ เงินช่วยเหลือเยียวยา 

และผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้จำนวนเด็กยากจนพิเศษที่คัดกรองรอบใหม่ภาคเรียนที่ 1/2564 เพิ่มมากขึ้นเป็นนิวไฮ คือ 1,302,968 คน หรือเพิ่มขึ้น 128,524 คน จากภาคเรียนที่ 2/2563 โดยคาดหวังว่าจำนวนเด็กที่ยากจนฉับพลันหลังสถานการณ์โควิด-19 จะเป็นแค่เพียงสถานการณ์ชั่วคราวที่จะคลี่คลายและกลับไปสู่สภาวะปกติได้ในอีกระยะเวลาไม่นาน

 ทั้งนี้จากความสุ่มเสี่ยงที่เด็กยากจนพิเศษจะหลุดจากระบบการศึกษา ที่ผ่านมา กสศ. ได้เข้าไปช่วยสนับสนุนทุนการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนยากจนพิเศษในช่วงชั้นรอยต่อกลับเข้าเรียนได้ โดยจากการติดตามล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม พบว่านักเรียนยากจนพิเศษช่วงชั้นรอยต่อ 294,454 คนนั้น ร้อยละ 82.82 หรือ 242,081 คนเข้าสู่ระบบการศึกษาแล้ว แต่ยังมีเด็ก 43,060 คน หรือ ร้อยละ 14.6 ยังไม่พบข้อมูลว่าได้กลับเข้ามาเรียนต่อ โดยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ม.3 จำนวน 33,710 คน และ ป.6 จำนวน 8,699 คน เป็นโอกาสสำคัญที่จะได้ติดตามเด็กกลุ่มนี้ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา ทำให้เขาได้รับโอกาสและสิทธิประโยชน์

นายไกรยส กล่าวต่อว่า กสศ.ยังได้สำรวจนักเรียนยากจนพิเศษในพื้นที่ 29 จังหวัดที่ประสบปัญหาการเรียนช่วงโควิด-19 เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าและอุปกรณ์ พบว่ามีนักเรียนที่ประสบปัญหาถึง ร้อยละ 87.94 หรือ 271,888 คน โดยจังหวัดที่พบปัญหามากที่สุด 5 อันดับแรกได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ตาก นครราชสีมา และยะลา อย่างไรก็ตาม โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อเด็กในเรื่องการติดเชื้อที่พบตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากต้นเดือนสิงหาคมที่มีเด็กติดเชื้อ 65,086 คน ขยับขึ้นเป็น 138,329 คนในต้นเดือนกันยายน และมีเด็ก 366 คนสูญเสียพ่อแม่จากโควิด-19 ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ควรได้รับการดูแลระยะยาวลักษณะเดียวกับความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ หรือสึนามิ ภัยพิบัติทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่ต้องสูญเสียพ่อแม่ผู้ปกครองจากเหตุการณ์เหล่านั้น ให้ได้รับการศึกษาจนจบปริญญาตรี เพราะไม่มีใครมาช่วยดูแลพวกเขา

 รวมทั้งยังมีประเด็นเรื่องผลกระทบระยะยาว หรือ Long Covid ที่เด็กจะได้รับผลกระทบทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งควรได้รับการติดตามเป็นระยะ ตั้งแต่ 6 เดือนไปถึง 3 ปี โดยจะเห็นว่าที่ผ่านมา กสศ.ได้ร่วมมือกับหลายฝ่ายตั้งศูนย์ช่วยเหลือวิกฤตโควิด-19 อีกด้านหนึ่ง โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจในระยะยาว ทำให้สูญเสียการพัฒนาทุนมนุษย์ ในวันที่เด็กเกิดน้อยลง มีเด็กจำนวนมากที่กำลังเสี่ยงจะหลุดจากระบบการศึกษา และยังเผชิญกับเรื่องความรู้ถดถอย หลังจากโควิดเราหวังว่าจะนำไปสู่ Build back equity นำความเสมอภาคกลับมา ประเทศก็จะสร้างการเจริญเติบโต

“กสศ. กำลังแสวงหาความร่วมมือเพื่อช่วยให้เด็กๆ ไม่หลุดจากระบบการศึกษา เป็นความพยายามที่อยากให้คนไทยทุกภาคส่วนเข้าไปสนับสนุนในส่วนไหนก็ได้ ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ ประชาชน ผู้นำทางความคิด มาร่วมเป็นเครือข่ายทางสังคมที่แน่นแฟ้น เอาชนะอุปสรรคไปด้วยกัน ทาง กสศ.ก็จะพยายามนำข้อมูลที่มีอยู่ มาแปลงเป็นความร่วมมือเพื่อสร้างความเสมอภาคให้เกิดขึ้น" รองผู้จัดการ กสศ.กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"