สัญญาณแรง! ส.ว.โหวตคว่ำแก้รธน.วาระ3 อ้างบัตรสองใบถอยหลัง


เพิ่มเพื่อน    

6 ก.ย. 64 - ที่รัฐสภา นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวถึงการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และมาตรา 91ว่าด้วยระบบเลือกตั้งวาระที่ 3 ในวันที่ 10 ก.ย.นี้ ว่า ตั้งแต่การพิจารณาวาระ 2 มีสัญญาณอยู่แล้วถ้าวันนั้นไม่มีการปรับปรุงแก้ไขในบางบทหรือบางมาตรา เชื่อว่าอาจจะไม่ผ่านการพิจารณาในวันนั้น ทางกมธ.แก้รัฐธรรมนูญจึงมีการปรับปรุงแก้ไขกันในตอนเช้าก่อนที่จะเริ่มการประชุม ถือเป็นสัญญาณหนึ่ง และอีกประการหนึ่งก่อนที่จะมีการลงคะแนนสังเกตได้ว่าส.ว.งดออกเสียงเป็นจำนวนมาก แม้ว่าส.ว.ส่วนหนึ่งจะไม่ลงคะแนน เขาก็ชนะอยู่แล้ว เพราะเป็นการใช้เสียงข้างมากปกติ ดังนั้น ส.ว.ส่วนใหญ่จึงวางท่าทีแบบกลางๆ ไว้ และตัดสินใจอีกครั้งในวันที่ 10 ก.ย.นี้

และจากเหตุการณ์หลังลงคะแนนในวาระ 2 ที่ผ่านมาทาง ส.ว. ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันตลอดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นเรื่องของพรรคการเมือง และนักการเมืองล้วนๆ ไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง ดังนั้น เราเห็นว่า หากระบบแบบนี้มีข้อบกพร่อง และย้อนรอยกลับไปตั้งแต่ปี 40  ไม่ได้แก้ไขเพื่อเดินหน้า แต่เป็นการแก้ถอยหลัง และจนวันนี้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างส.ว.เป็นจำนวนมากในทำนองว่าจะรับหรือไม่รับ แม้กระทั่งวันนี้ก็มีหลายกลุ่มที่พูดคุยกัน และเชื่อว่าในวันที่ 9 ก.ย. จะมีความชัดเจน แต่เท่าที่ตนติดตามมาโดยตลอดมีสัญญาณบางอย่างที่บ่งชี้ว่าอาจจะไม่รับร่างครั้งนี้ก็ได้ ฉะนั้นก็ต้องรอดูกันต่อไป  เพราะแต่ละวันเป็นมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยตลอด

“วันนี้ วันพรุ่งนี้ แม้แต่วันที่ 9 ก.ย. หรือวันที่ 10 ก.ย. ก็เปลี่ยนแปลงได้ แต่ยืนยันว่าผมเห็นว่าสัญญาณไม่ปกติ เริ่มปรากฎมีในบรรดากลุ่ม ส.ว. ด้วยกัน แม้กระทั่งช่วงเช้าที่ผมมาถึงสภาฯ ก็มีหลายกลุ่มนำเรื่องนี้มาปรึกษาหารือกัน ซึ่งจะให้ตอบสังคมว่าผ่านหรือไม่ ผมไม่กล้ายืนยัน เหมือนกับวาระ 2 เพราะในวาระ 2 ก็เริ่มมีปัญหาอยู่แล้ว ฉะนั้นเขาจึงบอกว่าให้ผ่านๆ ไปก่อน แต่จะผ่านหรือไม่ที่เป็นเรื่องจริงนั้น เชื่อว่า ส.ว.จะตัดสินใจยืนข้างความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ”นายวันชัย ระบุ

เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคพลังประชารัฐมีปัญหากันช่วงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล จะส่งต่อการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้เกิดแรงกระเพื่อมไปทุกฝ่าย และเชื่อเหลือเกินว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งบรรดาพรรคการเมืองด้วยกัน รวมถึง ส.ว. อยู่ระหว่างก่ำกึ่งด้วยกัน แม้จะบอกว่าไม่ได้มีผลโดยตรง แต่ก็เกิดแรงกระเพื่อมในการเปลี่ยนแปลงเรื่องการโหวตได้

ผู้สื่อข่าวถามว่า สัญญาณที่บอกว่าจะไม่ผ่านคืออะไร จะมาจากทางรัฐบางเองหรือไม่ เพราะมีกระแสว่าในการประชุมพรรคพลังประชารัฐ เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐได้บอกกับลูกพรรคว่า ส.ว.จะโหวตคว่ำรัฐธรรมนูญในวาระ 3  นายวันชัย กล่าวว่า ไม่ได้มีสัญญาณมาจากฝ่ายการเมือง หรือสัญญาณจากผู้มีอำนาจ เพราะเท่าที่ตนติดตามมาคือสัญญาณชัดๆจากส.ว. และเท่าที่ประเมินทางการเมืองไม่ได้ส่งสัญญาณอะไร เพราะดูแล้วไปได้สองทางคือจะผ่านหรือไม่ผ่านก็ได้ อย่างไรก็ตามเท่าที่ดูจากการแลกเปลี่ยนของ ส.ว. มาจากความรู้สึกนึกคิดของพวกเรากันเอง และสัญญาณนี้เท่าที่ตนดูนั้นพบว่าจะไม่รับร่างแรงพอสมควร

เมื่อถามว่า ในวาระ 2 ที่ส.ว.ประมาณ 100 กว่าคนโหวตรับร่างมาแล้ว แต่ในวาระ 3 อาจคว่ำร่างนั้นจะตอบคำถามสังคมอย่างไร นายวันชัย กล่าวว่า “ผมเชื่อว่าตอบได้ เพราะแต่ละคนที่โหวต ส่วนตัวของผมงดออกเสียงมาตั้งแต่ต้น และแต่ละคนเชื่อว่าเขาจะตอบได้ แต่จะตอบอย่างไรเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เชื่อว่าเรามีหลักการและเหตุผลยืนยันมาตลอด  เพราะเราพูดกันมาแล้วว่าการแก้ไขครั้งนี้ไม่ใช่เพื่อประชาชน แต่เพื่ออำนาจและความได้เปรียบทางการเมืองล้วนๆ”

ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่าตอนแรกพรรคการเมืองมั่นใจว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งได้เป็นระบบบัตรเลือกตั้งสองใบนั้น นายวันชัย กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าพรรคการเมืองที่ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในเดือนเม.ย. กับตอนนี้ต่างกันมาก ดังนั้นเชื่อว่าการแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในความรู้สึกของตนแม้จะผ่านไปได้ แต่มีความรู้สึกว่าจะไม่ได้ใช้ เพราะยังมีขั้นตอนที่นายกฯจะต้องรอ 5 วัน และต้องยื่นที่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยในแล้วเสร็จภายใน 30 วัน อีกทั้งยังมีขั้นตอนการทูลเกล้าฯอีก เชื่อว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 30-60 วันก็เป็นไปได้ และการเมืองตอนนี้มีความเปลี่ยนแปลงแรงก็พอสมควร ซึ่งในส่วนตัวที่ตนมองแม้จะรอดในวาระ 3 แต่คิดว่าไม่ทันใช้ อาจจะไปติดที่อื่นหรือที่ศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ที่จะต้องวินิจฉัยว่าการแก้ไขชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งจะมีกระบวนการที่ฝ่ายหนึ่งตั้งป้อมจะร้องอยู่แล้ว และมีประเด็นที่น่าคิดอยู่เหมือนกัน

เมื่อถามว่า ส.ว.จะร่วมยื่นศาลรรัฐธรรมนูญด้วยหรือไม่ นายวันชัย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ส.ว.แทบจะไม่ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการร่างและการดำเนินการใดๆ โดยเฉพาะในชั้นกมธ.แก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ  และระยะเวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่องจึงเชื่อว่าการแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นความได้เปรียบเสียเปรียบทางการเมือง เกิดแรงกระเพื่อมในพรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทยก็ไม่เอาด้วยตั้งแต่ต้น ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้หลายส่วนอาจทำให้เกิดการสะดุดและหยุดชะงัก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"