พิษโควิดเปลี่ยนโลกการทำงาน


เพิ่มเพื่อน    

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่จำนวนยอดผู้ติดเชื้อโควิดยังคงสูง ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยและตลาดแรงงาน เนื่องจากมีผู้ได้รับผลกระทบต่อธุรกิจเป็นจำนวนมาก พบอัตราการว่างงานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น
    โดยข้อมูลจาก “องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) ได้จัดทำ World Employment and Social Outlook – Trends ซึ่งเป็นรายงานแนวโน้มการจ้างงานและประเด็นทางสังคมทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าวิกฤตตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีการเติบโตของการจ้างงานอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะชดเชยความสูญเสียที่เกิดขึ้น และปัญหาดังกล่าวอาจจะกินระยะเวลายาวนานถึงปี 2566 เป็นอย่างน้อย
    สำหรับตำแหน่งงานขาดแคลน เนื่องจากวิกฤตโลกกำลังทะยานสูงถึง 75 ล้านตำแหน่งในปีนี้ ก่อนจะปรับลดลงมาเหลือ 23 ล้านตำแหน่งในปี 2565 รวมถึงการว่างงานและชั่วโมงการทำงานที่ลดลง มีจำนวนเทียบเท่ากับการจ้างงานเต็มเวลา 100 ล้านตำแหน่งในปีนี้ และ 26 ล้านตำแหน่งในปีหน้า อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าในปี 2565 จะมีคนว่างงานทั่วโลกพุ่งสูงถึง 205 ล้านคน ซึ่งสูงกว่าปี 2562 ที่มีคนว่างงานทั่วโลกอยู่ที่ 187 ล้านคน ข้อมูลตรงนี้สอดคล้องกับอัตราการว่างงานที่ 5.7% และหากตัดเหตุผลด้านการระบาดของโควิด-19 ออกไป
    ปัจจุบันธุรกิจจำนวนมากต้องปิดตัวลง และยังมีธุรกิจอีกหลายแห่งที่มีการลดจำนวนพนักงานลง ลดการขยายสาขา ลดวัตถุดิบในการประกอบธุรกิจ รวมถึงการลดค่าจ้าง เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์เลวร้ายนี้ให้ได้ ทำให้ตั้งแต่ต้นปี 2563 ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่มีคนตกงานเป็นจำนวนมาก หากเปรียบเทียบตัวเลขแรงงานในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ในเดือน พ.ค.2564 พบว่ามีจำนวน 11.07 ล้านคน
    ขณะที่ช่วงเดียวกันในปี 2562 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มีแรงงานในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 อยู่ที่ 11.54 ล้านคน ข้อมูลตรงนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าวิกฤตเศรษฐกิจทำให้แรงงานในระบบหายไปแล้วถึง 4.63 แสนคน หรือลดลงกว่า 4.01%
    นายวีรณัฐ โรจนประภา นวัตกรทางความคิด ผู้ก่อตั้งและประธานมูลนิธิบ้านอารีย์ กล่าวว่า หลายคนสงสัยและตั้งคำถามว่าอาชีพอะไรที่จะสามารถตอบโจทย์และสามารถปรับตัวให้เข้ากับวิกฤตครั้งนี้ได้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการหารายได้ที่สวนทางกับสภาวะรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้บางคนมองหาโอกาสในการสร้างอาชีพที่จะสามารถพยุงตัวเองให้อยู่รอดในยามวิกฤตเช่นนี้ซึ่งปัจจุบันหลายอาชีพเริ่มมีการปรับตัว นำแนวทางความยั่งยืนมาใช้บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ และการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยกันทุกภาคส่วน สอดคล้องกับแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ SDGs อาชีพแห่งอนาคตนั่นเอง
    แน่นอนว่าทุกคนในประเทศหันมาให้ความใส่ใจกับคำว่า “นิวนอร์มอล” เพราะตั้งแต่โควิด-19 เริ่มระบาดหนักขึ้น มนุษย์ทุกคนจึงหันมาให้ความสำคัญกับวิถีการดำรงชีวิตแบบวิถีใหม่มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาชีพทางเลือก (ทางรอด) ของแต่ละคน ที่ต้องการหาลู่ทางในการสร้างรายได้ เพื่อจะหล่อเลี้ยงตัวเองและคนในครอบครัว จึงเกิดเป็นอาชีพใหม่ที่หลายคนมองข้าม ซึ่งนั่นอาจจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรายได้อันมหาศาลให้กับคนที่มองเห็น
    ตัวอย่างเช่น ขายของออนไลน์ ซึ่งในยุคนี้ธุรกิจออนไลน์ดูน่าจะมีแนวโน้มที่ดี โดยไม่จำเป็นต้องเปิดขายหน้าร้านก็สามารถสร้างกำไรได้อย่างมาก ประกอบกับไลฟ์สไตล์ของคนที่เปลี่ยนไปที่ต้องการหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปยังสถานที่แออัดและเสี่ยงภัยในยุคโควิดแบบนี้ ขณะที่อาชีพไรเดอร์เป็นอาชีพที่ยังคงมีความต้องการสูง เนื่องจากประชาชนต้องใช้เวลาในการอยู่กับบ้าน บางครั้งก็ไม่อยากออกไปเผชิญกับโควิด-19 จึงเลือกใช้บริการไรเดอร์ เพื่อความสะดวกสบายในการสั่งสินค้าหรือการบริการที่ลูกค้าเหล่านั้นต้องการ
    รวมถึงด้านการตลาด นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการสื่อสารกับผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ให้เข้าใจ เข้าถึง เพราะอาชีพนักสื่อสารการตลาด หรือนักการตลาดดิจิทัล ต้องใช้ความสามารถที่ตนถนัดอย่างหนักในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องให้แก่แบรนด์สินค้าและการบริการนั้นๆ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า เกิดการซื้อสินค้าท่ามกลางสถานการณ์ที่ยังอยู่ในภาวะแห่งความกังวลใจอีกด้วย!

 รุ่งนภา สารพิน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"