สธ.ร่วมมือ 5 ภาคีเครือข่าย  เชื่อมฐานข้อมูลผู้ป่วยโควิดในกทม.-ปริมณฑล เข้าถึงการรักษา  


เพิ่มเพื่อน    


7 ก.ย.64 - ที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการลงนามบันทึกความร่วมมือการเชื่อมฐานข้อมูลโควิด 19 ในเขตกทม. และปริมณฑลร่วมกับภาคีเครือข่าย 5 โดยดร. สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ทั้ง 6 หน่วยงาน  ได้แก่ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร, สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน )สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติและภาคประชาสังคม  จะทำการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ในเขตกทม. และปริมณฑล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่รอเตียง เพราะในสถานการณ์ที่วิกฤต ทำให้มีผู้ป่วยตกค้าง ดังนั้นในภาคส่วนต่างๆจึงได้เข้ามาช่วยเหลือ โดยการรวมข้อมูลผู้ป่วยจากทุกช่องทางมารวมที่เดียวกัน และนำข้อมูลไปสู่การช่วยเหลือ อย่างที่ผ่านมา ข้อมูลเหล่านี้ทำให้เกิดการจัดการผู้ป่วยโควิด19 เช่นการทำ HI/CI รวมไปถึงการกระจายข้อมูลเพื่อจัดรถอัพเดตสถานะรับ – ส่งผู้ป่วย, ติดตามอาการ / ปรึกษาแพทย์ซึ่งเป็นการทำงานด้วยระบบ Telemedicine ผ่าน API (Application Programming Interface) เดียวกันทั้งหมดสามารถรับส่งข้อมูลข้ามเซิร์ฟเวอร์ได้เพื่อให้ทำงานง่ายยิ่งขึ้นโดยมีข้อมูลผู้ป่วยอยู่ในระบบในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน  70,000-80,000 คน ไม่รวมผู้ป่วยในรพ.สนามและผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรงแรม 

ดร. สาธิต กล่าวต่อว่า ระบบดังกล่าวยังจะนำไปใช้กับโรงพยาบาลสถานพยาบาลคลินิกที่รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยที่เข้าระบบแยกกัก Home Isolation และ Community Isolation หรือตามมาตรการการแยกกักตัวประเภทอื่น ๆ ที่สธ.ประกาศด้วยเช่นกัน  นอกจากนี้ยังมีการใช้ระบบ CRM (Customer Relationship Management) ในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับบริหารจัดการลดความซ้ำซ้อนข้อมูล ผลดีของการเชื่อมโยงระบบจะทำให้ข้อมูลผู้ป่วยโควิดที่ทุกหน่วยงานมีอยู่เข้ามาสู่ฐานข้อมูลเดียวกันง่ายต่อการบริหารจัดการนำผู้ติดเชื้อเข้าระบบการดูแลรักษาที่บ้านหรือในชุมชนลดปัญหารายชื่อซ้ำซ้อนและตกหล่นบริหารจัดการรับ-ส่งต่อผู้ที่มีอาการมากไปรักษาในโรงพยาบาลได้อย่างไร้รอยต่อรวมถึงจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ให้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาตามแนวทางเวชปฏิบัติได้ทันท่วงทีช่วยลดอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

“โดยในขณะนี้ สถานการณ์เตียงในกรุงเทพ ทั้ง รพ.สนามและโรงแรมมีอัตราว่างมากขึ้น เนื่องจากมีการจัดการระบบการรักษาแบบ HI/CI อย่างที่ศูนย์นิมิบุตร มีผู้ป่วยกำลังษาอยู่เพียง 5 คน รพ.บุษราคัม ก็เหลือเพียง 700 คน จากที่มีกว่า 3,000 คน แต่อัตราการครองเตียง ในผู้ป่วยสีแดงและเหลืองก็ยังมีมากพอสมควร ขณะเดียวกันก็สามารถหมุนเวียนเตียงรองรับผู้ป่วยได้ดีอยู่ ดังนั้นข้อมูลที่มีทำให้ช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลในการจัดการผู้ป่วย ทำให้ในขณะนี้หากติดต่อมายังเบอร์ 1668 หรือ 1330 ระบบมีความคล่องตัวมากขึ้น” ดร. สาธิต กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"