จากวิกฤตสู่โอกาส


เพิ่มเพื่อน    

ประเทศไทยในปัจจุบันยังต้องมีความกังวลอยู่กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ปัจจุบันยิ่งเหมือนสถานการณ์แย่ลงเนื่องจากมีการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น และพร้อมที่จะทำลายภูมิคุ้มกันของคนได้อย่างตรงจุด รวมทั้งยังมีการกระจายเชื้อได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าสายพันธุ์เดิม ซึ่งทำให้ยากจะประเมินว่าการระบาดครั้งนี้จะจบลงเมื่อไหร่... สิ่งที่ประชาชนในสังคมทำได้ตอนนี้คงหนีไม่พ้นการเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19 และหาทางรอดอื่นๆ ต่อไป

            ขณะที่ภาคธุรกิจเองก็ต้องเข้มข้นในการจัดการและดูแลตัวเองเช่นกัน เสมือนการหาทางรอดจึงเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น กับวิธีการรับมือกับวิกฤตที่ยังมองไม่เห็นจุดจบนี้ หนึ่งในนั้นคือกลุ่มเอสซีจี ที่ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสก็ได้ปรับรูปแบบการทำงาน พร้อมกับดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ ของรัฐอย่างเข้มข้น โดยถือว่าสามารถพลิกวิกฤตให้กลับมาเป็นโอกาสได้อย่างสวยงาม

            ซึ่งการดำเนินงานแบบนี้ก็สามารถที่จะเป็นต้นแบบของการทำงานในองค์กรอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยเอสซีจีได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ใน 3 ด้าน เพื่อยกระดับกระบวนการดำเนินธุรกิจและตอบโจทย์ลูกค้า ได้แก่ 1.พัฒนาแพลตฟอร์มซื้อ-ขายออนไลน์ ตอบโจทย์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 2.พัฒนาซัพพลายเชน เพื่อทำให้การขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าในต้นทุนที่ต่ำที่สุดในเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ 3.ดิจิทัลที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพที่สุด ตรงที่สุด และจัดการด้วยต้นทุนที่ดีที่สุด

            นอกจากนี้ อีกหนึ่งเทรนด์โลกที่กำลังให้ความสำคัญกับแนวคิด ESG หรือธุรกิจที่มีแนวทางใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Environmental) ควบคู่กับการดูแลสังคม (Social) และมีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ (Governance) ก็เป็นอีกหนึ่งด้านของการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ที่เทรนด์และความต้องการของโลกกำลังเปลี่ยนไป ซึ่งแต่ละองค์กรจำต้องมีแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและยั่งยืน โดยต้องนำไปผสานให้เป็นเนื้อเดียวกับกลยุทธ์ในแต่ละธุรกิจให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

            เพราะทั่วโลกในปัจจุบันรวมถึงอนาคต โดยเฉพาะนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนส่วนบุคคล ต่างเชื่อมั่นว่าธุรกิจที่มีการนำแนวทาง ESG ไปปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ คือธุรกิจที่จะสร้างความยั่งยืน ฝ่าทุกวิกฤตที่ไม่คาดฝันได้ รวมถึงวิกฤตโควิด-19 ด้วยเช่นกัน โดยการทำงานต่อไปของธุรกิจไม่ว่าจะด้านไหน จำเป็นจะต้องสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

            ทั้งนี้ ภายใต้ทิศทางการดำเนินงานในยุคนิวนอร์มอล (New Normal) ธุรกิจยังคงต้องใช้ 3 แนวทาง เพื่อสร้างโอกาสในการเติบโต โดยต้องสังเกต-เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เพื่อนำมาเป็นทิศทางในการดำเนินธุรกิจให้ตรงใจลูกค้า ขณะเดียวกันก็ต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสุดท้ายที่สำคัญคือ ต้องปรับตัวให้เร็วเพื่อช่วงชิงโอกาส ซึ่งถือเป็น “หัวใจ” สำคัญในการสร้างการเติบโตระยะยาวและความยั่งยืนให้กับเอสซีจีมาอย่างต่อเนื่อง

            อย่างไรก็ตาม สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นนั้นเชื่อได้ว่าจะเริ่มมีความคลี่คลายลง โดยจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ยุโรป รวมทั้งจีน ตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ส่งผลให้ความต้องการของผู้บริโภคจะทยอยฟื้นตัวหลังจากนี้ ซึ่งหากในปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อเชื่อมความต้องการลูกค้า โดยต้องทำความเข้าใจกับพฤติกรรมผู้บริโภคในช่วงนี้ก่อนเป็นอันดับแรกว่าผู้บริโภคต้องการอะไร เมื่อใดที่ต้องการใช้สินค้า และปรับสินค้า รวมถึงบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า จะสามารถรับประโยชน์ช่องทางนี้ได้อย่างเต็มที่

            ทั้งนี้ เศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยหลังยุคโควิดจะเติบโตได้หรือไม่ ทุกธุรกิจจะต้องมีความหวัง และเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงของทุกด้านในโลกนี้ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นจะทำให้เข้าใจตลาด และส่งเสริมให้เกิดความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการมากขึ้นแน่นอน ซึ่งในประเทศไทยเองก็อาจจะได้รับอานิสงส์จากเทรนด์ของโลกนี้อย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ว่าเอกชนหรือกลุ่มธุรกิจไหนจะสามารถคว้าโอกาสจากวิกฤตในครั้งนี้ได้บ้าง.

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"