พาณิชย์เผยการค้าโลกผันผวน 2-3 เดือนจากปมกำแพงภาษีสหรัฐ-จีน


เพิ่มเพื่อน    

“พาณิชย์”ประเมินผลกระทบสหรัฐฯ-จีน เปิดสงครามการค้า พบไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางประเภทไปทดแทนสินค้าที่สหรัฐฯ และจีนมีการขึ้นภาษีระหว่างกัน แต่มูลค่าไม่มากแค่หลัก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เผยหลังเปิดศึก บั่นทอนเสถียรภาพการค้าโลก ทำตลาดเงิน ตลาดทุนผันผวน เชื่อใน 2-3 เดือน อาจมีการเปิดโต๊ะเจรจา สนค.เล็งเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อหารือ พร้อมดันไทยหาตลาดเพิ่ม เพื่อกระจายความเสี่ยง

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ได้ทำการประเมินสถานการณ์การตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2561 ที่ผ่านมา โดยพบว่า ไทยจะได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าบางประเภทไปขายทดแทนสินค้าที่สหรัฐฯ และจีนมีการปรับขึ้นภาษีระหว่างกัน โดยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 0.42% ของมูลค่าการส่งออกของปี 2560 ซึ่งถือว่าไม่มากนัก

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ประกาศเก็บภาษีเข้าสินค้าจีนจำนวน 1,102 รายการ มุ่งสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบาย Made in China 2025 และจีนตอบโต้มาตรการดังกล่าวในทันทีด้วยการประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ จำนวน 649 รายการ พุ่งเป้าสินค้าสำคัญที่มีนัยยะทางการเมือง กลุ่มการเกษตร ยานยนต์ และสินค้าประมง โดยมาตรการของทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้าใกล้เคียงกันประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และจีนครั้งนี้ แบ่งเป็นสินค้า 2 กลุ่ม คือ สินค้ากลุ่มที่ 1 ฝั่งสหรัฐฯ 818 รายการ และฝั่งจีน 545 รายการ มีอัตราการเก็บภาษีเพิ่ม 25% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มีผลบังคับใช้พร้อมกันวันที่ 6 ก.ค.2561 และสินค้ากลุ่มที่ 2  ฝั่งสหรัฐฯ 284 รายการ และฝั่งจีน 114 รายการ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสหรัฐฯ ยังอยู่ในกระบวนการทำประชาพิจารณ์ ก่อนที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) จะประกาศรายการสินค้าและมาตรการที่จะใช้ต่อไป (ยังไม่กำหนดวันที่ชัดเจน)

อย่างไรก็ตาม ผลจากการตอบโต้ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 2 อันดับแรกของโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการค้าโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และบั่นทอนบรรยากาศการค้าการลงทุนโลก โดยในระยะสั้น ตลาดเงินและตลาดทุนมีแนวโน้มผันผวนจากความกังวลต่อสถานการณ์และความไม่แน่นอนด้านนโยบายของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการค้าการลงทุนด้วย โดยอาจมีการชะงักงันในการสั่งซื้อสินค้า และผู้ส่งออกในจีนและสหรัฐฯ อาจเริ่มมองหาตลาดอื่นทดแทน

“แม้ว่าสถานการณ์อาจมียังคงตึงเครียดระยะ 2–3 เดือนข้างหน้า แต่ในที่สุดแล้ว ทั้งสองฝ่ายอาจมีท่าทีผ่อนคลายข้อกีดกันทางการค้าลง หากประชาชน เกษตรกร หรือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากสินค้าขึ้นราคาต้นทุนสูงขึ้น เพราะจีนได้คัดเลือกกลุ่มสินค้าเป้าหมายที่เป็นฐานเสียงโดยตรงของประธานาธิบดีทรัมป์ จึงอาจถูกกดดันให้ทบทวนมาตรการขึ้นภาษีก็เป็นได้”

ส่วนผลกระทบต่อไทย สนค. ยังไม่พบการส่งออกสินค้าที่เข้าข่ายถูกขึ้นภาษีระหว่างกันทะลักเข้ามาไทยสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งหากมีสัญญาณผิดปกติ กระทรวงพาณิชย์ก็มีมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการได้ทันทีอยู่แล้ว ซึ่ง สนค. จะมีการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือ และเตรียมแผนรับมือในเร็วๆ นี้ รวมทั้งจะผลักดันให้ไทยกำหนดยุทธศาสตร์ทางการค้าใหม่ โดยจะต้องเร่งสร้างพันธมิตรทางการค้าการลงทุนเพิ่มขึ้นและมากขึ้น เพื่อกระจายความเสี่ยงในการส่งออก หากตลาดส่งออกปัจจุบันมีปัญหา


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"