หมอแนะ'ยาแอนติบอดี ค็อกเทล' ทางออกเลี่ยงอาการหนัก ใช้ตั้งแต่ระยะเริ่มติดเชื้อ เห็นตรงกันเปิดประเทศ ระลอก 5 มาแน่ 


เพิ่มเพื่อน    

 

21 ก.ย.64 - ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แถลงข่าว การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กับแผนการใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล หรือ ยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ เพื่อรักษาผู้ป่วยในไทย โดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ราชวิทยาลัยฯ  จะเป็นส่วนหนึ่งในการจัดหาและกระจาย ยารักษาโควิด โดยช่วงแรกที่เกิดการระบาดโควิด19 ก็ได้มีการจัดหายาเพื่อใช้ในการรักษาคือ  ยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งมีทั้งแบบยาเม็ด และยาน้ำสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่ไม่สามารถกลืนยาเม็ดได้ ต่อมาก็ได้จัดหายาโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal Antibody) โดยในประเทศไทยมีการใช้ 2 ชนิด จึงเรียกว่าแอนติบอดีค็อกเทล (Antibody Cocktail) ซึ่งเป็นยาตัวแรกที่ทาง อย.ไทยได้ให้การรับรองใช้ในภาวะฉุกเฉิน  ซึ่งเป็นการสังเคราะห์โปรตีนขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อเข้าไปจับไวรัสทำให้ไม่สามารถเข้าไปในเซลล์ร่างกายมนุษย์ได้ เพราะฉะนั้นหากมียาชนิดนี้รักษาในระยะต้น  เมื่อเริ่มมีอาการจะทำให้คนผู้ติดเชื้อหายได้เร็วขึ้น ไม่มีอาการรุนแรง ลดการเสียชีวิต ดังนั้นถึงแม้ว่าจะมีการติดเชื้อโควิดก็จะช่วยให้การดูแลรักษาง่ายขึ้น ไม่เกินศักยภาพต่อระบบสาธารณสุข

ศ.นพ.นิธิ กล่าวต่อว่า โดยยาแอนติบอดีค็อกเทลมีข้อบ่งชี้การใช้ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป กลุ่มโรคเรื้อรัง หรือโรคอ้วน  ซึ่งเป็นผู้ที่ตรวจพบการติดเชื้อ และมีอาการน้อย-ปานกลาง เมื่อแพทย์ประเมินแล้วมีความเสี่ยงอาการหนักหรืออาจะเสียชีวิต ก็จะให้ยาแอนติบอดีค็อกเทล โดยขณะนี้มีกระจายไปให้รพ.ต่างๆประมาณ 50% โดยแพทย์ที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด จะมีการจัดยาให้ตามข้อบ่งชี้ของยา เนื่องจากยามีอย่างจำกัด และยาชนิดนี้ไม่ได้อยู่ในการรักษาหลัก ที่รัฐบาลให้การสนับสนุน จึงมีค่าใช้จ่ายในการรับยา ซึ่งทางราชวิทยาลัยฯได้มีการจำกัดราคาของรพ.ในการนำยาไปรักษาประชาชน แต่ทั้งนี้ ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทางรพ.อาจจะคิดร่วมด้วย เช่น ชุด PEE  เป็นต้น นอกจากนี้ไทยก็ได้มีการทำยาวิจัยยาแอนตี้ไวรัสตัวใหม่ๆที่อาจจะได้เห็นผลสำเร็จเร็วๆนี้ 

“ในส่วนมาตรการผ่อนคลายต่างๆ เช่น การฉีดวัคซีนในเด็ก เพื่อเปิดการเรียนการสอน หรือมาตรการเปิดประเทศ ซึ่งในอนาคตเราอาจจะมีวัคซีน มียา ที่ดีเพียงพอ และการตรวจโรคที่รวดเร็ว แต่ก่อนจะถึงจุดนั้นสิ่งสำคัญคือการจัดระบบในการอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ และมีความรู้เข้าใจเบื้องต้นในการรักษาหากได้รับเชื้อ อย่างการดูแลรักษาในระบบ HI/CI ได้อย่างถูกต้อง พร้อมกับอยู่ในการติดตามรักษาของแพทย์” ศ.นพ.นิธิ  กล่าว 

ด้านผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย อธิบายถึงยารักษาโควิด19ว่า เมื่อผู้ป่วยโควิด ติดเชื้อรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในไอซียู บทบาทหลักสำคัญคือ เวชบำบัดวิกฤตและการดูแลระบบทางเดินหายใจ เพราะในขณะที่เชื้อลงปอด เชื้อไวรัสเริ่มน้อยลง แต่สิ่งที่เป็นความรุนแรงคือ ปฏิกิริยาของร่างกายที่พยายามจะกำจัดเชื้อไวรัส หรือเรียกว่า ช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายพยายามที่จะกำจัดเชื้อ และสร้างเชื้อขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบในปอด  ทำให้บทบาทของยาต้านไวรัสลดน้อยลงด้วย ไม่ว่าจะเป็นยาชนิดไหนก็ตาม จึงต้องมีการให้ยาลดการอักเสบ เช่น กลุ่มยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ซึ่งเป็นยาชนิดเดียวที่มีการศึกษาวิจัยและพิสูจน์หลายชิ้นให้ผลตรงกันว่า ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ยังมียาที่ไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิต้านทานที่ทำงานมากเกินไป เช่น ยาโทซิลิซูแมบ (Tocilizumab) ยาชาลิซูแมบ ยามาซิทินิป  ที่ใช้รักษาในโรครูมาตอยด์ จะมีประโยชน์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการหนักปานกลางไปจนถึงหนัก แต่ถ้าหากผู้ป่วยอาการหนักมากถึงขั้นสุดแล้ว ยาเหล่านี้ก็อาจะไม่ช่วยเท่าไหร่ จึงจะเห็นความจำกัดในเรื่องการใช้ยารักษา 

ผศ.นพ.กำธร เพิ่มเติมอีกว่า ยารักษาโควิด19 ที่ทางสมาคมโรคติดเชื้ออเมริกา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐอเมริกา) (NIH) ที่ได้แนะนำยาในการรักษาในทางเวชปฏิบัติ คือยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) โทซิลิซูแมบ ยาคอร์ติโค สเตียรอยด์ และโมโนโคลนอลแอนติบอดี  โดยยาที่ไทยใช้อยู่รักษาผู้ป่วยโควิดอยู่คือ  ยาฟาวิพิราเวียร์, ฟ้าทะลายโจร ซึ่งยาทั้ง 2 ตัวนี้ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาดีจริงหรือไม่ เพราะในบางประเทศก็ไม่มีการนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้รักษาโควิด  ส่วนยาที่ได้นำเข้าอย่าง แอนติบอดีค็อกเทล ที่มีคุณสมบัติช่วยบล็อกไม่ให้เชื้อไวรัสนี้เข้าเซลล์ ที่จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโควิดในกลุ่มความเสี่ยงสูงได้ดีพอสมควร 

ผศ.นพ.กำธร กล่าวอีกว่า ในส่วนการเปิดประเทศ จากการประมาณการณ์ในช่วงหลังจากเดือนต.ค.เป็นต้นไป อาจจะเห็นจำนวนคนติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น แต่อาจจะไม่เยอะเท่ากับครั้งที่มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการเตรียมประเมินสัดส่วนการติดเชื้อ และการรักษามาตรการการป้องกันตัวเองเช่นเดิม ดังนั้นเมื่อไม่สามารถปิดประเทศได้ตลอด ก็ต้องเปิดประเทศและอยู่ร่วมกับโควิด หากมีการติดเชื้อก็ทำการรักษาควบคู่กันไปได้ ซึ่งจะต้องอาศัยหลักบันได 3 ขั้นในการรองรับการแพร่ระบาดของโควิด19 คือ  ขั้นที่ 1 รับมือไม่ให้ติดเชื้อด้วยวิธีการป้องการตัวเอง ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง ฉีดวัคซีนครบโดส ขั้นที่ 2 เมื่อป่วย ประเมินตนเองร่วมกับแพทย์ว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากหรือน้อย เพื่อเข้าสู่การรักษา หากเสี่ยงมากก็จะได้รับยาแอนติบอดีค็อกเทล ขั้นที่ 3 เตรียมการรองรับผู้ป่วยรักษาในไอซียู ซึ่งขั้นที่ 1-2 นับว่าสำคัญมาก 

สำหรับความก้าวหน้าด้านการรักษาโควิด19 ในต่างประเทศ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า   ในต่างประเทศมีการพัฒนายาในการรักษาและป้องกันความก้าวหน้าของโรคโควิด19 โดยยาที่มีผลการศึกษายอมรับว่ามีประสิทธฺภาพ คือยากลุ่มแอนติบอดีค็อกเทล ซึ่งจะมีหลายตัวที่ต้องใช้ตามข้อบ่งชี้คือ อยู่ในช่วงระยะแรกของการติดเชื้อ  อาการไม่เยอะมาก แต่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มโรคเรื้อรัง โรคอ้วน หรือในผู้ที่ติดเชื้อโควิดหลังได้รับวัคซีนแล้ว เนื่องจากภูมิยังขึ้นไม่ดีมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง เป็นต้น ในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายข้อบงชี้ไปยังกลุ่มโรคประสาท หญิงตั้งครรภ์ ในเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ใช้ยาหลังได้รับเชื้อไปแล้ว 10 วัน- 2 สัปดาห์ เพราะยาอาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพมากพอ 

ผศ.นพ.โอภาส  กล่าวถึงกรณีที่ในต่างประเทศที่มีการแนะนำให้ใช้ยาแอนติบอดีค็อกเทล ในข้อบ่งชี้เพื่อป้องกันสำหรับผู้ที่สัมผัสโรคโควิด19 ว่า มีการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน เช่น สถานเลี้ยงดูคนชรา หรือในชุมชนที่อยู่แออัด ซึ่งเหมือนกับการใช้ยารักษาโรค HIV ที่ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาแต่ใช้เพื่อป้องกันหลังจากที่มีการไปสัมผัส  ส่วนในประเทศไทยยังไม่ได้มีการขอขึ้นทะเบียนข้อบ่งชี้ดังกล่าว แต่คาดว่าในอนาคตหากมีจำนวนยาที่นำเข้ามากขึ้น ก็จะมีการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในการป้องกัน สำหรับการคาดการณ์หากมีการระบาดในระลอกที่ 5 ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแน่นอน  เพราะไม่สามารถหนีการระบาดได้จากการเปิดประเทศเพราะมีการเคลื่อนที่ของคน ซึ่งคิดว่าจะเป็นระลอกเล็กๆ และอาจจะมีผู้ติดเชื้อมาก แต่ต้องให้ผู้เสียชีวิตน้อยที่สุด ดังนั้นภูมิคุ้มกันของคนไทยจึงต้องสูงมากพอ มีความพร้อมในการรักษาทั้งเตียง ยา และเครื่องมือทางแพทย์ 

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2563 ที่มีการระบาดโควิด19 จำนวนผู้ป่วยยังไม่มากเท่ากับในเดือนมิ.ย.64 ที่มีการระบาดของเชื้อโควิด19 สายพันธุ์เดลตา ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก และมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงกว่า 5% แต่ในระยะ2 เดือนที่ผ่านมานับว่าสถานการณ์ดูแลผู้ป่วยวิกฤตลดจำนวนลง ถ้าในผู้ป่วยที่อายุไม่มาก หรือไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ระยะเวลาเฉลี่ยในการรักษาในไอซียูประมาณ 7-10 วัน แต่หากเป็นกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคเรื้อรังการรักษาจะนานขึ้นประมาณ 10-20 วัน  จึงมีการรลดศักยภาพเตียงผู้ป่วยที่ขยายไว้รองรับจำนวนมาก  แต่หากมีการระบาดเพิ่มขึ้นในระลอกที่ 5 ก็เตรียมพร้อมเพิ่มศักยภาพเตียงและการรักษา สิ่งที่สำคัญการจับตาดูการกลายพันธุ์ของไวรัสเพราะวัคซีนที่ใช้อยู่อาจจะไม่ได้ผล และนโยบายที่ต้องควบคุมไม่ให้จำนวนผู้ป่วยมากขึ้นเกินกว่าศักยภาพทางการแพทย์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"