สพฐ. ซักซ้อมความเข้าใจฉีดวัคซีนนักเรียน เผยไม่บังคับไปรร. หากผู้ปกครองกังวล ให้ลูกเรียนออนไลน์ได้


เพิ่มเพื่อน    


21 ก.ย.64-นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวในการเสวนา “ศบค.ศธ.พบสภาผู้ปกครอง และครูแห่งประเทศไทย” เพื่อซักซ้อมทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับนักเรียนอายุ 12-17 ปี ตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จึงหารือกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดยกรมควบคุมโรค และกรมอนามัย เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน และครู รวมถึงการจัดทำมาตรการป้องกันต่าง ๆ ซึ่งในส่วนของกลุ่มนักเรียนนั้นได้กำหนดที่จะฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับนักเรียน ประมาณ 4.5 ล้านคนอายุตั้งแต่ 12-17 ปี ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1.การเตรียมการฉีดวัคซีน ซึ่งจะต้องมีการสร้างความเข้าใจกับนักเรียน และผู้ปกครอง จากนั้นจะให้ผู้ปกครองยื่นความประสงค์เพื่อให้ลูกเข้าฉีดวัคซีน ก่อนจะมีการยื่นข้อมูลและตัวเลขให้สาธารณสุขจังหวัดเพื่อขอรับการจัดสรรวัคซีนจากส่วนกลางต่อไป 2.การฉีดวัคซีน กำหนดจัดฉีดที่โรงเรียน และ3.หลังการฉีดวัคซีน จะต้องดูแลว่าเด็กมีอาการที่ไม่พึงประสงค์ โดยสรุปก็คือการดำเนินงานครั้งนี้เราจะดูแลนักเรียน ตั้งแต่ก่อนฉีดจนกระทั่งหลังฉีด และหากเป็นไปตามแผนที่วางไว้เราจะสามารถเปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 แบบ Onsite ได้ทันในเดือนพฤศจิกายนนี้แน่นอน

"อย่างไรก็ตาม หากเราจะเปิดเรียนแบบ Onsite ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้นั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในนักเรียนและครูให้มีภูมิป้องกันมากที่สุด แต่ สพฐ.ไม่ได้บังคับว่าผู้ปกครองจะต้องให้ลูกมาเรียนที่โรงเรียนทุกคน หากยังมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยอยู่อยากให้ลูกเรียนรูปแบบ Online ที่บ้านก็ยังสามารถทำได้"เลขาฯ กพฐ.กล่าว
           
ด้าน นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ศธ.และ สธ. ได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในการกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงเรียน ที่เรียกว่า Sandbox Safety Zone in School โดยนำร่องในโรงเรียนประจำ ซึ่งได้ผลดี ครูในโรงเรียนได้รับวัคซีนร้อยละ 80 ขึ้นไป โรงเรียนมีการจัดพื้นที่ปลอดภัย มีจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มเล็ก ๆ แยกกัน มีการคัดกรองที่ได้ผล ทำให้พบผู้ติดเชื้อ และแยกกัก ส่งตัวรักษา และควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นความสำเร็จของ ศธ. และเป็นตัวอย่างให้สถานประกอบการประเภทอื่น ๆ นำไปใช้เป็นตัวอย่าง ส่วนการนำร่องในโรงเรียนไปกลับนั้น โรงเรียนต้องเน้นกิจกรรมที่ลดความเสี่ยงให้มากที่สุด โดยจะมีการประเมินร่วมกันระหว่างคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กับสถานศึกษาอีกครั้ง เพื่อให้การจัดการศึกษาปลอดภัยที่สุด สำหรับวัคซีนที่จะให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปนั้น ขณะนี้ทั่วโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนชนิด mRNA และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย อนุมัติให้ฉีดได้ จะเป็นวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งจะเข้ามาในประเทศไทยและเริ่มฉีดต้นเดือน ต.ค.ซึ่งยืนยันว่ามีเพียงพอที่จะฉีดให้กับเด็ก โดยเริ่มมีการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว เพราะเด็กลุ่มนี้หากติดเชื้อโควิดจะมีความรุนแรงมากกว่าเด็กปกติ  โดยพบว่า กลุ่มเด็ก อายุ 12-19 ปี มีอัตราการติดเชื้อร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ใหญ่ และเสียชีวิต ร้อยละ 0.03 แม้จะเป็นจำนวนน้อย แต่ส่วนใหญ่เด็กที่เสียชีวิต จะมีโรคประจำตัวด้วย จึงจำเป็นต้องเร่งฉีดวัคซีนให้กับเด็กที่มีโรคประจำตัวให้ได้มากที่สุด 

"ส่วนเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนนั้น คณะผู้เชี่ยวชาญของ สธ. อย. และราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ เห็นตรงกันว่า มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป โดยในส่วนของวัคซีนไฟเซอร์นั้น ทั่วโลกมีข้อมูลพบอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ในเด็กผู้ชาย และพบในโดส ที่ 2 มากกว่าโดสที่ 1 สำหรับประเทศไทยพบเพียง 1 คน เท่านั้นและมีอาการไม่มาก ขณะนี้รักษาหายเป็นปกติแล้ว ส่วนวัคซีนเชื้อตาย ได้แก่ วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำมาฉีดให้กับเด็กนักเรียน นั้น เป็นขั้นตอนการศึกษาวิจัย ส่วนการนำไปฉีดในเด็กทั่วไปนั้น ขณะนี้ อย. ไทย ยังไม่อนุมัติ"รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"