ปิดศูนย์บำบัดวัดดัง เร่งสอบข้อเท็จจริง


เพิ่มเพื่อน    

สธ.สั่งปิดศูนย์บำบัดฯ วัดท่าพุแล้ว เผยขอขึ้นทะเบียนไว้ 50 คน แต่รับผู้ติดยาจริงกว่า 200 ย้ายทั้งหมดไปเขาชนไก่ ส่งทีมสุขภาพจิตเยียวยาเหยื่อเร่งประสานกระทรวงที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเอาผิดตาม กม. ผู้ใหญ่บ้านเห็นด้วยให้ยุบ เหตุรับคนติดยาเพิ่มขึ้น ชุมชนกลัวโควิด
จากกรณีนายไพศาล เรืองฤทธิ์ ทนายความ และนายจีรพันธ์ แสงขาว หรือหมอปลา ร้องเรียนให้ตรวจสอบศูนย์สงเคราะห์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดวัดท่าพุราษฎร์บำรุง หมู่ 10 ต.ด่านมะขามเตี้ย อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี หลังได้รับการร้องเรียนจากผู้ปกครองของชายรายหนึ่งที่เข้ารับการบำบัดว่า มีการถูกซ้อมทรมาน พร้อมตั้งคำถามว่า ศูนย์ที่ตั้งขึ้นมาเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือไม่ โดยมีผู้บำบัดอยู่กันอย่างแออัดประมาณ 300 คน แต่มีห้องน้ำเพียง 2 ห้อง ต่อมา นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีประสานนำรถทหารมารับกลุ่มผู้บำบัดที่อยู่ในนี้ไปอยู่ที่ศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่ อ.เมืองกาญจนบุรีเป็นการชั่วคราว
ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 21 ก.ย. นายรณภพ เวียงสิมมา ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย นางสาวเพ็ญศรี กลั่นบุศย์ นายอำเภอด่านมะขามเตี้ย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้นำท้องถิ่นลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เบื้องต้นพบว่ากลุ่มผู้เข้ารับการบำบัดที่อยู่ในเรือนนอน และกลุ่มผู้บำบัดที่บวชเป็นพระสงฆ์ รวม 254 คน ในจำนวนนั้นเป็นพระสงฆ์ 33 รูป ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการขนย้ายทั้งหมดไปพักรอที่ค่ายทหาร วันนี้มีประเด็นสำคัญที่คณะเจ้าหน้าที่จะพิจารณาร่วมกันเรื่องดำเนินการปิดศูนย์สงเคราะห์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแห่งนี้
นายศิลา นาคหล่อ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 10 ต.ด่านมะขามเตี้ย กล่าวว่า ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาต่อเจ้าอาวาสวัดแห่งนี้ที่เพิ่งมรณภาพลงเมื่อช่วงบ่ายวันที่ 20 ก.ย. แต่ในส่วนของศูนย์บำบัดฯ ชาวบ้านไม่เห็นด้วย ระยะหลังมานี้ทางวัดรับผู้ติดยาเสพติดมาบำบัดจำนวนเพิ่มมากขึ้น ชาวบ้านเกรงว่าจะเกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะเรื่องของโควิด-19
วันเดียวกัน นายสิปป์บวร แก้วงาม รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า กรณีมีผู้ร้องเรียนให้ตรวจสอบศูนย์บำบัดฯ วัดท่าพุฯ นั้น อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผู้อำนวยการ พศ. ได้กำชับให้ตรวจสอบ โดยวัดดังกล่าวได้ทำข้อตกลงร่วมมือเป็นสถานบำบัดยาเสพติดร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างถูกต้อง แต่เมื่อเกิดปัญหา ก็ขอให้ทางวัดทำหนังสือขอยกเลิกข้อตกลงการเป็นสถานที่บำบัดยาเสพติด ส่วนผู้เข้ารับการบำบัดที่เหลือกว่า 100 คน ส่วนหนึ่งไปบำบัดต่อที่เขาชนไก่ อีกส่วนประสานให้ญาติมารับกลับ ส่วนการลงโทษพระในวัดที่ดูแลนั้นเป็นเรื่องของเจ้าคณะผู้ปกครอง
 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ สธ.ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด วัดท่าพุราษฎร์บำรุง จ.กาญจนบุรี เข้าข่ายทำผิดกฎหมาย ว่า เบื้องต้นจากการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ ได้มีการตรวจสอบพบว่า สถานบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดดังกล่าวรับผู้ติดยาเข้าบำบัด จำนวน 254 ราย แบ่งเป็น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ป่วยจิตเวช แต่มีการขอขึ้นทะเบียนกับสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) ไว้เพียง 50 คน เท่านั้น
    ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) กาญจนบุรี ว่า ได้ปิดศูนย์บำบัดฯ แล้ว และย้ายผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมดไปที่เขาชนไก่ บางส่วนมีครอบครัวไปรับกลับ ขั้นตอนหลังจากนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สธ. ซึ่งเป็นกระทรวงที่เกี่ยวข้องจะเข้าตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้อง หากพบการกระทำความผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมสุขภาพจิตได้ส่งทีมเข้าไปดูแลด้านจิตใจของผู้บำบัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว
    นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ถือโอกาสในช่วงที่มีการออกกฎหมายใหม่ เรื่องการกำกับมาตรฐานฟื้นฟูผู้ติดยา ซึ่งจะยกระดับการดูแลที่ไม่ใช่เพียงออกใบอนุญาต รวมถึงการดูแลผู้บำบัดยาเสพติดต้องมีมาตรฐาน เนื่องด้วยปริมาณผู้บำบัดที่มีหลากหลาย ทั้งผู้ป่วยจิตเวชด้วยจึงไม่ง่ายในการดูแล รักษาให้ได้ตามมาตรฐาน
    “ยอมรับว่า เดิมเราออกใบอนุญาตไป ตามกฎหมายฉบับเดิม เราไม่มีการกำหนดเรื่องนี้ชัดเจน แต่กฎหมายใหม่จำเป็นต้องมีการกำกับดูแล ประเมินผล ส่วนการบำบัดตามลักษณะที่ไม่หวังผลกำไร จึงไม่อยู่ในองค์ประกอบที่เราพิจารณา ทั้งนี้ แนวทางการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ตามหลักทางการแพทย์ได้กำหนดการรักษาประมาณ 3 เดือน แต่หากมีอาการรุนแรงอาจใช้ระยะเวลารักษานานกว่านั้น ส่วนกรณีสถานบำบัดฟื้นฟูยาเสพติด จ.กาญจนบุรี หากต้องการกลับมาเปิดใหม่สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนกับทางกรมการแพทย์ได้” นพ.มานัสกล่าว
    ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการตรวจสอบสถานบำบัดฟื้นฟูฯ ทั่วประเทศหรือไม่ นพ.มานัสกล่าวว่า ต้องดูแลมาตรฐาน เนื่องจากกรณีวัดที่ไม่หวังผลกำไร มีประชาชนส่วนหนึ่งยังต้องการบำบัด โดยต้องเพิ่มการเข้าถึง ต้องกลับมาหารือกันเรื่องนี้ ทั้งนี้ ทางสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี หรือสถาบันธัญญารักษ์ก็ดูแลเรื่องนี้ รวมถึง รพ.ของรัฐ ทั้งในกำกับของสำนักงานปลัด กรมสุขภาพจิต กรมการแพทย์ ก็รับบำบัดดูแลผู้ติดยา ซึ่งอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในการดูแลประชาชน มีการจัดงบประมาณดูแล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"