เมื่อต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะ


เพิ่มเพื่อน    

ในที่สุด ทางกระทรวงการคลังก็ออกมาเปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 20 ก.ย.2564 ได้มีมติเห็นชอบให้มีการขยายกรอบเพดานหนี้ไม่เกิน 70% ของจีดีพี เพื่อรองรับการกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินช่วยโควิด 1 ล้านล้านบาท ในส่วนที่เหลือทั้งหมด รวมถึงการกู้เงินจาก พ.ร.ก.กู้เงินโควิด 5 แสนล้านบาท
    ซึ่งล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ พล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน เห็นชอบการปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะครั้งที่ 3 โดยให้มีการกู้เงินจาก พ.ร.ก.5 แสนล้านบาทภายในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 1.5 แสนล้านบาท จากเดิม 1 แสนล้านบาท
    การปรับเพดานกรอบดังกล่าวนั้นสอดรับกับความเห็นของแบงก์ชาติ ที่เสนอให้รัฐบาลมีการกู้เงินเพิ่มเติมอีก 1 ล้านล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งแบงก์ชาติได้จัดทำแบบจำลองสมมติฐานสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ภายใต้การกู้เงินเพิ่มเติม 1 ล้านล้านบาท จะพบว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาเติบโตต่ำกว่าศักยภาพ เพราะรายได้ครัวเรือนลดลง และเผชิญปัญหาการปิดกิจการ จนเกิดหลุมรายได้ที่หายไปกว่า 2.6 ล้านล้านบาท ซึ่งหากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือจะกลายเป็นแผลทางเศรษฐกิจที่แก้ไขยาก ดังนั้นการกู้เงินเพิ่มและและเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ปีนี้ จะส่งผลต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในช่วง 5 ปีข้างหน้าขยายตัวได้ที่ระดับ 3.2% แต่กรณีไม่ได้ทำอะไรเลยจะส่งผลให้จีดีพีเหลือโตไม่ถึง 3%
    แน่นอน ไม่ใช่เฉพาะนักวิชาการเท่านั้นที่เห็นด้วยกับการกู้เงินเพิ่ม ทางภาคเอกชนหลายแห่งก็มองว่าการกู้เงินอีก 1 ล้านล้านนั้นมีความจำเป็น และเห็นด้วยกับแนวทางนี้ เพราะเจ้าเชื้อโควิด-19 มันส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจค่อนข้างหนัก และยาวนาน
    อย่างไรก็ดี การขยายเพดานการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น ก็ย่อมส่งแรงกดดันไปยังรัฐบาล ที่ตัดสินใจทำลายกรอบวินัยการคลังของประเทศ โดยปัจจุบัน รายงานหนี้สาธารณะของประเทศ ณ สิ้นเดือน ก.ค.2564 มียอดหนี้จำนวน 8,909,063 ล้านบาท หรือ 55.59% ของจีดีพี ใกล้ถึงระดับกรอบเดิม 60% ที่วางไว้แล้ว ซึ่งอย่างไรก็ดีแนวโน้มของสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพียังไงก็จะต้องเกิน เพราะในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลยังต้องกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณอีก 7 แสนล้านบาท และกู้เงินจาก พ.ร.ก. 5 แสนล้านบาท ในส่วนที่เหลือ 3.5 แสนล้านบาททั้งหมด ทำให้สัดส่วนเพดานหนี้สาธารณะที่คาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 2564 จะอยู่ที่ 58% ของจีดีพี และคาดว่าปีงบประมาณ 2565 หนี้สาธารณะจะเกิน 60% ของจีดีพี ทำให้รัฐบาลต้องขยายกรอบเป็น 70% ของจีดีพี
    นี่คือความท้าทายของรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตแบบนี้
    ล่าสุด ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนนำมาสู่การขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะจะไม่กระทบเสถียรภาพทางการคลังในระยะสั้น โดยรัฐบาลยังมีความสามารถในการชำระหนี้ที่ครบกำหนดได้ เนื่องจากโครงสร้างหนี้สาธารณะของไทยส่วนใหญ่เป็นการระดมทุนในประเทศและเป็นหนี้ระยะยาว ดังนั้นความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก อาทิ ความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ และอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดการ roll over หนี้ที่ครบกำหนดไม่ทันจึงมีอยู่จำกัด นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งจะช่วยเอื้อให้ต้นทุนของภาระหนี้ (debt service burden) ในกรอบเวลาระยะสั้นนั้นยังอยู่ในระดับต่ำ
    อย่างไรก็ดี จุดสนใจอยู่ที่การบริหารจัดการการคลังในระยะกลางถึงยาว ที่จำเป็นต้องมีแผนการจัดหารายได้ภาครัฐเพิ่มเติมเพื่อลดการขาดดุลทางการคลังในระยะข้างหน้า ในขณะที่การใช้งบประมาณต้องก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ขณะที่ระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นจะมีความเสี่ยงมากหรือน้อยยังอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งท้ายที่สุดจะขึ้นอยู่กับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ดีในระยะข้างหน้า ระดับหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอาจไม่น่ากังวลเท่า หากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวหรือเติบโตในอัตราที่ต่ำ ดังนั้นบทสรุปสุดท้ายจึงอยู่การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของไทย และขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"