เบื้องหลังกว่าจะเป็น 'ยาฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำเชื่อม' เพื่อผู้ป่วยโควิดเด็ก


เพิ่มเพื่อน    


2ต.ค.64- อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และภาคเอกชน พัฒนายาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็กและผู้ป่วยโรคโควิด-19 ตำรับแรกในประเทศไทยซึ่งคว้ารางวัล Prime Minister Award ประเภท Innovation for Crisisประเภทหน่วยงานภาครัฐ ในงานสตาร์ตอัพและอินโนเวชัน ไทยแลนด์เอ็กซ์โป 2021 (SITE 2021) จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศไทยที่มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากส่งผลให้การเข้าถึงยาที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้อมีความจำเป็นมากขึ้นยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เป็นหนึ่งในยาที่ใช้รักษาโรคโควิด-19ตามแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด19  

จากการระบาดของโรคโควิด 19ที่ผ่านมาทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าถึงยาของผู้ป่วยเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2564ได้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และเภสัชกรภาคอุตสาหกรรม นำโดย ศ.นพ.นิธิ  มหานนท์ และ ภญ.ศุภศิล สระเอี่ยม จากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ ผศ.ภก.ดร.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมถึงความร่วมมือจากเภสัชกรภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ ภญ.ดร.อริยาขุนวิไชย ภญ.พร้อมพร จำนงธนาโชติ ภญ.ดร.วัลลภา เหมือนนุ่มและภก.ดร.จิรวิร์ ปวิตรปก เพื่อหาทางออกในการเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์โดยอาศัยองค์ความรู้ทางด้านเภสัชกรรมหลายศาสตร์จากเภสัชกรหลายภาคส่วน

โดย ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ และ รศ.ภก.ดร.วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ จากภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ผู้พัฒนายาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก เปิดเผยว่าในช่วงที่โรคโควิด 19 มีการระบาดอย่างหนักคนไข้ผู้ใหญ่ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ในปริมาณที่ใช้สำหรับ 5 วัน จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 – 5,000 บาทต่อคน ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯจึงได้นำเสนอแนวคิดในการพัฒนาตำรับยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir)เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเตรียมยาให้ผู้ป่วย   ในขณะที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีตัวยาสำคัญของฟาวิพิราเวียร์อยู่แล้วทำให้สามารถดำเนินโครงการได้อย่างรวดเร็ว

“ในช่วงเวลานั้นประมาณการว่าผู้ป่วยเด็กที่จำเป็นจะต้องใช้ยาในการรักษาอาจจะมีจำนวนมากขึ้น ยาตำรับน้ำเชื่อมจะช่วยให้ผู้ป่วยเด็กสามารถได้รับยาในขนาดที่ถูกต้อง และสะดวกต่อการรับประทานจึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นพัฒนาตำรับยาฟาวิพิราเวียร์ในรูปแบบน้ำเชื่อม สำหรับการเตรียมยาภายในโรงพยาบาล (Hospital preparation)แม้ว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนผู้ป่วยโควิด 19กลุ่มเด็กจะลดลงบ้างแล้ว ก็ยังมีความจำเป็นอยู่มากเนื่องจากยังไม่มียาฟาวิพิราเวียร์ในรูปแบบน้ำเชื่อมออกจำหน่ายในท้องตลาด   การพัฒนาสูตรตำรับ ในสถานการณ์ฉุกเฉินจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาได้ง่ายและเร็วขึ้นด้วยต้นทุนที่ไม่แพง” ผศ.ภก.ดร.บดินทร์กล่าว


ส่วนปริมาณการใช้และการควบคุมคุณภาพการผลิตตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ ต้านเชื้อไวรัสโควิด 19สูตรโรงพยาบาลจุฬาภรณ์นี้  มีลักษณะเป็นยาน้ำเชื่อมสีส้มใสปราศจากน้ำตาล แต่งรสและกลิ่นราสเบอรี่มี 2 ขนาด คือ ขนาด 800 มิลลิกรัม  ใน 60 มิลลิลิตร และขนาด 1,800 มิลลิกรัมใน 135 มิลลิลิตร รูปแบบของยาน้ำเชื่อมนี้จะช่วยให้เกิดความสะดวกสำหรับการให้ยาในเด็กหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการกลืนยา โดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาขณะท้องว่าง วันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12ชั่วโมง ปัจจุบัน มีการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในกลุ่มเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 2เดือนขึ้นไป 

อย่างไรก็ตาม  ยาฟาวิพิราเวียร์ในรูปแบบน้ำเชื่อมนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในผู้ป่วยเด็กเท่านั้นยานี้ยังสามารถให้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่โดยจะใช้ยาในปริมาณที่แตกต่างกัน ระยะเวลาที่ใช้อย่างน้อย 5 วัน ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้รักษาด้วยส่วนผลข้างเคียงของยาตำรับนี้ จะเหมือนยาฟาวิพิราเวียร์ในรูปแบบเม็ด เช่น ต้องมีการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับบกพร่องในระดับปานกลางถึงรุนแรง เป็นต้น 


“เรื่องการควบคุมคุณภาพเป็นสิ่งที่ทีมผู้วิจัยให้ความสำคัญอย่างมากเรามีการกำหนดข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ยา (drug product specification) ของสูตรตำรับ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ยา ที่ได้มีปริมาณตัวยาสำคัญอยู่ในช่วงที่ต้องการมีการควบคุมปริมาณสิ่งเจือปน(impurity)การควบคุมปริมาณสารกันเสีย(preservative)รวมถึงเรื่องคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี(physical/chemical properties)นอกจากนี้มีการศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์ยาเพื่อให้มั่นใจว่ายามีความคงตัวตลอด อายุไขของยา”ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ กล่าว


การเข้าถึงยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวีย สำหรับผู้ป่วยเด็ก ผศ.ภก.ดร.บดินทร์ กล่าวว่าปัจจุบันมีการกระจายยาตำรับนี้ไปในหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์รูปแบบน้ำเชื่อมได้นอกจากนี้ยังสามารถลงทะเบียนรับยาผ่านทางเว็บไซต์https://favipiravir.cra.ac.th โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆหรือติดต่อยังโรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยตรงทั้งนี้ผู้ป่วยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นเนื่องจากมีผลข้างเคียง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"