โควิดตายตํ่าร้อย/ยะลาระบาดหนัก!


เพิ่มเพื่อน    

สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในไทยถึงจุดเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อมีผู้เสียชีวิตรายวันต่ำกว่าร้อย   ศบค.รายงานยอดผู้เสียชีวิตเมื่อวันเสาร์ลดลงเหลือ 87 ราย ติดเชื้อใหม่ 11,375 คน ขณะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังระบาดรุนแรง ยะลาทุบสถิติติดเชื้ออันดับ 2 ของประเทศรองจาก กทม.
    เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 11,375 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 11,174 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 10,245 ราย, มาจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชน 929 ราย, จากเรือนจำและที่ต้องขัง 184 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 17 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 1,626,604 ราย ผู้รักษาหายป่วยเพิ่ม 13,127 ราย 
    ยอดรวมหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 1,496,273 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 113,394 ราย อาการหนัก 3,124 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 725 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 87 ราย เป็นชาย 44  ราย หญิง 43 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 60 ราย มีโรคเรื้อรัง 23 ราย ทำให้มีผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 63 จำนวน 16,937 ราย ส่วนยอดฉีดวัคซีนวันที่ 1 ต.ค. 796,583 โดส ยอดฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่ 28 ก.พ.64 จำนวน 54,581,395 โดส ขณะที่สถานการณ์โลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 235,063,766 ราย เสียชีวิตสะสม 4,805,700 ราย
    สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 1,241 ราย, ยะลา 738 ราย, สมุทรปราการ 646 ราย, ชลบุรี 638 ราย, นครศรีธรรมราช 524 ราย,  นราธิวาส 495 ราย, ระยอง 451 ราย,  สงขลา 434 ราย, ปราจีนบุรี 349 ราย และปัตตานี 311 ราย 
    นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สำหรับ จ.ยะลา ที่พบการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ของประเทศคือ 738 รายนั้น ได้รับรายงานจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา ว่าการติดเชื้อในพื้นที่ยังเป็นลักษณะเดิม คือการติดเชื้อในบ้านและชุมชน ไม่ได้มีการระบาดเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มคน เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงในชุมชน เป็นต้น สำหรับโรงพยาบาลได้เตรียมความพร้อมรองรับผู้ป่วยได้เพียงพอ จ.ยะลา มีอัตราเสียชีวิตร้อยละ 0.74 น้อยกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ 
        สำหรับแนวทางการลดผู้ติดเชื้อ จะเฝ้าระวังการเสียชีวิตของกลุ่มเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และคัดกรองการติดเชื้อในชุมชน รวมถึงย้ำมาตรการ DMHT ซึ่งผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน จะมีการตั้งศูนย์สู้ภัยโควิดในที่ทำงาน เช่น สำนักงาน โรงงาน สถานประกอบการ ร้านอาหาร และตลาด โดยเน้นมาตรการป้องกันตนเองขั้นสูงสุด (Universal Prevention) และการทำงานที่บ้าน (Work From Home) การตรวจพนักงานด้วยชุดตรวจ ATK ประมาณ 10% ทุกสัปดาห์ เพื่อเฝ้าระวังและแยกกักผู้ติดเชื้อโดยเร็ว ป้องกันไม่ให้สถานที่เสี่ยงเหล่านี้เป็นแหล่งแพร่เชื้อ ตัดวงจรการระบาด และป้องกันการนำเชื้อกลับไปแพร่ที่บ้าน
         นอกจากนี้ จะเร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งภาพรวม จ.ยะลา ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 แล้ว 47% ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 60% โดย อ.เมืองยะลา และ อ.เบตง ได้รับวัคซีนแล้วกว่า 70% แต่ยังต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และเข้มมาตรการร้านอาหารต้องฉีดวัคซีนพนักงานให้ครบ 2 เข็ม โดยจะระดมสรรพกำลังทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และประชาชน ในการสื่อสารทำความเข้าใจเรื่องการฉีดวัคซีน ซึ่งมีประสิทธิผลในการลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต โดยการฉีดด้วยสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าห่างกัน 3 สัปดาห์ ที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้ คาดว่าจะช่วยให้ฉีดเข็ม 2 ได้ครอบคลุมเร็วขึ้น และในวันที่ 4 ตุลาคมนี้ จะเริ่มฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้เด็กนักเรียนอีกด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"