สำนักเลขาฯครม.ชงองคมนตรีเสนอชื่อ'ปรเมศวร์'ขึ้นทูลเกล้าฯ


เพิ่มเพื่อน    

4 ต.ค. 64 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากกรณี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 64 ทางสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้รับหนังสือจากสำนักงานอัยการสูงสุด ยืนยันความถูกต้องเหมาะสมเเต่งตั้งข้าราชการการอัยการ นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม ที่ถูกศาลพิพากษาคดีขับรถยนต์ในขณะมึนเมาเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจการอัยการ และแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯต่อไป ที่ได้ลงนามโดย ร้อยโท ไชยา เปรมประเสริฐ รองอัยการสูงสุด รักษาราชการเเทน นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด(ในขณะนั้น) ที่ได้เเจ้งลาพักร้อนในวันดังกล่าว 1 วันนั้น 

มีรายงานว่าเมื่อวันที่ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ทางสำนักงานเลขาธิการ ครม. ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้นเเละเสนอเรื่องดังกล่าวไปยังสำนักงานองคมนตรี เพื่อพิจารณาในการนำเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป โดยหลังจากนี้เรื่องดังกล่าวก็จะถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุมองคมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

โดยก่อนหน้านี้ผลการพิจารณาวินัย นายสนทรรศ สิงหพัศ รองอัยการสูงสุดในขณะนั้น ทำการสอบสวน พิจารณาแล้วเห็นว่าการกระทำของนายปรเมศวร์ เป็นการกระทำความผิดวินัยเล็กน้อยเห็นควรให้งดโทษโดยให้ว่ากล่าวตักเตือนและอัยการสูงสุด (ขณะนั้น) พิจารณาแล้ว โดยรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) ประกอบเห็นพ้องด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนดังกล่าวในการประชุมครั้งที่ 7/2574  เมื่อวันที่ 14 ก.ค.64 อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยเล็กน้อยให้งดโทษโดยให้ว่ากล่าวตักเตือนตามนัยความเห็นของ ก.อ.ดังกล่าว และได้เสนอให้ ก.อ. พิจารณา ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับคดีจราจรและการสอบสวนขั้นต้นในกรณีข้าราชการอัยการกระทำผิดอาญาดังกล่าวได้สิ้นสุดแล้ว 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เรื่องการเสนอขอโปรดเกล้าฯ นายปรเมศวร์นั้น ทางสำนักงานเลขาฯครม. ได้มีการเสนอเรื่องตีเรื่องกลับไปยัง ก.อ.เเละสำนักงานอัยการสูงสุดหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลเรื่องการคดียังไม่สิ้นสุด เเละอยู่ระหว่างพิจารณาวินัย รวมถึงการยืนยันความเหมาะสม

สำหรับคดีนี้เป็นคดีระหว่าง พ.ต.ท.รพีพงศ์ จิตต์บุญธรรม พนักงานสอบสวน กล่าวหา นายปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อายุ 62 ปี (ในขณะนั้น) ผู้ต้องหาในความผิด ฐานความผิดขับขี่รถขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับอันตรายแก่กายจิตใจ, ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน, ขับรถเฉี่ยวชนแล้วหลบหนี และกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ

กรณีเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2562 เวลาประมาณ 22.30 น. ผู้ต้องหาได้ขับรถยนต์ยี่ห้อนิสสันทะเบียน 7 กส 2300 กรุงเทพฯ เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ยี่ห้อคาวาซากิ รุ่นเคอาร์สีเขียว (ไม่ทราบหมายเลขทะเบียน) มีนายธรรมรัตน์ ทองทวี เป็นผู้ขับขี่ และรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้ารุ่นเวฟ 125 ไอ สีแดงดำ ทะเบียน 8 กร 6848 กรุงเทพฯ มีนายธันณเรศ ร้อยกรอง อายุ 21 ปี เป็นผู้ขับขี่ เป็นเหตุให้นายธรรมรัตน์ได้รับบาดเจ็บและรถจักรยานยนต์ได้รับความเสียหายและไม่หยุดลงมาช่วยเหลือ แต่มีพลเมืองดีติดตามไปทันที่บริเวณทางเข้าวัดหูช้าง เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถึงจึงได้เชิญตัวมาที่ สภ.บางกรวย แล้วต่อมาได้ทำการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจพบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 87 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ เหตุเกิดถนนนครอินทร์ (ขาออก) หน้าปั๊มคาลเท็กซ์หมู่ 3 ต.บางขุนกอง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดนนทบุรี ยื่นฟ้องเฉพาะในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยสั่งไม่ฟ้องข้อหาชนเเล้วหนี ซึ่งตามขั้นตอนต้องส่งให้ทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พิจารณาทำความเห็นเเย้ง โดยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 ทำความเห็นเเย้งมา

เเต่ต่อมาอัยการสูงสุดชี้ขาดไม่ฟ้องตามความเห็นของพนักงานอัยการที่สั่งไม่ฟ้องข้อหาชนเเล้วหนี เเละจำเลยให้การรับสารภาพจนศาลมีคำพิพากษาดังกล่าว ซึ่งทางอัยการมีความเห็นไม่ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรี สำนวนจึงถูกส่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค1 เเละทางผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 มีความเห็นเเย้งให้ยื่นอุทธรณ์คดีขอให้ลงโทษสถานหนักต่อ ขั้นตอนต้องส่งอัยการสูงสุดชี้ขาดตามกฎหมาย ต่อมาอัยการสูงสุดชี้ขาดไม่อุทธรณ์คดีต่อ จนคดียุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

ภายหลังศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 เม.ย.64 ว่าจำเลยมีความผิดตามพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคสองจำคุก 1 ปีและปรับ 4 หมื่นบาท จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 คงจำคุก 6เดือนและปรับ 2 หมื่นบาท ไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ประกอบกับจำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจ จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตนเป็นพลเมืองดีโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ 1 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ 3 ครั้ง กับให้จำเลยทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควรมีกำหนด 24 ชั่วโมง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"