๖ ตุลา."แผ่นเสียงตกร่อง"


เพิ่มเพื่อน    

๑๔ ตุลา. และ ๖ ตุลา.นี่ ใช้หากินได้ทุกปี 
    สุดแต่ ช่วงนั้น-ปีนั้น 
    เกมการบ้าน-การเมืองมุ่งไปทางไหน นักโหนประวัติศาสตร์หาแดก-หลอกเด็ก  ก็จะระบาย-แต่งแต้มปลุกเร้าไปทางนั้่น
    ฉะนั้น อย่าแปลกใจ ที่เห็น เรื่องเดียวกันแท้ๆ แต่ฟังคนละปี เหมือนแม่หมาตัวเดิม คลอดครอกใหม่ทีไร ลายแด่น-ลายดอก ไม่ซ้ำครอกกันซักที!
    ปีนี้ โทนของขบวนการจานและนักศึกษาสามนิ้ว มุ่งหนักไปทาง "เปลี่ยนระบบ-ล้มสถาบัน"
    ฉะนั้น ๖ ตุลา. วานซืน ที่หน้าโดมธรรมศาสตร์ 
    พวกหน้าเดิมตะไคร่ขึ้่น จึงหอบอดีตมาหอนหาแดกประจำปี ธีมปีนี้ โหม "ล้มเจ้า" ตามใบสั่งสัมภเวสีใต้ตีน CFR
    ยืนชู ๓ นิ้ว สลอนหน้าโดมธรรมศาสตร์
    ชัก "ธงไตรรงค์" ลงจากยอดโดม 
    แล้วชัก "ธงแดง" เขียนข้อความ "ปฏิรูปสถาบัน" ขึ้นไปโบกพลิ้วเหนือยอดโดมแทน!
    ธรรมศาสตร์สามนิ้ว จงเจริญ ตรงนี้ผมอนุโมทนาให้เอง!  
    ไม่เจริญได้ไง ก็ขนาด "อดีตอธิการบดีธรรมศาสตร์" ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ แก่จะตายห่ะวันนี้-วันพรุ่ง ยังไม่มีความคิด ยืนตูดแป้น ถ่ายรูปคู่ "เป้าอัปรีย์" แล้วสดุดีโพสต์
    กับป้าเป้า With Auntie Pao (Lady Godaiva of new Thailand)
    ได้พบท่านหญิงโกไดว่า แห่งสยามประเทศไทยใหม่ ตัวจริงหน้าตาดีกว่ารูปถ่าย
    ครับ 6 ตุลา ๆๆๆๆๆ
    6th October 2519/1976
    A Silent Past is no longer A Silent History
    เรื่องของ อดีต ที่เงียบ แต่คงไม่ใช่ Silent History อีกต่อไปแล้ว
    ครับ คนแยะ จริงๆ ที่ มธ ท่าพระจันทร์ ปีนี้
    พวงมาลัย หรีด แบนเนอร์ ดอกไม้มากกว่าปีก่อนๆ ทั้งหมด
    It is no longer a silent history
    ท่านหญิงชาญวิทย์ ยกเป้าอัปรีย์เป็นท่านหญิงไกโดวาแล้ว ธงแดงก็ชักขึ้นยอดโดมแล้ว แก๊งทะลุแก๊ซก็ได้รับการเชิดชูเป็นนักสู้ประชาชนปฏิวัติแล้ว
    ก็หมดสงสัยในบทบาทธรรมศาสตร์ยุคนี้แล้ว!
    ธนาธรก็ไปให้เห็น....
     แต่ปิยบุตร ไม่ยักไปให้เห็นเงาหัว หรือยังไม่กลับ ตามที่โพสต์เมื่อกลางกันยา.
    "กำลังเตรียมเก็บกระเป๋าเดินทางกลับประเทศไทยครับ เมื่อไรที่ผมเดินทางมาอยู่ที่ปารีส กิจกรรมที่ทำอยู่เป็นประจำ คือ เข้าร้านหนังสือ ซื้อหนังสือ 
    รอบนี้ อยู่ค่อนข้างนาน ก็เลยซื้อเยอะมากกว่าคราวก่อนๆ ลองจัดหมวดหมู่ดู 
    รูปแรก อนาร์คิสต์ 
    รูปสอง ปฏิวัติฝรั่งเศส 
    รูปสาม ปฏิวัติรัสเซีย 
    รูปสี่ หลากหลายธีม ได้แก่ ประวัติศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง ปรัชญากฎหมาย สังคมวิทยาเศรษฐศาสตร์การเมือง 
    รูปห้า หนังสือเรียนภาษาสเปน .....ฯลฯ
    เออ...แปลกแต่จริง!
    ปิยบุตร ตัวตนเขาแสดงว่าลมหายใจคือประชาธิปไตย สู้เพื่อประชาธิปไตย แต่หนังสือที่เขาซื้อมา ดูซี....
     มีแต่การปฏิวัติล้มสถาบันกษัตริย์ ทั้่งฝรั่งเศส, รัสเซีย ยังแถมอนาร์คิสต์ การต่อต้านอำนาจรัฐทุกรูปแบบของไดโอจีนีส ที่ทำให้เกิด "คอมมูนปารีส" ฆ่ากันเลือดท่วมเมือง
    ไม่มีเล่มไหนในแนว "ประชาธิปไตย" อารยะทางชนชั้่นปัญญาเลย!
    เรื่องเช่นนี้ เคยสังเกตกันบ้างมั้ย ว่าทำไมจึงย้อนแย้งในตัวมันเองขนาดนั้น เช่น ผู้ร้องหาประชาธิปไตย แต่กลับใช้แนวทางคอมมิวนิสต์?
    ธรรมศาสตร์ ตดยังตดด้วยโน้ตประชาธิปไตย
    แต่บรรเลงด้วยเพลงคอมมูน และ "ชักธงแดง?"
    ถ้าอยากรู้เหตุผล อ่านนี่....
    เรียน คุณเปลว สีเงิน
    ช่วงนี้ ความเคลื่อนไหวทางการเมืองมุ่งไปที่การรื้อฟื้นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ด้วยวัตถุประสงค์หลากหลายของแต่ละกลุ่มข่าวสารข้อมูลที่บันทึกและเผยแพร่ก็หลากหลาย 
    มีทั้งจริง เท็จ บิดเบือน 
    แต่บรรยากาศในปัจจุบันจุดโฟกัสปรากฏในสื่อทุกประเภทเน้นในทางโน้มน้าวให้คนเชื่อว่า
    การเมืองปัจจุบันยังเป็นเผด็จการและมุ่งโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์
    ผม คนรุ่นเดียวกับคุณเปลว สัมผัสเหตุการณ์ทั้งในเมืองและชนบท รวมทั้งมีส่วนทำงานในการฟื้นฟูประเทศหลังจากยุติการสู้รบกับ ผกค.แล้ว  
    อยากจะขออนุญาตเสนอมุมมองส่วนตัวในภาพรวมของการเมืองที่ยังคงสร้างความยุ่งเหยิงวุ่นวายให้แก่ประเทศชาติไปอีกนาน ดังนี้ครับ
    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเริ่มปฏิบัติการเปิดเผย โดยมีมหาอำนาจฯ หนุนหลัง  
    และทางสหรัฐฯ ก็มียุทธศาสตร์สกัดอิทธิพลของมหาอำนาจคอมมิวนิสต์ มิให้ครอบงำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
จึงให้การสนับสนุนในการต่อต้านรวมทั้งประเทศไทย คือดูว่า เป็นภัยคุกคามจากภายนอก 
    และทั้งฝ่ายคุกคามและฝ่ายต่อสู้ ต่างก็มีมหาอำนาจต่างประเทศหนุนหลัง
    ในด้านการเมืองภายในโดยเฉพาะของไทย สภาพอยู่ในเผด็จการโดยทหาร กลุ่มนักศึกษาประชาชนจึงเรียกร้องประชาธิปไตย
    จุดปะทุในเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 บานปลายมาถึง 6 ตุลา 19 สรุปแล้ว คือ การเรียกร้องประชาธิปไตยอันชอบธรรม 
    แต่จำเป็นต้องต่อสู้กับการปราบปรามของทางการ 
    จึงมีผู้นำบางส่วนไปอิงกับขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่ออาศัยหลักการในการปลุกระดม การจัดกองกำลังมวลชนและยุทธวิธีการปะทะ  
    ซึ่งขณะนั้น ขบวนการคอมมิวนิสต์ก็กำลังโหมใช้กำลังในยุทธการป่าล้อมเมืองอย่างเข้มข้น (ตั้งแต่วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม 2508)
    ในแง่คิดทางอุดมการณ์ช่วงนั้น ผมมองว่า....
    ฝ่ายคอมมิวนิสต์มุ่งยึดครองประเทศไทยซึ่งต้องทำลายโครงสร้างเดิมทั้งหมด 
    คือเหลือเพียงชาติ ภายใต้การนำของพรรคฯ  
    แต่ในด้านนักศึกษา ประชาชน ต้องการประชาธิปไตยแท้จริง โดยยังยึดถือ ชาติ, ศาสนา, พระมหากษัตริย์ เป็นหลักในแผ่นดิน  
    ทางด้านรัฐบาล อย่างไรก็ต้องรับผิดชอบต่อความมั่นคงปลอดภัยของชาติและประชาชน 
    ยังชูหลักการ ยึดมั่นต่อชาติ, ศาสนา,พระมหากษัตริย์เช่นกัน เพียงแต่การปกครองยังเป็นเผด็จการ
    เมื่อมองในแง่ภัยคุกคามวิกฤตของชาติ ก็คือการรุกรานของคอมมิวนิสต์  ประเทศไทยต้องต่อสู้กันทั้งประเทศ  
    แต่ในด้านการเรียกร้องประชาธิปไตยนั้น เป็นภาระอีกทางหนึ่ง ที่รัฐบาลต้องต่อสู้หรือประคองสถานการณ์  
    และเผอิญการเรียกร้องประชาธิปไตย จำต้องใช้บริการหลายอย่างจากขบวนการคอมมิวนิสต์
    ขัดแย้งทางการเมืองในการเรียกร้องประชาธิปไตยที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ก็ด้วยขบวนการคอมมิวนิสต์นั่นแหละ 
    ด้วยทฤษฎี "ปฏิวัติโดยประชาชน"....
    คอมมิวนิสต์เห็นว่า ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย คือแนวร่วมมีค่ายิ่งในการปลุกระดม 
    เมือยึดประเทศไทยได้สำเร็จ ค่อยกวาดล้างฝ่ายประชาธิปไตยบริสุทธิ์ต่อไป ตามขั้นตอนที่เรียก "ปฏิวัติประชาธิปไตย"
    ในด้านขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย ก็หวังว่าเมื่อคอมมิวนิสต์ช่วยให้สามารถขับไล่เผด็จการออกไปแล้ว ก็จะเร่งสถาปนาประชาธิปไตย ด้วยการเลือกตั้งให้เดินหน้าโดยเร็ว (อาจยังไม่มีเวลาคิดว่า จะต้องต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ต่อไปหลังจากนั้น)
    แต่ในที่สุด ประเทศไทยก็รอดพ้นจากการครอบครองของคอมมิวนิสต์ 
    ปัจจัยสำคัญคือ....
    มหาอำนาจคอมมิวนิสต์ยุติการสนับสนุนขบวนการคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยเกือบโดยสิ้นเชิง และเผด็จการด้อยพลังลงไป 
    สังคมผู้รู้มองว่า ไทยตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสหรัฐฯ มีการใช้รัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง สลับกับการรัฐประหารมาจนถึงปัจจุบัน  
    ซึ่งแม้ในห้วงที่มีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็ยังมีการเรียกร้องประชาธิปไตยตลอดมาโดยกล่าวหาว่ารัฐบาล (จากการเลือกตั้ง) เป็นเผด็จการ
    ปรากฏการณ์ที่แฝงอยู่หลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 คือมีขบวนการด้อยค่าโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ดำเนินการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง 
    แต่ค่อนข้างปกปิด รู้และเผยแพร่กันเฉพาะในวงการ และหลังจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จสวรรคต 
    ขบวนการเหล่านี้ ........
    ก็เหมือนกับลุกฮือขึ้นมาทันที รุกรวดเร็วจนถึงขั้นมีพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเข้าไปเป็น ส.ส.ในรัฐสภา!!!!
    ในความเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อมาถึงขบวนการโจมตีสถาบันฯ ที่ผ่านๆ มา 
    วิเคราะห์แล้วเห็นว่า....
    ยังใช้ทฤษฎีหลักการของคอมมิวนิสต์แบบเดิมๆ เสริมด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการสื่อสาร 
    เจ้าตำรับก็คือ หัวขบวนในยุค 14 ตุลา หลายคน ที่ยังคิดจะพลิกแผ่นดิน เพื่อตัวอาจจะได้เป็นใหญ่.
    ขออภัยนะครับ ที่รบกวนเวลา อาจจะยาวเยิ่นเย้อไปหน่อย
    ลงชื่อ.....
    ครับ ชื่อมี บอกไปก็เรื่องยาว ฉะนั้น ขออนุญาตไม่บอก จาก ๖ ตุลา.๑๙ ก็เป็นเวลา ๔๕ ปี ผ่านไป
    "รุ่นใหม่" เกิดขึ้นแทน 
    แต่น่าเสียดาย "เกิดใหม่" แทนที่จะเป็นคนรุ่นใหม่    กลับเป็นควายในร่างคน 
    ให้พวกรุ่นเก่าหลอกใช้เหมือนเดิม.

คนปลายซอย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"