อานิสงส์ดอกเบี้ยขาขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

      ครึ่งปีแรกของปี 61 กำลังจะหมดไป เรียกได้ว่าตลาดหุ้นไทยผันผวนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายในเดือน มิ.ย. เพราะเจอปัจจัยกดดันจากต่างประเทศกระหน่ำเข้ามากดดัน ทำให้ดัชนีหุ้นไทยหลุด 1,700 จุด อีกทั้งกระแสเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ก็ไหลออกจนทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ลดลงอยู่ที่ประมาณ 16.5 ล้านล้านบาท จากเดือน ม.ค.61 อยู่ที่ 18 ล้านล้านบาท เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติเทขายรับเงินสด เพื่อรอจังหวะลงทุนใหม่อีกครั้ง

        โดยในช่วงเดือน มิ.ย. ประเด็นสำคัญหลักๆ ที่เข้ามากดดันบรรยากาศการลงทุนทั้งของไทยและทั่วโลก คงหนีไม่พ้นสงครามการค้าสหรัฐกับจีน ที่มีความเข้มข้นขึ้นจากการตอบโตกันไป-มา หลังจากก่อนหน้านี้สหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากจีน วงเงิน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และจีนประกาศตอบโต้คืนทันทีในมูลค่าที่เท่ากัน และล่าสุดทางสหรัฐได้พยายามจะจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มในอัตรา 10% วงเงิน 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ทั่วโลกเกิดความกังวลว่าจะกระทบกับเศรษฐกิจโลกได้

        ทาง บล.เอเซียพลัส จำกัด ระบุว่า การไหลออกของเงินทุนต่างชาติมาจากกลไกเรื่องส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีอยู่เป็นทุนเดิม ถูกกระตุ้นให้รุนแรงยิ่งขึ้นด้วยความกังวลในเรื่องของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับอีกหลายประเทศ ทําให้การไหลออกของเงินทุนต่างชาติมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น โดยในส่วนของตลาดหุ้น พบว่านักลงทุนต่างชาติขายสุทธิจากต้นปีถึงปัจจุบัน 175,000 ล้านบาท แยกเป็นการขายในช่วงเดือน มิ.ย. กว่า 44,000 ล้านบาท ซึ่งซื้อสุทธิเพียงพียงวันเดียวคือ 1 มิ.ย.61 มูลค่า 135 ล้านบาท

        ขณะที่กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นกลุ่มเดียวที่ซื้อสุทธิมาอย่างต่อเนื่อง พบว่าแรงซื้อเริ่มอ่อนลง โดยเดือน มิ.ย. ซื้อสุทธิประมาณ 21,000 ล้านบาท ด้วยภาพแรงขายที่แรงขึ้น แต่แรงซื้อเบาลง ทำให้ดัชนีหุ้นไทยย่อตัวลงมาอย่างมีนัยสำคัญ หากพิจารณาในมุมของปัจจัยพื้นฐาน กลับเห็นพัฒนาการเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของเศรษฐกิจโดยภาพรวม และฐานะของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ที่แข็งแกร่ง

        นอกจากสงครามการค้าที่คอยเป็นปัจจัยกดดันแล้ว ก่อนหน้านี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และส่งสัญญาณปรับขึ้นอีก 2 ครั้ง ทำให้ปีนี้ปรับขึ้นทั้งหมด 4 ครั้ง ก็สร้างความผันผวนต่อตลาดหุ้นไม่น้อย ถึงแม้จะตอบรับข่าวไปบ้างแล้วก็ตาม ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลก ต่างเริ่มทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตาม และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 20 มิ.ย.61 ก็ถูกจับตาว่าจะมีแนวโน้มปรับขึ้นหรือไม่

        ซึ่งผลออกมาไม่ได้เหนือความคาดหมาย เพราะส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ แต่ที่ออกมาผิดคาด คือ การแตกเสียงในที่ประชุม โดยมีมติ 5 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% ต่อปี และ 1 เสียงให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 1.5% เป็น 1.75% ต่อปี เนื่องจากเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความชัดเจนเพียงพอ และภาวะการเงินที่ผ่อนคลายมากอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ประชาชนและภาคธุรกิจประเมินความเสี่ยงของภาวะการเงินในอนาคตต่ำกว่าที่ควร จึงเห็นควรให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้เพื่อเริ่มสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินสำหรับอนาคต

        นอกจากนี้ บล.เอเซียพลัส ยังมองว่า กนง.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 4/61 โดยเริ่มจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับสหรัฐที่กว้างมากขึ้น ซึ่งสหรัฐอยู่ที่ 1.75% และกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 2-2.25% ในสิ้นปี ตามด้วยทิศทางของเงินเฟ้อในไทย ที่ตัวเลขในเดือน พ.ค.61 อยู่ที่ 1.49% มีแนวโน้มขึ้นไปเหนืออัตราดอกเบี้ยนโยบาย และหุ้นปลอดภัยจากดอกเบี้ยขาขึ้น คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ จากโครงสร้างสินเชื่อกว่า 70% เป็นดอกเบี้ยลอยตัว เป็นบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยรับ ด้านสัดส่วนเงินฝากกว่า 50% เป็นดอกเบี้ยคงที่ ส่งผลดีต่อการเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย

        ถึงแม้หุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะยังมีแรงกดดันจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งในไตรมาส 2/61 จะได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่ แต่ด้วยแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น จะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ได้แน่นอน.

ปฏิญญา มั่งคั่ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"