มุ่งปฎิรูปสถานศึกษามีอิสระ"เชื่อสร้างเด็กมีคุณาพ 


เพิ่มเพื่อน    

 
26มิ.ย.61-บอร์ด อิสระฯ มุ่ง สร้าง สถานศึกษาอิสระ บริหารจัดการตัวเอง “หมอเฉลิมชัย” เผย ไม่จำเป็นต้อง บริหารเองทั้ง 4 ด้าน เหมือน รร.นิติบุคคล ชี้ ไม่ต้องออก กม. ใหม่ กม.ที่มีอยู่เพียงพอสำหรับการดำเนินการ เตรียม เสนอแผนให้รัฐบาล พิจารณา เชื่อเป็นหนทางสร้างเด็กมีคุณภาพ ได้ผู้นำและครูดี เข้าสู่ระบบ

นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานที่ประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ที่ประชุมได้พิจาณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ที่ได้รับฟังความคิดเห็นทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาค รวมถึงจากเด็กและเยาวชนในระดับต่างๆ ไปแล้ว เมื่อเร็วๆนี้ โดยในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะมีประเด็นจาก นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ได้นำเสนอการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสถานศึกษานิติบุคคล ดังนั้น เรื่องการปฏิรูปโครงสร้างระบบการศึกษาหากจะทำให้เกิดคุณภาพ สถานศึกษาต้องมีอิสระในการบริหารจัดการ ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้เราจะนำเสรีภาพไปไว้ที่โรงเรียน เพราะโรงเรียนเป็นปัจจัยหลักของการศึกษาทั้งหมด
    
ประธานอนุกรรมการปฎิรูปฯ กล่าวอีกว่า   อย่างไรก็ตาม ถ้ามองในภาพรวม ส่วนการปฏิรูปโครงสร้างการศึกษาทั้งระบบ จะมีอยู่ 2 ประเด็น คือ การปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ การให้สถานศึกษามีความอิสระในการบริหารจัดการด้วยตัวเอง  ซึ่งการปฎิรูปสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระ จะแตกต่างจากการเป็นโรงเรียนนิติบุคคล  เพราะการเป็นโรงเรียนนิติบุคลจะต้องมีความหมายตามกฎหมายให้ครอบคลุมงาน 4 ด้าน คือ งานวิชาการ งานบริหารบุคคล งานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป แต่การดำเนินการให้สถานศึกษาเป็นอิสระไม่จำเป็นต้องครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน เช่น โรงเรียนบางแห่งอาจจะดำเนินการเป็นรายด้านหรือทุกด้านก็ได้ เป็นต้น  ซึ่งจากนี้คณะกรรมการอิสระฯ จะจัดทำแผนเสนอรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องความเป็นอิสระของสถานศึกษาจะเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็ก ทำให้คุณภาพการศึกษาดีขึ้นอย่างไร และยังต้องมีแผนการบริหารจัดการให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระด้วย ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นอยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดทำ

นพ.เฉลิมชัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม การให้อิสระกับสถานศึกษาไม่จำเป็นต้องออกกฏหมายเพิ่มเติม เพราะจากการศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ รวมทั้ง พ.ร.บ.การบริหารราชการแผ่นดินกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 พบว่ามีการกำหนดสาระสำคัญ  ในการให้อิสระกับสถานศึกษาไว้เพียงพอแล้ว และได้ประกาศเป็นกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงหลายฉบับ ถ้าได้ดำเนินการตามกฎระเบียบดังกล่าวครบถ้วนสถานศึกษาจะมีความเป็นอิสระ แต่ที่ผ่านมาขาดผู้รับผิดชอบโดยตรงว่า  จะต้องขับเคลื่อนให้สถานศึกษาเป็นอิสระจำนวนเท่าใดและผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต้องดีขึ้นอย่างไร     ซึ่งความเป็นอิสระของสถานศึกษาจะทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูดีๆเข้าสู่ระบบและทำงาน ซึ่งคณะกรรมการอิสระฯ จะเสนอข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลอย่างเป็นทางการตามอำนาจหน้าที่ตามกฏหมาย

 

“เราจะมุ่งเป้าหมายความเป็นอิสระของสถานศึกษาอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งจะต้องมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน และจิตวิญญาณของครู ที่จะช่วยให้คุณภาพการศึกษาไปสู่ความสำเร็จ ขณะเดียวกันเราคงไม่ดำเนินการให้โรงเรียนทั้งหมด 30,000 แห่งเป็นโรงเรียนอิสระ แต่จะดูตามความจำเป็นและเสียงตอบรับจากชุมชน และความพร้อมของสถานศึกษา”ประธานคณะอนุฯ ปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กล่าว


 เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่า ในร่างพ.ร.บ.การศึกษาชาติฉบับใหม่ ไม่ได้บรรจุเรื่องการปรับโครงสร้างหน่วยงานทางการศึกษาไว้ในร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว แต่เป็นการโยนภาระให้รัฐบาลชุดใหม่นั้น  นพ.เฉลิมชัย กล่าวว่า คงไม่ถึงขนาดนั้น ร่าง พ.ร.บ.การศึกษาฉบับนี้จะแตกต่างกับ พ.ร.บ.การศึกษาฯเดิมที่มีการกำหนดโครงสร้างของหน่วยงานทางการศึกษาไว้ แต่ในร่างใหม่จะกำหนดเฉพาะโครงสร้างหลักที่จำเป็นต้องมี  ส่วนโครงสร้างอื่นที่จะต้องปรับจะไปออกเป็นกฏหมายลูก โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการศึกษาชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีประธาน เพราะหากกำหนดในร่าง พ.ร.บ.จะแก้ไขได้ยาก ซึ่งหลังรับฟังความคิดเห็นแล้วคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ จะส่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้กับคณะรัฐมนตรีต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"