จะลดเหลื่อมล้ำได้ไง !กสศ.โดนตัดงบฯขอไป 5,000 ล้านเหลือ 3,000ล้าน


เพิ่มเพื่อน    


12พ.ย.62-ตามที่ที่ประชุมวุฒิสภา (สว.) ได้พิจารณารายงานประจำปี 2561 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยนพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวว่า กองทุนเพื่อความเสอมภาคทางการศึกษาไม่ใช่กองทุนที่ทำงานเป็นปกติเหมือนราชการ เป็นกองทุนเดียวที่ปรากฎในรัฐธรรมนูญ เพราะการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สุดที่จะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่หน่วยงานของรัฐจะไปทำให้โอกาสนี้ลดน้อยลง ในครั้งแรกก็เข้าใจข้อจำกัดเรื่องงบประมาณนี้ว่าอาจจะจัดสรรไม่ได้ถึง 25,000 ล้านบาท แต่ถ้าคำนวณ 25,000 ล้านต่อปี ดูแลเด็กและเยาวชนที่เลือกเกิดไม่ได้ 4 ล้านคน คำนวณตกเดือนละไม่เกิน 600 บาท  เป็นปัญหามากมายมหาศาลทุกขั้นตอน ปี 2563 เรายังจัดสรรเงินที่ 5,000 ล้าน จาก 25,000 ล้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตัดเหลือ 3,000 ล้าน หน่วยงานที่ตัดงบประมาณ คือหน่วยงานไหน มีเหตุผลอะไร มีความคิดอะไร  เรื่องไหนสำคัญกว่ากัน  สาธารณะน่าจะมีส่วนร่วมรับทราบเรื่องนี้ การช่วยคนยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่มีเงินมีอำนาจจะทำสำเร็จ ตนเห็นว่า กสศ. ได้ถูกออกแบบ ผ่านการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เป็นระบบ ด้วยงานวิจัยจากต่างประเทศ มีความเชื่อว่าการจัดงบประมาณลักษณะนี้จะทำให้เข้าถึงโอกาส ทำให้ทุกคนเสมอภาคกัน แต่พอเริ่มช่วยได้ไม่กี่แสน

“ผมไม่โทษกองทุนฯ เพราะเงินได้มาแค่นี้ กองทุนต้องทำงานหนัก อย่าท้อถอย เร่งทำงานให้สังคมเห็นความสำคัญ เพราะลงทุน 1 บาทวันนี้ จะได้เงิน 7 บาทในอนาคต เพราะคนเหล่านี้ไม่เป็นภาระ วัยแรงงาน ซึ่งลดจำนวนเงินช่วยเหลือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโตไปเป็นผู้สูงอายุที่พึ่งพาตัวเองได้ คนเหล่านี้พัฒนาศักยภาพ เป็นแรงงานฝีมือเสียภาษีให้รัฐ รัฐก็ลดเงินกู้มาโปะงบประมาณ สามารถสร้างการแข่งขันระดับประเทศ คนเหล่านี้จะเคลื่อนทัพมาเรื่อยๆ กสศ.ต้องช่วยตัวเองในการทำให้สาธารณะข้าใจเรื่องนี้ ต้องร่วมกันสนับสนุน ทำงานใช้เงินคุ้มค่า ลดความซ้ำซ้อน”นพ.เฉลิมชัย กล่าว

ด้านนพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า กสศ.ได้จัดระบบฐานข้อมูลและมีการออกระเบียบข้อบังคับให้ระบบงาน กสศ.มีความน่าเชื่อถือ โปร่งใสมากที่สุดเท่าที่ทำได้  กสศ.เป็นองค์กรขนาดเล็กมีบุคลากรเพียง 50 คน เน้นแนวทางการทำงานร่วมกับองค์กรที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก กสศ.เป็นแนวหนุนมากกว่าจะไปดูแลเยาวชนด้วยตัวเอง ซึ่งได้รับความร่วมมือย่างดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งที่ผ่านมา กสศ.มีระบบติดตามผลลัพธ์นักเรียนที่ได้รับทุนเสมอภาค โดยจากการติดตามพบว่าทำให้เด็กไม่ขาดเรียน มาเรียนได้ถึงร้อยละ 98 อีกทั้งมีฐานข้อมูลตามดูผลการเรียนรายบุคคล เมื่อได้รับทุนจาก กสศ.แล้วผลการเรียนก้าวหน้าอย่างไร สำหรับเรื่องฐานข้อมูลถือเป็นการลงทุนที่ช่วยเหลือประชาชน มีการแชร์ฐานข้อมูลกับกระทรวงการคลังอยู่ ซึ่งเป็นข้อมูลครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายกว่า 2 ล้านคน ลงลึกข้อมูลเชิงประจักษ์  ใช้ประโยชน์ได้ทั้งการวิเคราะห์นโยบายระดับชาติ  วิเคราห์ระดับโรงเรียน นักเรียนคนไหน เข้าเรียนน้อย มาก มีความสม่ำเสมอหรือไม่  ในส่วนความซ้ำซ้อน  เมื่อมีฐานข้อมูลที่ดีก็มั่นใจได้ว่า ปัญหาการให้ทุนซ้ำซ้อนจะลดลงไป
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"