เปิดแผนธุรกิจใหม่สหพัฒน์ จ่อเปิดโรงเรียนนานาชาติ-ขายของแบรนด์เนมมือสอง


เพิ่มเพื่อน    


เปิดเอ็มโอยูเครือสหพัฒน์ปี 2561

กลับมาอีกครั้งสำหรับมหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคราคาดีประจำปี 2561 ในงาน “สหกรุ๊ปแฟร์” ครั้งที่ 22 โดยในปีนี้เปลี่ยนสถานที่จัดงานเป็นไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย.-1 ก.ค. 2561 นี้ โดยมีการนำสินค้าคุณภาพดีกว่า 1,000 คูหา มาจำหน่ายในราคาพิเศษ ตอบรับสังคมไร้เงินสดด้วยระบบอีเพย์เม้นต์ พร้อมส่งสินค้าฟรี และยังจัดแสดงนวัตกรรม กิจกรรมไฮไลต์ ทั้งคอนเสิร์ตจาก BNK48 แฟชั่นโชว์ ประกวด สัมมนา รับสมัครงาน กิจกรรมจากโครงการประชารัฐเครือสหพัฒน์ และการสนับสนุนร้านค้าธงฟ้าประชารรัฐด้วยการเชิญเจ้าของร้านทั่วประเทศมาศึกษาดูงานร้านค้าตัวอย่าง อบรมความรู้การบริหารจัดการร้านแบบมืออาชีพ และมอบส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าในงาน

นอกเหนือจากการนำสินค้ามาจำหน่ายในราคาพิเศษแล้ว การบันทึกลงนามความร่วมมือประจำปีของเครือสหพัฒน์ที่เกิดขึ้นภายในงานดังกล่าว ก็นับเป็นการสะท้อนทิศทางการดำเนินธุรกิจทางหนึ่ง มาดูกันหน่อยว่าปีนี้ เสี่ยใหญ่อย่าง “บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา” ประธานเครือสหพัฒน์ มีความสนใจจะลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ด้านไหนกันบ้าง
ขยายพอร์ตธุรกิจเพื่อการศึกษา

เห็นเงียบๆ แต่ทว่าไปเซ็นสัญญากับโรงเรียนชื่อดัง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ของประเทศไทยไปเป็นที่เรียบร้อย หลังจากนี้จะจัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ในไทย คาดว่าจะสามารถเริ่มลงทุนได้ภายใน 1-3 ปีนี้ ส่วนทางด้านเม็ดเงินก็น่าจะประมาณหลักพันล้านบาท

แม้ว่าเสี่ยใหญ่ของสหพัฒน์ยังไม่ระบุแบรนด์ของโรงเรียนนานาชาติดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่ก็กระซิบบอกมาว่าเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงติดอันดับท็อป 1-3 จากประเทศอังกฤษ หากเอ่ยชื่อก็เชื่อว่าชาวไทยจะรู้จักเป็นอย่างดี โดยทำเลจะตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และมีการคมนาคมที่สะดวกสบาย น่าจะต้องใช้พื้นที่ประมาณ 10 ไร่ เชื่อว่าตลาดโรงเรียนนานาชาติยังมีศักยภาพ เป็นทางเลือกแก่ผู้ปกครองให้บุตรของตัวเองได้รับการศึกษาที่ดี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเรียนต่อยังต่างประเทศอีกด้วย

เครือสหพัฒน์มีความสนใจลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจภาคการศึกษามาตลอด โดยมีความร่วมมือกับทางเครือเนชั่น เพื่อยกระดับทางการเรียนการสอน รวมถึงการให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ ป้อนสู่สังคมด้วยการตั้งสถาบันยุทธศาสตร์ธุรกิจเชิงบวก (iSAB) เปิดรับผู้บริหารองค์กรภาครัฐ-เอกชน เจ้าของธุรกิจ หรือทายาทผู้ประกอบการ เข้าศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรนักบริหารยุทธศาสตร์เชิงบวก (The Master) มาแล้ว และกำลังเปิดรับสมัครรุ่น 4 เร็วๆ นี้

พาร์ทเนอร์กับญี่ปุ่นยกระดับการศึกษา

โดยมีทางกลุ่ม Hakuhodo เอเจนซี่โฆษณาชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น และกลุ่ม The Ashahi Shimbun สื่อยักษ์ใหญ่ 1 ใน 3 ของประเทศญี่ปุ่น หลังจากนี้จะจับมือเพื่อเดินหน้าด้วยกัน 2 โครงการ ได้แก่ 1. “มิกเกะ” (Mikke) วารสารที่นำเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่เคยตีพิมพ์แบบรายวันในหนังสือพิมพ์ The Asahi Shimbun และวารสารวิทยาศาสตร์ Kagakuru มาคัดเลือกเรื่องที่น่าสนใจ จัดทำเป็น “นิตยสารแจกฟรี” รายสองเดือน ฉบับภาษาไทยชื่อว่ามิกเกะ หรือในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า “เจอแล้ว”

อยากให้เด็กไทยที่กำลังเติบโตได้มาอ่านนิตยสารเล่มนี้ เหมือนกับการพบเจอสิ่งใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่สอดคล้องกับ STEM Education กิจกรรมหลากหลายสนุกๆ ในแบบที่เด็กจะต้องร้องอย่างตื่นเต้นเมื่อได้ค้นพบความรู้ใหม่ๆ ว่า “เจอแล้ว” นั่นเอง และยังมีการสร้างคาแรคเตอร์การ์ตูน 6 ตัวที่มีบุคลิกและนิสัยไม่เหมือนกัน ให้มานำเสนอเรื่องราวที่หลากหลายสำหรับเด็กๆ ปัจจุบัน“มิกเกะ” (Mikke) ถูกแจกฉบับละ 150,000 ชุด ปีละ 6 ครั้ง สู่ โรงเรียน 350 แห่งในประเทศไท

สำหรับโครงการที่ 2. Bellmark เป็นองค์กรที่จะช่วยเหลือโรงเรียนในการหาอุปกรณ์การเรียนการสอน “Bellmark” โดยหนังสือพิมพ์ The Asahi Shimbun ร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นต่างๆ จะเป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่กับสินค้าและบริการ ต่างๆ จะมีคะแนนที่จะคำนวนเป็นเงินบริจาคให้แก่โรงเรียน และผู้ประสพภัยหรือ ผู้ด้อยโอกาสในสถานที่ห่างไกลความเจริญ บุคคลทั่วไปสามารถเก็บแต้ม Bellmark ที่ติดอยู่บนแพ็คเก็จต่างๆเพื่อบริจาคให้แก่ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งเครือสหพัฒน์จะเป็นผู้ร่วมดำเนินโครงการกับกลุ่ม Hakuhodo และกลุ่ม The Asahi Shimbun ในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานสัญลักษณ์ “Bellmark” แก่ธุรกิจสินค้าและบริการในประเทศไทย เพื่อช่วยซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  

ลุยตลาดแบรนด์เนมมือสอง

ในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการซื้อขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองผ่านช่องทางออนไลน์เกิดขึ้นจำนวนมาก แต่หลายครั้งจะพบว่าผู้บริโภคต้องเจอกับการซื้อขายที่ไม่เป็นไปอย่างที่ใจคิด เพราะการขายออนไลน์ใครๆ ก็ทำได้ ระบบการคัดกรองก็ไม่ได้มีมาก ทำให้ไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร เนื่องจากเข้ามาในตลาดเพียงชั่วครู่เพื่อกอบโกยแล้วก็หายไป

การเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นของคนไทยยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสร้างเม็ดเงินจากการช้อปปิ้งให้กับแหล่งท่องเที่ยวในญี่ปุ่นมหาศาล โดยนอกเหนือจากสินค้าจำพวกเครื่องสำอาง และขนมที่ได้รับความนิยมแล้ว บางรายอาจเคยเป็นลูกค้าของร้านสินค้าแบรนด์เนมมือสองนามว่า “KOMEHYO” ก็เป็นได้ เพราะแต่ละปียอดขายที่มาจากคนไทยมากถึง 500-600 ล้านเยนต่อปีกันเลยทีเดียว นับว่าเป็นลำดับรองๆ จากจีน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของ KOMEHYO

หากย้อนกลับไปสักประมาณช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ในประเทศญี่ปุ่นมีผู้เล่นในตลาดร้านแบรนด์เนมมือสองเกิดขึ้นจำนวนมาก หากคิดเป็นอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 7% ต่อปี ส่งผลให้ภาพรวมตลาดมีมูลค่ามากกว่า 1.7 ล้านล้านเยน โดยผลประกอบการของปี 2560 KOMEHYO มียอดขายประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

KOMEHYO เป็นบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ Tokyo ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2490 ทำธุรกิจร้านขายสินค้าแบรนด์เนมมือสองที่มีส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีจำนวนสาขาที่ครอบคลุมภูมิภาคใหญ่ ๆ อย่างคันโต คันไซ จูบุ และในเมืองใหญ่ๆเช่น โตเกียว โอซาก้า รวมกว่า 30 สาขา โดยมีสาขาใหญ่อยู่ที่ นาโกย่า และขยายไปยัง ฮ่องกง ,เซียงไฮ้ ,ปักกิ่ง โดยเป็นการจำหน่ายทั้งสินค้ามือหนึ่งและสินค้ามือสอง เช่น เครื่องประดับ นาฬิกา กระเป๋า และเสื้อผ้า  

หัวใจของธุรกิจอย่าง KOMEHYO นั้นไม่ได้อยู่ที่การขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังอยู่ที่การรับซื้อสินค้าที่ดี เข้ามาด้วย และประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในแหล่งที่มีผู้ใช้งานสินค้าแบรนด์เนมจำนวนมหาศาลอีกทั้งคนไทยที่เดินทางไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นก็เป็นลูกค้าของ KOMEHYO อยู่เป็นจำนวนมากจึงทำให้ KOMEHYO มั่นใจได้ว่าประเทศไทยก็เป็นตลาดหนึ่งที่น่าลงทุน

หลังจากเครือสหพัฒน์ลงนามในครั้งนี้แล้ว จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ตอนนี้อยู่ระหว่งการหาทำเลศักยภาพในกรุงเทพฯ โดยสาขาแรกจะเป็นรูปแบบแฟล็กชิพสโตร์ และเกิดขึ้นเร็วสุดภายในปี 2562 แม้ว่าขนาดของพื้นที่ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่ให้มองในสาขาที่นาโกย่า 6,000 ตารางเมตร ชิบูย่า 2,400 ตารางเมตร และโอซาก้า 1,200 ตาราเมตร ก็อาจจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ปรับให้เหมาะสมกับเมืองไทย

การดำเนินธุรกิจของ KOMEHYO จะส่งผ่านสินค้าตามแนวคิด "Relay Use" “สิ่งของนั้นถูกส่งทอดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง (Relay) เพื่อนำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (Use) ซึ่งเป็นการบรรลุประโยชน์สูงสุดของสิ่งของนั้นๆ” การส่งต่อสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วไปให้กับบุคคลอื่นที่ยังต้องการ เมื่อของนั้นถูกส่งต่อ ทำให้มีการใช้งานต่อเนื่องไป ซึ่งนั่นก็หมายความว่า สิ่งของนั้นได้ถูกใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"