'สายรัดข้อมือเด็ก' ตัวช่วยหรือแค่แฟชั่น


เพิ่มเพื่อน    

    ถือเป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพนำเข้าสำหรับเด็กบ้านเราตัวล่าสุด สำหรับ “ฟิตเนสแทรกเกอร์” ที่ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 8 ปีขึ้นไป หรือใส่รัดข้อมือเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในชื่อ “ฟิตบิท เอซ (Fitbit Ace)” ที่มาพร้อมฟังก์ชันหลักครบครัน อาทิ การวัดก้าวเดิน ระยะเวลาที่ออกกำลัง หรือคุณภาพของการนอนในแต่ละวัน รวมไปถึงเหรียญรางวัล (Badge) หรือพิชิตภารกิจจากการแข่งขันในครอบครัว 
    มีการโฆษณาว่าสายรัดข้อมือเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กนี้สามารถปรับขนาดและใส่อาบน้ำได้ แบตเตอรี่ใช้งานได้นานสูงสุด 5 วัน พร้อมให้เด็กๆ ได้สนุกกับกิจกรรมกับผู้ปกครองที่สามารถตรวจเช็กและดูแลการทำกิจกรรมของน้องๆ หนูๆ ได้ ผ่านแอปพลิเคชันของ “ฟิตบิท เอซ” แต่สนนราคาไม่เบาเลยทีเดียว โดยอยู่ที่ประมาณ 3,490 บาท...ทำให้น่าสนใจว่า ของเล่นใหม่ที่ระบุว่ามีประโยชน์สารพัดนั้น จำเป็นเพื่อการพัฒนาหรือเป็นแค่แฟชั่นเท่านั้น

(รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์)

    รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ให้มุมมองว่า อันที่จริงแล้วเด็กมีความจำเป็นมากที่ต้องออกกำลังกายเพื่อไม่ให้อยู่นิ่งๆ เพราะการขยับตัวนั้นจะทำให้เด็กแข็งแรงทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบหัวใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ตลอดจนการเจริญเติบโตของสมอง เนื่องจากปัจจุบันเด็กยุคใหม่จะมี “ภาวะแน่นิ่ง” มากขึ้น จากกิจกรรมที่ไม่ถูกต้อง ได้แก่ การนั่งดูทีวีเป็นเวลานานๆ การเล่นโซเชียล การติดเกม โดยเกมแข่งขันบางประเภทที่อ้างว่าเป็นการกระตุ้นพัฒนาการเด็ก เนื่องจากต้องใช้การวางแผนในการเล่น แต่นั่นยิ่งทำให้เด็กติดเกมในที่สุด และภาวะที่เด็กไม่ขยับร่างกายนั้นจะส่งผลระยะยาวเมื่ออายุเข้าสู่วัยกลางคน หรืออาจทำให้ป่วยเป็นโรคทางสมอง โรคเบาหวาน โรคเส้นเลือดสมองได้ แต่การที่เด็กหันมาใช้อุปกรณ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวดังกล่าวก็สามารถใช้ได้ และเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง


    “อย่างที่เรียนไปว่า การที่เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพ ในแง่ของการพัฒนาร่างกายส่วนต่างๆ และส่งผลดีเมื่ออายุมากขึ้น คือไม่ทำให้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ แต่ปัจจุบันมีนาฬิกาที่สามารถนับการก้าวเดินของเด็ก และวัดแคลอรีในเด็กเล็ก อยู่ที่ราคาไม่กี่ร้อยบาท ก็ถือเป็นราคาที่เหมาะสมสำหรับเขา หรือสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันลงในสมาร์ทโฟนเกือบทุกรุ่น ที่เกี่ยวกับการนับก้าวและการวัดพลังงานในร่างกายของเด็กได้ ตรงนี้ก็เป็นข้อพิจารณาสำหรับผู้ปกครองได้เลือกตัดสินใจ" 
    แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือ การที่ผู้ปกครองชักชวนบุตรหลานออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ว่ายน้ำ, ปั่นจักรยาน, เรียนวาดรูป, รดน้ำต้นไม้ หรือทำงานบ้านเล็กๆ น้อยๆ ที่เด็กสามารถช่วยผู้ปกครองได้ ซึ่งเป็นการฝึกระเบียบวินัย ตลอดจนความรับผิดชอบให้กับลูกๆ ด้วย ที่สำคัญพ่อแม่ต้องเลิกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมให้ลูกเห็น เช่น การนั่งแช่ดูทีวีเป็นเวลานานๆ หรือนั่งจ้องสมาร์ทโฟนโดยที่ไม่สนใจจะพูดคุยกับลูก ซึ่งนั่นจะทำเด็กเกิดการเลียนแบบ

(ชัชนิต มุสิกไชย มหาคุณ)

    ขณะที่ อ.แอน-ชัชนิต มุสิกไชย มหาคุณ อาจารย์พิเศษสาขาการบริหาร วิทยาลัยการจัดการ (ดินแดง) ม.มหิดล คุณแม่ลูกหนึ่ง ให้มุมมองว่า หากเป็นอุปกรณ์ที่ส่งเสริมสุขภาพของเด็ก และกระตุ้นให้พ่อแม่เอาใจใส่สุขภาพลูกน้อย ก็เห็นว่ามีความสำคัญ แต่บางครั้งถ้าผู้ปกครองนำไปใส่ที่ข้อมือเด็กเล็ก โอกาสที่เด็กจะถอดอุปกรณ์ดังกล่าวทิ้ง และทำให้คุณพ่อคุณแม่เสียเงินก็มีโอกาสเป็นไปได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญหากว่ามีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าว ในกรณีที่ผู้ปกครองมีบุตรหลานป่วยเป็นโรคเบาหวานตั้งแต่ยังเล็กๆ อาจจำเป็นต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าใส่สายรัดดังกล่าวเพื่ออะไร หรือมีวัตถุประสงค์อย่างไร
    “ส่วนตัวอาจารย์คิดว่าถ้าเป็นอุปกรณ์ที่ส่งเสริมสุขภาพของลูก อย่างการช่วยให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย โดยเฉพาะบ้านไหนที่ลูกป่วยเป็นเบาหวาน อุปกรณ์ดังกล่าวก็ถือว่าสำคัญค่ะ เพราะจะทำให้เด็กไม่หยุดนิ่ง ได้ออกกำลัง อีกทั้งราคาหลักพันบาทก็เป็นสิ่งที่รับได้ค่ะ แต่สิ่งสำคัญ การที่จะให้เด็กใช้นั้น พ่อแม่ต้องอธิบายให้ลูกเข้าใจว่าใส่ไปเพื่ออะไร? เช่น บอกให้เด็กรู้ว่าการใส่จะทำให้ลูกนอนหลับพักผ่อนเพียงพอในชั่วโมงที่เหมาะสมนะ หรือเป็นการใช้เวลาว่างในการเล่นกีฬามากกว่าการนั่งจ้องโทรศัพท์มือถือและเล่นเกม ซึ่งนั่นจะทำให้ลูกอ้วนและมีปัญหาสุขภาพสายตา วิธีนี้จะทำให้เด็กไม่ต่อต้านและเข้าใจเหตุผล  


    แต่สิ่งหนึ่งที่ครอบครัว อ.แอนไม่ลืม คือจะไม่ให้ลูกเล่นโทรศัพท์มือถือ และก็จะสั่งให้แม่บ้านหรือคนดูแลไม่ให้สมาร์ทโฟนกับลูกสาวเช่นเดียวกัน เพราะถ้าลูกขอจากเราไม่ได้ ก็จะไปขอกับคนดูแล นอกจากนี้ อาจารย์จะชอบพาลูกสาวออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น เรียนขี่ม้า ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และเล่นดินเล่นทราย หรือบางครั้งก็พาลูกไปสวนสัตว์ เพื่อดูกระต่าย กวาง เพราะอย่างไรเสีย การที่เด็กได้ทำกิจกรรมกับพ่อแม่ ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้กับลูก และยังเป็นการสร้างความผูกพันให้ครอบครัวอบอุ่น จึงช่วยให้สุขภาพกายและใจดีค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"