ตรวจเช็กสมรรถภาพผู้สูงวัย ลดความเสี่ยงจากความเสื่อม


เพิ่มเพื่อน    

     เมื่อเริ่มสูงวัย ร่างกายย่อมเสื่อมลงไปตามกาลเวลา การเอาใจใส่ต่อสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็น มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กว่าจะทราบถึงสุขภาพของตนเองก็ต่อเมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพการทำงานลดลง หลายคนคิดว่าการตรวจสุขภาพประจำปีทั่วไปก็เพียงพอ แต่ไม่จริงเสมอไป หลายคนพบว่าตนเองออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยก็มีอาการอ่อนเพลียมาก ทั้งๆ ที่ผลการตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ในเกณฑ์ปกติ ฉะนั้นการรู้เท่าทันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากความเสื่อม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจเพื่อจะได้ดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง
    พญ.ธันยาภรณ์ ตันสกุล แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า การดูแลรักษาสุขภาพที่ดีและถูกสุขลักษณะ จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาทางสุขภาพที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ ที่อายุประมาณ 60-65 ปีขึ้นไป ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราส่วนของผู้สูงอายุเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมากกว่าประชากรเด็กประมาณ 11 ล้านคน จาก 66 ล้านคน ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากประเทศสิงคโปร์ ทางโรงพยาบาลกรุงเทพได้เห็นความสำคัญของสุขภาพในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในวัยที่มีความเสื่อมทางร่างกายมากขึ้น จึงได้จัดตรวจประเมินสมรรถภาพสำหรับผู้สูงวัย เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสมของสมรรถภาพทางกายตามวัย ซึ่งผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจเพื่อประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ลดโอกาสการเกิดโรคหรือปัญหาสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีในยามสูงวัยด้วย  


    โดยการประเมินสมรรถภาพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การตรวจประเมินผู้สูงอายุ โดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู การตรวจประเมินภาวะทางด้านร่างกาย ความจำและอารมณ์ โดยนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด เช่น การตรวจความสมดุลของกล้ามเนื้อ ไขมันและน้ำในร่างกาย ด้วยเครื่อง Body Composition Evaluation การตรวจประเมินความเสี่ยงในการหกล้ม ด้วยแบบทดสอบ Time up and Go test ตรวจประเมินการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ โดย Tandem Standing Test ตรวจประเมินกำลังกล้ามเนื้อขา Five Time Sit to Stand การตรวจวัดความเร็วในการเดินเพื่อประเมินความเร็วและระยะการก้าวเท้า และสำรวจการควบคุมความสมดุลในการเดิน 4 Meter Gait Speed Test รวมถึงการตรวจความสามารถด้านการเรียนรู้และการรับรู้ และการตรวจประเมินความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และความผิดปกติทางด้านอารมณ์ เป็นต้น
    พญ.ธันยาภรณ์กล่าวเสริมว่า การตรวจสมรรถภาพในผู้สูงอายุ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของโรคต่างๆ ได้ อาทิ อาการซึมเศร้า หรือการหกล้มจนเกิดภาวะทุพพลภาพ ซึ่งพบได้บ่อยๆ โดยมี 10 ความเสี่ยงดังต่อไปนี้คือสิ่งที่ผู้สูงอายุควรรู้ 1.อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) 2.การล้ม (Fall) เป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยสูงอายุ จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการล้ม 28-35% ส่วนในผู้ที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นเป็น 32-42% 
    3.สมองเสื่อม (Dementia Disease) ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการรู้คิด (Cognitive Function) ซึ่งเป็นกระบวนการรับรู้ เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูล เนื่องจากสมองทำหน้าที่ผิดปกติไปจากเดิม เสื่อมลง จากการที่อายุมากขึ้น 4.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Weakness) ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจำนวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อบวกกับกำลังการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ซึ่งอาการอ่อนแรงมีหลายระดับ ตั้งแต่กำมือแน่น ไม่แน่น ไปจนถึงการยกขา บางคนเมื่อเป็นแล้วอาจมีอาการช่วงสั้นๆ แล้วหายไป แต่บางครั้งไม่มีสัญญาณเตือนและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน 


    5.การเดินผิดปกติ (Abnormal Walking) 6.ประสาทสัมผัส (Sense) ทางหู การได้ยินลดลง มีอาการหูตึงมากขึ้น การเสื่อมของอวัยวะในหูชั้นในมีมากขึ้น เสียงพูดเปลี่ยนไป 7.ระบบขับถ่าย (Bowel and Bladder System จากการเสื่อมของเซลล์และกล้ามเนื้อหูรูดต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาระบบขับถ่าย 8.กระดูกพรุน (Senile Osteoporosis) 9.ท่าทางและการทรงตัว (Posture and Balance) ท่าทางของผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตประจำวันมีความสำคัญ เพราะอวัยวะต่างๆ ในร่างกายต้องทำงานร่วมกัน ที่สำคัญท่าทางและการทรงตัว ที่ดีส่งผลต่อความคล่องตัวในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ และ 10.ความอึด (Endurance) เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นความอึดย่อมลดลงยกตัวอย่างเช่น เมื่ออายุ 40 ปี และอายุ 50 ปีขณะที่ขึ้นบันไดในจำนวนขั้นที่เท่ากัน ความอึดอาจไม่เท่ากัน ในวัย 50 ปีอาจจะรู้สึกเหนื่อยง่ายมากขึ้นและอดทนได้น้อยกว่า เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"