จิตแพทย์ชมเปาะ"โค้ชเอก" แนะนำ"หมูป่า "นั่งสมาธิ ช่วยให้รอด ลดหิว


เพิ่มเพื่อน    

 

หมอพรรณพิมล ชมโค้ชเอก บอกให้น้องๆทีมหมูป่านั่งสมาธิ ช่วงติดในถ้ำ ชี้มีงานวิจัยรองรับ การทำสมาธิ มีประโยชน์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ ลดความฟุ้งซ่าน เกิดความอดทน รับมือสภาวะวิกฤตและลดอาการหิวได้ 

5 ก.ค61 -ที่กระทรวงสาธารณสุข พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในฐานะจิตแพทย์กล่าวถึงการนั่งสมาธิเพื่อคลายความหิว ตามที่เด็กนักฟุตบอลทีมหมูป่าอะคาเดมี่ได้ปฏิบัติตามที่ โค้ชอายุ 25 ปีให้คำแนะนำ ในฃ่วงที่ติดในถ้ำหลวงตั้งแต่วันที่ 23 มิ.ย. จนทีมค้นหาได้เข้าไปพบตัวเมื่อวันที่ 2 ก.ค. ว่าจากงานวิจัยพบว่าการนั่งสมาธิมีประโยชน์หลายข้อ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งทางร่างกายนั้นสมองจะมีสมอง 2 ส่วน คือสมองส่วนอารมณ์ และสมองส่วนเหตุและผล ซึ่งการนั่งสมาธิจะมีผลต่อการปฏิบัติตัวทำให้สมองส่วนอารมณ์ลดลงและสมองส่วนควบคุมเหตุและผลได้ทำงานดีขึ้นซึ่งสามารถปฏิบัติได้ทั้งในชีวิตประจำวัน และในภาวะวิกฤตจะช่วยทำให้ร่างกาย จิตใจสงบลงได้ โดยจะไปช่วยในเรื่องหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย      ลดความฟุ้งซ่าน แต่ไม่ได้ลดการกระตือรือร้นที่ปกติทุกคนก็มี        


ในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤติ ก็ย่อมเกิดภาวะช็อก ตึงตัวเป็นธรรมชาติเมื่อพบว่าเกิดอันตรายเข้ากับตัวเอง ซึ่งในช่วง 3-4 วันแรกเป็นช่วงที่มีความท่วมท้น ท้าทายความรู้สึกระหว่างความหวังจะออกไปได้และความกังวลจะออกไม่ได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะออกไปได้ รู้เพียงว่าเวลาผ่านไปเรื่อยๆ      นอกจากนี้ 3-4 วันแรกที่ติดนั้นหิวแน่นอน ซึ่งจะทำอย่างไรเพื่อให้แต่ละอย่างผ่านไป แต่โค้ชซึ่งเคยบวชมาก่อนและที่เป็นผู้ใหญ่ ที่เป็นคนนำฝึกสมาธิ   มีความรู้สึกต้องรับผิดชอบในการดูแล ซึ่งตรงนี้ก็ต้องขอชื่นชมว่าโค้ชเป็นมืออาชีพ มีความรับผิดชอบดีมาก  คิดว่าสามารถลดความหิวได้เพราะปกติคนนั่งสมาธิ นอกจากมีสติแล้วก็จะเพิ่มเรื่องความอดทนมากกว่าคนอื่นๆ นอกจากนี้การเป็นนักกีฬาก็เกี่ยวกับการมีความอดทน       


พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ทั้งนี้ในตอนที่พบยังเห็นว่าเด็กมีความร่าเริง แสดงว่าตอนที่ติดอยู่ด้วยกันอาจมีความพร้อมในการรับมือกับภาวะวิกฤต แต่ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่า 13 คนจะให้การรับรู้ถึงเหตุการณ์ที่เหมือนกัน จริงๆต้องดูแลสภาพจิตใจทุกคนซึ่งโค้ชที่เป็นผู้ใหญ่ อาจเกิดความรู้สึกที่ต้องรับผิดชอบ ความรู้สึกที่ต้องดูแลทีม  ซึ่งความคาดหวังในตัวเอง จะกลายเป็นความรู้สึกผิดเมื่อเวลาผ่านพ้นไปหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนแวดล้อม การกลับไปคิดว่าทำไมวันนั้นถึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น หรือทำไมไม่ทำเช่นนี้ ไม่ได้สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ซึ่งไม่ถูกต้อง ไม่มีใครอยากให้เกิด เราควรมองเรื่องนี้เป็นบทเรียนและก้าวไปข้างหน้าดีกว่า  ซึ่งจริงๆแล้ว โค้ชมีความรับผิดชอบ ดูแลเด็กๆดีมาก


ผู้สื่อข่าวถามว่า ควรนั่งสมาธิอย่างไรให้เกิดประโยชน์ หรือสามารถควบคุมอารมณ์ได้ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่ปกติการก็คล้ายๆการออกกำลังกาย ไม่จำเป็นต้องนั่งสมาธินานๆก็ได้ แค่เพียงวันละ 5-10 นาที ที่แนะนำคือ เวลาที่เหมาะสมคือ เวลาที่เรามีความพร้อม หรือจิตใจสงบ หรือช่วงก่อนนอนก็ถือว่าเหมาะสม เพราะจะช่วยเสริมให้เกิดการนอนอย่างเต็มที่ได้ อย่างไรก็ตาม การทำสมาธิมากไปก็เป็นผลลบได้ หรือใช้รูปแบบแข็งตัวเกินไป การฝึกก็มีหลายระดับ จริงๆเราควรเรียนรู้ระดับแบบผ่อนคลายความเครียดก็ถือว่าใช้ได้แล้ว 


“การให้อาหารแก่ผู้ที่อดอาหารเป็นระยะเวลานานคือ ตามหลักต้องให้อาหารเหลวดูดซึมง่ายๆแต่ให้พลังงานมาก และต้องระวังในการให้ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ ขณะนี้เกิดความเข้าใจผิดเรื่องการรับประทาน พาวเวอร์เจล ที่เป็นอาหารให้เด็กๆ จริงๆ ไม่ใช่ และที่สำคัญไม่ใช่ว่าจะกินได้ทุกคน เพราะเป็นอาหารที่มีพลังงานสูง เหมาะกับนักกีฬาที่สูญเสียพลังงานมากๆ และต้องการพลังงาน ซึ่งคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับประทาน เพราะอาจได้รับพลังงานสูงเกิน และมีน้ำตาลสูงเกินด้วย ส่วนอาหารอ่อนๆสำหรับผู้ป่วยก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรับได้ เพราะต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์ และนักโภชนาการคำนวณความเหมาะสมอีกที” รองปลัด สธ.กล่าว.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"