หุ้นเดือนก.ค.ยังอ่อนไหว


เพิ่มเพื่อน    

      ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยอ่อนไหวกับประเด็นข่าวสารมาก  ไม่ว่าจะข่าวเล็ก ข่าวใหญ่ หรือข่าวซ้ำๆ เดิมๆ ก็มีผลต่อจิตวิทยาได้ทุกเมื่อ เรียกได้ว่า “แค่วางมือบนบ่า น้ำตาก็ไหล” จริงๆ ซึ่งในหนึ่งวันของการซื้อขาย จะมีดราม่าเสมอ เช่นในช่วงเช้าดัชนีหุ้นอาจจะพุ่งขึ้นแรง แต่ในช่วงท้ายตลาดกลับเทขายเอาดื้อๆ ซะงั้น ที่สำคัญเงินทุนจากต่างชาติก็เทขายอย่างต่อเนื่อง ทำเอานักลงทุนหวั่นใจไปตามๆ กัน

        โดยในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ถือได้ว่าดัชนีหุ้นผันผวนเป็นอย่างมาก และแรงขายของนักลงทุนต่างชาติก็มีมากเช่นกัน หลังจากการตอบโต้ของสงครามการค้าสหรัฐกับจีน ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และยังต้องจับตาการเก็บภาษีนำเข้าจากจีนล็อตแรกในวันที่ 6 ก.ค.นี้ ว่าจะส่งผลอย่างไรบ้าง ซึ่งทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) วรรณ จำกัด ระบุว่า ปัญหาสงครามการค้าระหว่างประเทศสหรัฐและประเทศจีน ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก และตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เป็นระยะ

        อย่างไรก็ดี มองว่าปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายจะหาทางออกร่วมกันได้ และได้บทสรุปที่ชัดเจน ดังนั้น การพิจารณาลงทุนในตลาดหุ้นช่วงนี้ ควรเน้นเรื่องของปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ซึ่งปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญและมีผลต่อตลาดอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า คือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และการยุติมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (คิวอี) ของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในปีนี้ เพราะการเปลี่ยนนโยบายทางการเงินจากผ่อนคลายมาเป็นเข้มงวด บ่งบอกได้ว่าเศรษฐกิจโลกยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและขยายตัวได้ดี ทำให้ต้องมีการควบคุมปริมาณเงินในระบบและอัตราเงินเฟ้อ

        นอกจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจโลกที่แข็งแกร่งแล้วนั้น ยังมองว่าธนาคารกลางทั่วโลกจะเริ่มพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยในประเทศของตนกับประเทศสหรัฐ ไม่ให้แตกต่างกันมากจนเกินไป แต่ทิศทางการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของแต่ละประเทศจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะอัตราดอกเบี้ยในประเทศต้องเหมาะสมและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศด้วยเช่นกัน 

        ด้านบริษัท หลักทรัพย์ (บล.) ไอร่า จำกัด (มหาชน) มองว่าภาพรวมตลาดหุ้นในเดือน ก.ค.จะได้รับปัจจัยบวกจากแรงเก็งกำไรผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไตรมาส 2 ปี 61 เริ่มจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ในช่วงประมาณกลางเดือนก.ค. รวมถึงราคาน้ำมันที่คาดได้รับผลบวกจากความร่วมมือลดปริมาณผลิตน้ำมันสูงกว่า 1.2 ล้านบาร์เรล ถึง 152% ประกอบกับการเพิ่มปริมาณผลิตน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ของกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปก) เพื่อชดเชยปริมาณส่งออกน้ำมันของอิหร่านและเวเนซุเอลา ดีกว่าคาดหมายก่อนหน้าที่คาดสูงถึง 1.5 ล้านบาร์เรล

        สำหรับปัจจัยที่ยังคงต้องจับตาสำหรับเดือน ก.ค.นี้ คือ นโยบายการค้าของสหรัฐที่คาดยังมีความไม่แน่นอน และคาดสร้างความผันผวน รวมถึงส่งผลต่อความเชื่อมั่นลงทุน เช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ มี.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้ การประชุมเฟดที่จะจัดขึ้นในวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ คาดการณ์ว่ามีการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.75-2.00% และคาดปรับขึ้นอีก 2 ครั้งในเดือนก.ย.และ ธ.ค.ตามลำดับ

        ส่งผลให้ประเมินกลยุทธ์การลงทุนในเดือน ก.ค. มีโอกาสฟื้นตัว หลังเดือนที่ผ่านมาดัชนีปรับลงสู่ระดับต่ำสุด 1,595.58 จุด นับจากต้นปีที่ผ่านมา คาดตลาดส่วนใหญ่สะท้อนปัจจัยลบจากประเด็นต่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เช่น จีน และกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (อียู) เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีประเด็นความเสี่ยงจากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นมีความรุนแรงขึ้น อาจเป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้งระหว่างประเทศ ส่งผลต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของโลก และการจำกัดการลงทุนต่อทุกประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน

        นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของสหรัฐ หากปรับเพิ่มขึ้น อาจกลับมามีผลต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง รวมถึงตลาดหุ้น และยังส่งผลให้เงินทุนต่างชาติยังไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ ทางด้านราคาน้ำมันคาดผลบวกจะส่งผลดีต่อหุ้นกลุ่มพลังงาน โดยวางกรอบดัชนีหุ้นไทยเดือนก.ค.ไว้ที่ 1,670-1,717 จุด

      ความผันผวนในตลาดหุ้นไทยและทั่วโลกขณะนี้ยังมีอยู่มาก ซึ่งนักลงทุนเองก็ควรที่จะพิจารณาถึงพื้นฐาน บจ.เป็นหลัก เพราะหุ้นบางตัวอิงกับการส่งออกที่อาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า หากเป็นไปได้ นักลงทุนควรกำเงินสดไว้แน่นๆ ก่อน เพื่อรอดูความชัดเจนในหลายๆ ด้าน แล้วค่อยตัดสินใจลงทุนก็ยังไม่สาย.

ปฏิญญา มั่งคั่ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"