ฟื้นบทบาทสกศ.ชี้นำปท.ผ่านการศึกษา พร้อมสั่งขับเคลื่อนงาน9ด้าน


เพิ่มเพื่อน    

 

บอร์ดสภาการศึกษา หรือสกศ.พลิกฟื้นบทบาทองค์กร ให้กลายเป็นองค์กรผู้ชี้นำประเทศผ่านนโยบายการศึกษาได้อย่างจริงจัง สั่งคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 9 ด้าน ขับเคลื่อนงานทั้งการสร้างฐานข้อมูลให้เป็นระบบ ยกร่างมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติใหม่ ทำการวิจัยเชิงนโยบาย “หมออุดม” เผยข้อมูลเวิล์ดิ์แบงก์ ปี 59ระบุจำนวนโรงเรียนและเด็กลดลงแต่จำนวนครูกลับเพิ่มขึ้น  ต้องหาทางจัดการทรัพยากรให้เหมาะสม 

 

นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ในที่ประชุมสภาการศึกษา (สกศ.)ที่ประชุมได้มีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินการของคณะอนุกรรมการสภาการศึกษาทั้ง 9 ด้าน และที่ประชุมได้มีการอภิปรายพร้อมทั้งให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1.คณะอนุกรรมการด้านระบบฐานข้อมูลและตัวชี้วัด ที่ประชุมให้หลักการว่าควรจะดำเนินการสร้างฐานข้อมูลให้เป็นระบบและมีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยระบบดังกล่าวจะสามารถบูรณาการและเชื่อมโยงได้ทุกหน่วยงานด้วย เพื่อที่จะให้หน่วยงานต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนนี้และใช้ในการคิดวิเคราะห์ วางแผนผลิตกำลังคนได้ 

2.คณะอนุกรรมการฯ ด้านนโยบายการศึกษาและกลไกการขับเคลื่อนแผนสู่การปฏิบัติ  ที่ประชุมได้เน้นให้นโยบายต่างๆ มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ แผนการศึกษาชาติ รวมถึงเน้นเรื่องการศึกษาเพื่อการมีอาชีพ ทำให้เด็กเรียนรู้การมีอาชีพและสามารถประกอบอาชีพได้ทันที ไม่ใช่ต้องรอจนจบการศึกษาเหมือนที่ผ่านมา เช่น การทำการเกษตรแบบครบวงจรภายในโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียน และสามารถประกอบอาชีพได้ด้วย อีกทั้งยังเน้นเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิต ที่จะต้องปรับบทบาทโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน

 3.คณะอนุฯ ด้านระบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษา ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องการจัดทรัพยาการด้านการศึกษาของประเทศไทยที่ธนาคารโลก (The World Bank) ได้สำรวจข้อมูลการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า ปี 2553 มีโรงเรียนจำนวน 31,193 โรง ครู 404,816 คน และนักเรียน 7,711,850 คน ขณะนี้ ปี 2559 จำนวนโรงเรียนลดลง เหลือ 30,506 แต่ครูกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็น 451,038 คน นักเรียนลดลง เหลือ 6,856,274 คน ทำให้เห็นว่าจำนวนโรงเรียนและเด็กลดลงแต่ แต่จำนวนครูกลับเพิ่มขึ้นที่ประชุมจึงมอบให้คณะอนุฯ ไปคิดวิเคราะห์แนวทางการจัดสรรทรัพยากรใหม่ให้มีความเหมาะสม และกระจายการบริหารจัดการบุคลากรให้มีความเหมาะสม ไม่ใช่ใช้ครูไปทำงานในตำแหน่งธุรการ

 

นพ.อุดม กล่าวต่อว่า 4.คณะอนุฯ ด้านมาตรฐานการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ที่ประชุมได้หารือเรื่องการยกร่างมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติใหม่ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คุณลักษณะของคนไทยที่พึ่งประสงค์ เช่น ความเป็นพลเมืองดีมีจิตใจใฝ่รู้ตลอดชีวิต เป็นต้น ,แนวการจัดการศึกษา และ การสร้างวิถีการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งทางคณะอนุฯ จะไปดำเนินการยกร่างรายละเอียด และนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป 5.คณะอนุฯ ด้านการประเมินผลการศึกษา ที่ประชุมได้ให้ความเห็นว่าการประเมินผลการศึกษาที่จะต้องมีการติดตาม เพื่อช่วยโรงเรียนในการปรับตัวเอง และลดตัวชี้วัดที่ไม่มีความจำเป็นด้วย 6.คณะอนุฯ ด้านกฎหมายการศึกษา ที่ประชุมเห็นว่าควรจะมีการพิจารณาทบทวนกฎหมายการศึกษา เพื่อให้มีความทันสมัยและจะได้นำเสนอต่อไป

 7.คณะอนุฯ ด้านการวิจัยการศึกษา ที่ปัจจุบันเราไม่ค่อยจะมีการวิจัยเชิงนโยบายเรื่องการศึกษา ทำให้ขาดข้อมูลสนับสนุนในการดำเนินการเรื่องต่างๆ ดังนั้นการวิจัยเชิงนโยายควรที่จะเป็นเรื่องที่ต้องเน้นให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะนำนโยบายต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติ 8.คณะอนุฯ ด้านบทบาทของภาคประชาสังคมเพื่อการศึกษา ที่จะต้องเปิดให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม สร้างการรับรู้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนด และ 9.คณะอนุฯ ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬาและภูมิปัญญา ที่ประชุมเห็นว่าควรจะต้องขับเคลื่อนเรื่องเหล่านี้ให้ไปสู่ห้องเรียนอย่างจริงจังให้ได้ เช่น การเปิดห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนดนตรี เป็นต้น

 

“ที่ผ่านมา สกศ.ถือว่าเป็นหน่วยงานที่เป็นผู้ชี้นำด้านการศึกษา ดังนั้นตอนนี้ สกศ.จะต้องปรับตัวใหม่ พลิกฟื้นบทบาทความเป็นผู้ชี้นำประเทศในเชิงนโยบาย และติดตามประเมินผลภาพใหญ่ของประเทศ ว่ามีการดำเนินการตามแผนการศึกษาชาติ และอื่นๆ หรือใหม่ เพื่อจะสามารถชี้นำประเทศได้จริง”รมช.ศธ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"