“คลัง” แจงยิบรีดภาษี e-Business ดูดรายได้เข้ารัฐ 3 พันล.


เพิ่มเพื่อน    

 

“คลัง” แจงยิบภาษี e-Business ตั้งแท่นเก็บรายได้จากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มีการให้บริการในไทยและมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ประเมินดูดรายได้เข้ารัฐ 3 พันล้าน คาดบิ๊กผู้ประกอบการ 80-100 รายให้ความร่วมมือ

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า  ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) ในต่างประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่มีรายได้จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากรผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งคาดว่าจะทำให้การเก็บภาษีเพิ่มขึ้นปีละ 3 พันล้านบาท

"ตอนนี้มีความเข้าใจผิดว่ากฎหมายดังกล่าว จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากการซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น มีการสั่งซื้อของผ่านอารีบาบาและจะโดนเก็บภาษีแวตจากกฎหมายนี้ ซึ่งไม่ใช่ กฎหมายนี้จะเก็บภาษีแวตผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ" น.ส.กุลยา กล่าว

นางแพตริเซีย มงคลวนิช ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี และโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการเก็บภาษีแวตจากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การโฆษณา ดาวน์โหลดเกมส์ ดาวน์โหลดสติกเกอร์ สมัครสมาชิกทีวีออนไลน์  เป็นการเก็บภาษีแวตจากดิจิทัลคอนเทนส์ หรือดิจิทัลเซอร์วิส รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ที่มีการซื้อขายกันและมีการเก็บค่าบริการซื้อขายจากการซื้อสินค้านั้น ก็จะมีการเก็บภาษีแวตในส่วนของค่าบริการเท่านั้นไม่รวมถึงค่าสินค้า 

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเป็นการสร้างความเป็นธรรมทั้งผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ โดยจะเน้นการเก็บภาษีจากผู้ประกอบการรายใหญ่เป็นหลัก  ไม่ได้เก็บภาษีจากผู้ซื้อ เช่น หากจองที่พักในเมืองไทยผ่านผู้ให้บริการออนไลน์ต่างประเทศ ผู้ให้บริการออนไลน์จะเสียภาษีแวตในส่วนของค่าบริการเท่านั้น ไม่ได้เก็บภาษีแวตจากค่าห้องพักด้วย เพราะค่าห้องพักมีการเสียภาษีแวตอยู่แล้ว ส่วนจะมีการผลักภาระให้ประชาชนต้องจ่ายเงินเพิ่มทางอ้อมหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ให้บริการ

นอกจากนี้ ยังมีการเขียนไว้ในกฎมาย ผู้ประกอบการฝั่งไทยที่ไปใช้บริการกับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ ที่ไม่เสียภาษีแวตให้กับกรมสรรพากร รายจ่ายประเภทนี้จะหักเป็นภาษีซื้อและหักเป็นรายจ่ายเพื่อเสียภาษีนิติบุคคลไม่ได้

“สำหรับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ของที่นำเข้ามาในประเทศก็จะดำเนินการตามกฎหมายปกติที่มีอยู่แล้ว คือ สินค้าที่มูลค่าไม่เกิน 1,500 บาท ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและภาษีแวต หากราคาเกินที่กำหนดก็ต้องเสียภาษีนำเข้าและภาษีแวตตามปกติ” นางแพตริเซีย กล่าว

ทั้งนี้ จากการศึกษาของกรมสรรพากร พบว่า ปัจจุบันนี้มี 50 ประเทศ ที่เก็บภาษีแวตจากผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ และผู้ประกอบการรายใหญ่ 80-100 ราย ยอมเสียภาษีแวตตามกฎหมายของแต่ละประเทศที่ออกมา เพราะบริษัทดังกล่าวอยู่ในตลาดหลักทรัพย์และมีการค้าขายทั่วโลก จึงไม่กล้าเสี่ยงเรื่องธรรมาภิบาลการดำเนินงานของบริษัท โดยการเสียภาษีไม่ถูกต้อง

"กรมสรรพากรคาดว่าบริษัททั้ง 80-100 แห่งดังกล่าว ก็จะยอมเสียภาษีแวตในประเทศไทยด้วยเช่นกัน เพราะเป็นเรื่องที่ต่างประเทศดำเนินการและได้ผลมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่ประเทศไทยทำเป็นประเทศแรก" นางแพตริเซีย กล่าว

สำหรับการเก็บภาษีเงินได้ ผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลแพลตฟอร์มในต่างประเทศ อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะมีความซับซ้อนกว่าเสียภาษีแวตที่ออกมามาครั้งนี้ อย่างไรก็ตามการเก็บภาษีแวตยังต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ได้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ เพราะเป็นภาษีที่ทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการในและต่างประเทศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"