ลุยเมกะโปรเจ็กต์7แสนล. ชงครม.เคาะก่อนเลือกตั้ง


เพิ่มเพื่อน    

 "กอบศักดิ์" ลั่นลุยเมกะโปรเจ็กต์ คาด 1-2 เดือนประกาศทีโออาร์ 6 โครงการ มูลค่า 7 แสนล้านบาท วางปฏิทินได้ผู้ชนะ ม.ค. ชง ครม.อนุมัติก่อนจัดเลือกตั้ง! "คณิศ" แย้ม ส.ค.ทัพนักลงทุนจีนบุกไทยดูลู่ทางลงทุน

    เมื่อวันพุธ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนา “อีอีซีเดินหน้า เชื่อมโลกให้ไทยแล่น : โอกาสของนักลงทุนไทย” ว่าความคืบหน้าของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ขณะนี้มีเป้าหมายที่ชัดเจนตามยุทธศาสตร์ที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้ตั้งเป้าดำเนินการเรื่องทำกำหนดขอบเขตการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) ของ 6 โครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะรองรับการลงทุนในพื้นที่อีอีซี เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาภายในเดือน ม.ค. และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ก่อนเลือกตั้งในปี 2562 
    ทั้งนี้ 6 โครงการจะประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่เปิดขายซองเอกสารร่างขอบเขตการประมูลแล้ว, โครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา จะเปิดขายทีอารเดือน ต.ค.นี้, โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานฯ, โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด เฟส 3, โครงการท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 และโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) ซึ่งเป็นวงเงินการลงทุนราว 7 แสนล้านบาท
    "ภายใน 1-2 เดือนนี้ คาดว่าทีโออาร์ในเรื่องอื่นๆ น่าจะทยอยออกมาให้นักลงทุนได้เห็นกันแล้ว ทั้งเรื่องของสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุด การพัฒนาเขตนวัตกรรมเขตพิเศษอีอีซี และเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ซึ่งมั่นใจว่าจะทำทัน ซึ่งผมเองมาทำงานตรงนี้เพราะมีหน้าที่หลักคือเฆี่ยนให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งหลายคนที่ถามว่าจะเกิดจริงหรือเปล่า เราก็ทำให้เห็นแล้วว่ามีทีโออาร์ออกมา อย่างเช่นโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีคนสนใจที่จะเข้าประมูลเป็นอย่างมาก" นายกอบศักดิ์กล่าว
    สำหรับการดำเนินงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 6 โครงการนั้น จะเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (พีพีพี) โดยทุกโครงการจะแล้วเสร็จภายใน 5 ปี มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 700,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดเป็นไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับการที่มีพระราชบัญญัติอีอีซี ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ไทยเป็นประตูสู่การค้าเอเชีย รวมทั้งเชื่อมโยงการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือซีแอลเอ็มวี และกลุ่มประเทศอาเซียน 
    นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ลกพอ.) กล่าวว่า การพัฒนาพื้นที่อีอีซี รัฐบาลได้เร่งรัดให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม ทั้งในด้านกฎหมาย การดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลัก ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ขณะเดียวกันภายในสิ้นเดือน ส.ค.นี้ จะมีนักลงทุนจากจีนเดินทางมาศึกษาลู่ทางการลงทุน โดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซี ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเป็นแม่งาน รวมทั้งจะจัดสัมมนาโรดโชว์ให้นักลงทุนจีน โดยคาดว่าจะมีเอกชนรายใหญ่ๆ เข้าร่วม อาทิ หัวเว่ย
    “แผนพัฒนาพื้นที่อีอีซี คาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนรวมทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท หรือ 49,900 ล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 5 ปี” นายคณิศระบุ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"