โลกความเป็นแม่...ไม่เคยล้มป่วย เสียงสะท้อนจาก...ศรีธัญญา


เพิ่มเพื่อน    

   

(กิจกรรมบำบัดของ รพ.ศรีธัญญา เพื่อถ่ายโอนความรู้สึก ปัญหา ตลอดจนสิ่งที่ต้องการ เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพที่แต่ละคนได้พบเจอในผู้ป่วยจิตเวช ที่อาศัยการแชร์ข้อมูลระหว่างกันและกัน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากกลุ่มเพื่อน หนึ่งในการรักษาควบคู่กับการให้ยาปรับสารเคมีในสมองผู้ป่วย)

    คนเป็นแม่ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน หรือต่อให้ต้องป่วยร้ายแรงเพียงใด ทว่าการเลี้ยงดูบุตรย่อมมาก่อนเสมอ แม้ว่าบ่อยครั้งเราจะเห็นภาพของคุณแม่วัยรุ่นที่อยู่ในภาวะไม่พร้อมแล้วทำแท้ง หรือทิ้งลูกน้อยไว้ในถังขยะ ..บ้างก็เสียชีวิต บ้างก็ได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใจบุญ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นส่วนน้อย 
    เนื่องในเทศกาลวันแม่ ที่เชื่อว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะถือโอกาสนี้แสดงถึงความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกเป็นกรณีพิเศษ ตามวิถีและค่านิยมครอบครัวของตัวเองนั้น เราพาเข้าไปคุยกับอีกโลกหนึ่งที่แตกต่าง นั่นคือ สังคมมุมหนึ่งของผู้ป่วยจิตเวช ที่บางคนก็เป็นทั้งแม่ และบางคนก็เป็นลูก ...ว่าพวกเขากับความรู้สึกของความเป็นแม่นั้น...ป่วยด้วยหรือเปล่า??? 

(ทวีรัตน์ ทองดี)

    จากคำบอกเล่าของ พี่นก-ทวีรัตน์ ทองดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ศรีธัญญา ให้ความรู้เกี่ยวกับ “ผู้ป่วยโรคจิตเวช” ที่หลายคนมองว่าแต่งตัวไม่เรียบร้อย และบางรายก็ไล่ทำร้ายผู้อื่น ทำร้ายตัวเอง ทั้งที่ความจริงแล้ว ผู้ป่วยโรคนี้เกิดจากภาวะสารเคมีในสมองมีความบกพร่องในด้านต่างๆ จึงทำให้อาการของโรคจิตเวชแตกต่างกันออกไป เช่น หากผู้ป่วยมีภาวะก้าวร้าว นั่นแปลว่าสารเคมีในสมองส่วนดังกล่าวทำงานผิดปกติหรือบกพร่อง เป็นต้น กล่าวโดยสรุป สาเหตุของอาการป่วยด้านจิตเวชสามารถเกิดขึ้นได้จาก 3 ประเด็น 1.กรรมพันธุ์ที่ซ่อนอยู่ 2.ความเครียดจากการเลี้ยงดูของครอบครัว 3.สารเสพติด, การดื่มแอลกอฮอล์ที่ไปกระตุ้นให้สมองยิ่งทำงานผิดปกติ    ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยจิตเวชจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1.“โรคจิตเภท” ที่พบได้สูงถึงร้อยละ 55-60% ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติด้านความคิดและพฤติกรรม เช่น การที่ผู้ป่วยชอบสะสมสิ่งของแปลกๆ หรือชอบแปะรูปข้างผนัง โดยรูปดังกล่าวจะบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกัน อีกทั้งมีภาวะหูแว่วและภาพหลอน 2.“โรคไบโพลาร์” หรืออารมณ์ 2 ขั้ว เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย และมักจะมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย แต่พอดี ผู้ป่วยจะรู้ตัวเอง ทั้งนี้ การรักษาโรคจิตเวช แพทย์จะให้ยาปรับสมดุลสารเคมีในสมองเพื่อให้ทำงานได้ปกติในส่วนที่ผู้ป่วยบกพร่อง ประกอบการใช้กิจกรรมกลุ่มเข้ามาบำบัด ในลักษณะของการสะท้อนปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นภาพ กระทั่งสามารถที่จะกลับใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยทั่วไปเมื่อผู้ป่วยได้รับยา 3-4 สัปดาห์ ก็จะสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ปกติ หรือบางรายต้องกลับมาพบแพทย์ตามนัด
แม่..ป่วยจิตเวชก็ขึ้นชื่อว่าแม่
    ไล่มาถึงประเด็นคนเป็นแม่ป่วยจิตเวชที่มารักษาใน รพ.ศรีธัญญา พี่นก พยาบาลชำนาญการ ระบุว่า เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมามีด้วยกัน 2 ราย ที่เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้คลอดใน รพ.ศรีธัญญา เนื่องจากรักษาอาการภาวะซึมเศร้าและดีขึ้น ทั้งนี้ เจ้าตัวเล่าว่า คนไข้เมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็จะมักจะ “ห่วงลูกในท้อง” มากกว่าเรื่องอื่น 

(ผู้ป่วยจิตเวชสามารถเลี้ยงดูลูกได้เหมือนคุณแม่ปกติ หากดูแลตัวเองโดยการรับประทานยาและพบแพทย์โดยสม่ำเสมอ)

    “ที่ผ่านมามีผู้ป่วยโรคจิตเวชที่เข้ามารักษาซึ่งตั้งครรภ์ได้ประมาณ 2-3 เดือน แม้แต่ญาติที่พามารักษาเขาก็จะไม่รู้ แต่ เมื่อเขารู้ตัวว่าตัวเองท้องก็จะเป็นห่วงลูกก่อนเลย เพราะเขาจะบอกกับพยาบาลว่า “พี่ หนูท้องนะ!!!” ถ้ากินยาตัวนั้นตัวนี้ มันจะมีผลอะไรกับลูกไหม?? หรือบางครั้งอยากกินอาหารรสจัดก็จะไม่กล้ากิน นอกจากว่าเขาจะแพ้ท้องและอยากกินจริงๆ ก็จะขอกินกับเพื่อนคำสองคำเพื่อให้รู้รสเท่านั้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมาบอกได้เลยว่า ผู้ป่วยที่มีความสุขและมีพื้นฐานการเลี้ยงดูที่ดีจากครอบครัว กระทั่งผู้ป่วยที่ถูกสามีทำร้ายร่างกายขณะที่ยังท้อง เขาก็จะแสดงความรักและเป็นห่วงลูกก่อนเสมอ เมื่อเขาเริ่มจำความรู้สึกเดิมได้ ก็นึกถึงเรื่องท้องก่อนเลย 
    นอกจากนี้ คนเป็นพ่อและแม่ส่วนใหญ่จะไม่ทิ้งลูก ขอยกตัวอย่างพ่อแม่อายุเยอะที่มาเยี่ยมลูกสาวป่วยโรคจิตเวช บางรายซื้อของมาให้ลูกกิน และเอามือลูบหลังลูก ดังนั้นต่อให้ลูกเอะอะโวยวาย หรือแสดงอารมณ์หลุดโลกแค่ไหน คนเป็นพ่อแม่ย่อมรับได้ทุกอย่างค่ะ
    ในส่วนของการเลี้ยงดูลูกของคุณแม่ป่วยจิตเวชจะเหมือนกับคุณแม่ทั่วไปหรือไม่นั้น หากว่าแม่ป่วยมีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เป็นปกติ รับประทานยาติดต่อกันตลอด หรือหากสามารถคอนโทรลตัวเองได้ ก็จะสามารถเลี้ยงดูลูกได้เหมือนคุณแม่ปกติ คิดง่ายๆ ว่าถ้าแม่ป่วย 3 วันดี 4 วันไข้ หรือมีอาการหงุดหงิดฉุนเฉียวใส่ลูก ก็จะส่งผลต่อลูก หรือเกิดการเลียนแบบคุณแม่ได้ ดังนั้นหากแม่ป่วยที่รักลูกก็ต้องรักษาตัวเองให้เป็นปกติเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตความผิดปกติ หรือหาจุดตัดของปัญหา หรืออาการป่วยของตัวเองได้ และแก้ไขได้ ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เช่น คุณแม่เริ่มมีอาการเครียดง่าย ก็ต้องหาวิธีสร้างความผ่อนคลายโดยการคิดบวก, หากิจกรรมทำ เป็นต้นว่าออกกำลังกาย หรือไปเที่ยวร่วมกับครอบครัว หรือเกิดภาวะเครียดจากการที่หายใจแรง ก็อาจต้องผ่อนลมหายใจให้ช้าลง ขณะเดียวกันให้ตั้งสติ และรีบบอกญาติให้พามาโรงพยาบาลค่ะ หรือจะใช้การฝึกสมาธิและสวดมนต์ก็สามารถทำได้เช่นกัน ถ้าเรื่องไหนที่ทำให้เราสบายใจ สร้างความผ่อนคลายได้ ก็ให้รีบทำ”
    แม้ที่ผ่านมาจะมีผู้ป่วยโรคจิตเวชตั้งครรภ์เข้ารับการรักษาที่ค่อนข้างน้อย ทว่าก็พบปัญหาหลักๆ คือ นอกจากเรื่องสุขภาพ โดยคุณแม่อาจมีโรคประจำตัว อาทิ โรคเบาหวาน และโรคความดัน ตลอดจนโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องดูแลร่วมด้วย ขณะมีบุตรแล้ว การดูแลและเลี้ยงดูหลังคลอดก็เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย กระทั่งบางรายปฏิเสธไม่มีบุตรต่อ พี่ทวีรัตน์ บอกให้ฟังถึงคำแนะนำดังกล่าวไปยังผู้ป่วย ตลอดจนญาติที่ดูแลไว้น่าสนใจ 
    “ที่ผ่านมาในรอบหลายปีมีคุณแม่ป่วยจิตเวชที่พบว่าไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์กับใคร ที่สำคัญพ่อแม่หรือญาติที่พามารักษาก็ไม่รู้ว่าลูกตั้งครรภ์ ประกอบกับบางครั้ง ตัวผู้ป่วยหญิงเองก็ปฏิเสธที่จะมีบุตร เพราะอาจจะส่งผลต่อการเลี้ยงดูลูกหลังคลอด เนื่องจากมีฐานะยากจน ในส่วนนี้เราจะไม่ตัดสินใจให้เขา แต่จะทำหน้าที่เป็นผู้คอยรับฟัง และ แนะนำให้เขาทิ้งเวลาไว้สักพัก โดยอย่าเพิ่งรีบตัดสินใจ เพราะอาจจะทำให้ความคิดเปลี่ยน ขณะเดียวกันก็จะบอกให้พ่อแม่พาลูกที่ป่วยซึ่งมีอาการดีขึ้นไปทำบุญที่สถานสงเคราะห์เด็ก ตรงนั้นจะทำให้เขาเปลี่ยนมุมมองและอยากเลี้ยงลูกต่อไป”
    ส่วนแนวโน้มของผู้ป่วยจิตเวชตั้งครรภ์ในอนาคตมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากคนมีความรู้มากขึ้น อีกทั้งญาติผู้ป่วยก็มักจะไม่สนับสนุนเรื่องการมีบุตร ส่วนนี้ในฐานะพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย เราก็จะให้คำแนะนำโดยการชี้ให้เห็นถึงผลดี-ผลเสียของการตั้งครรภ์ขณะป่วย เพื่อให้คุณแม่และครอบครัวเป็นผู้ตัดสินใจร่วมกันเอง
    “ที่ผ่านมามีคนไข้อาการดีขึ้น และมาปรึกษาเราเรื่องการมีบุตร ทางทีมพยาบาลของเราก็จะให้คำแนะนำในเชิงว่า ถ้ามีลูกต้องคิดให้รอบคอบ ต้องหมั่นดูแลตัวเองสม่ำเสมอ และอย่างที่บอกไปว่า ผู้ป่วยจิตเวชสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ ดังนั้นถ้าเราเป็นแม่และเห็นลูกป่วยเหมือนตัวเองก็คงรู้สึกไม่ดี จึงจำเป็นต้องให้ครอบครัวมีส่วนตัดสินใจร่วมกันเอง แต่ถ้ารายไหนที่ตั้งครรภ์แล้ว เราก็จะแนะนำให้ทิ้งเวลาไว้ เพื่อเปลี่ยนความคิดในการเอาเด็กไว้ค่ะ อย่างที่บอกข้างต้นค่ะ”

(กันตรัตน์ เชาว์ทัศน์)

    ด้าน กันตรัตน์ เชาว์ทัศน์ พยาบาลวิสัญญี ศูนย์บำบัดรักษาด้วยไฟฟ้า รพ.ศรีธัญญา กล่าวเสริมว่า “จากประสบการณ์ที่ทำงานด้านการรักษาผู้ป่วยจิตเวชมา 18 ปี มองว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ ถ้ากินยาปกติก็แทบแยกไม่ออกว่าเขาเป็นผู้ป่วย ดังนั้นเขาสามารถเลี้ยงดูลูกได้ค่ะ แต่ถ้าหากขาดยา เขาก็จะเป็นใครก็ไม่รู้ เพราะเราไม่สามารถไปควบคุมสมองได้ ดังนั้นที่เขาทำจึงไม่ใช่ตัวตนของเขา แต่เป็นความผิดปกติของสารในสมอง ดังนั้นถ้ารู้ตัวว่าจะท้อง หรืออยากมีลูก ก็ต้องวางแผนการดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ที่สำคัญญาติเองก็ต้องดูแลให้คนไข้กินยา เพราะเมื่อใดที่เขาปกติ เขาก็จะดูแลตัวเองและลูกได้ค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"