สื่อออนไลน์ตอบโจทย์ได้แค่ไหน


เพิ่มเพื่อน    


    ยุคของการตลาด 4.0 ทำให้แบรนด์ต่างๆ ต้องพ่วงนวัตกรรมทางความคิดหรือไอเดียใหม่ๆ มากยิ่งขึ้น เพราะความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้บริโภค ทางเลือกที่หลากหลาย แต่เป็นคู่แข่งของผู้ประกอบที่ต้องหาวิธีหรือแนวทางที่ทำให้การตลาดของตนเองเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แน่นอนว่าใครๆ ต่างก็เทงบและให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์กันอย่างหนัก เพราะเชื่อว่าสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ตรงจุด เข้ากับยุคสมัยในช่วงนี้ แต่ก็เกิดคำถามที่ว่า “แพลตฟอร์มออนไลน์เพียงอย่างเดียว สามารถตอบโจทย์แคมเปญโฆษณาของนักสื่อสารการตลาดได้จริงหรือ”
    สำหรับในเรื่องนี้ “ภวัต เรืองเดชวรชัย” ผู้อำนวยการธุรกิจ-สายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI ได้ให้ข้อมูลว่า งบสื่อสารทางการตลาดและโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เติบโตสองหลักต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3-4 ปีนี้ ที่โลกธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนต่างก็ถูก Digital Disruption เข้ามาท้าทายให้ต้องปรับตัว นักการตลาดและนักสื่อสารทางการตลาดยังต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ แม้จะปรับตัวกันไปบ้างแล้ว งบสื่อสารทางการตลาดที่ทุ่มให้กัแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ นับวันอาจจะไม่ได้นำมาซึ่งประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่น่าพอใจ โดยมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน 
    ปัจจัยหลักๆที่ทำให้นักการตลาดให้ความใส่ใจมากขึ้นๆ ในเรื่องประสิทธิภาพและผลลัพธ์ทางการตลาดของแพลตฟอร์มออนไลน์ มาจากเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง ดาวรุ่งพุ่งแรงอย่างสื่อออนไลน์ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็วในทศวรรษนี้ เพราะเอื้อให้ธุรกิจทุกขนาด ทุกประเภท สามารถเข้าถึงและใช้สื่อนี้เป็นช่องทางการสื่อสารทางการตลาด แต่ในขณะเดียวกันก็นำไปสู่ความยากขึ้นในการสร้างความโดดเด่น หรือเป็นที่น่าสนใจ และจดจำต่อกลุ่มเป้าหมาย 
    ขณะเดียวกัน การให้ความสำคัญกับตัวเลข และข้อมูลทางเทคนิคของแพลตฟอร์มออนไลน์มากจนเกินไป จนบางครั้งอาจละเลยหรือลืมที่จะให้ความสำคัญเรื่องคอนเทนต์และพฤติกรรมเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมายในการเสพแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งมีความแตกต่างจากการเสพสื่อออฟไลน์ประเภทอื่นๆ เช่น ข้อมูลจากการวัดผล Reach & Frequency & View ของแพลตฟอร์มออนไลน์ อาจไม่สะท้อนประสิทธิภาพจริงหรือการันตีว่าการสื่อสารได้ไปถึงยังกลุ่มเป้าหมายตามที่ต้องการ
    ภวัตกล่าวอีกกว่า ยังมีปัจจัยเรื่องความเข้าใจเชิงลึกถึงไลฟ์สไตล์ และแนวทางของผู้บริโภคก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ ซึ่งแตกต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าหรือธุรกิจอาจจะเป็นคำตอบที่ดีกว่าในการวางแผนส่วนผสมของสื่อ (Media Mix) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ทางการตลาดที่สูงที่สุด ภายใต้ความเชื่อที่ว่าแต่ละสื่อมีรูปแบบ และหน้าที่ของมันชัดเจน สามารถตอบโจทย์การสื่อสารการตลาดได้แตกต่างกัน
    ในระยะ 1-2 ปีนี้ จึงได้ยินชื่อของ “Omni Channel” ที่หัวใจคือการผสมผสานช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ออฟไลน์และ ณ จุดขาย หรือ Point of Sale เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างชาญฉลาดและไร้รอยต่อในยุค Digital Disruption นั่นเอง
    ส่วน “ปณต กาญจนศูนย์” หัวหน้าแผนกการตลาดและดิจิทัลโซลูชั่น กลุ่มบริษัทจีเอเบิล กล่าวว่า การก้าวเข้าสู่ยุค “Technology Disruption” หรือในยุคที่เทคโนโลยีใหม่ๆ หลั่งไหลเข้ามามีบทบาทต่อไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คน ทุกธุรกิจ ทุกอุตสาหกรรม ล้วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะแวดวงของนักการตลาดไทย ไอเดียและความคิดสร้างสรรค์เป็นหัวใจสำคัญของการเอาชนะใจผู้บริโภค บวกกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างแต้มต่อมัดใจผู้บริโภคในยุค 4.0 โดยมีการนำดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้กับมาร์เก็ตติ้ง เรียกได้ว่า การตลาดแห่งยุคอนาคตกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล แต่ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ได้สร้างประโยชน์ ช่วยการทำการตลาดในปัจจุบัน 3 ประการ คือ Measurable, Automation และ Scalable อีกด้วย
    โดยในมุมของนักการตลาดทำให้จ่ายเงินในราคาที่ถูกลง ในมุมของผู้บริโภคได้รับประสบการณ์และความพึงพอใจที่ดีขึ้น แม้ว่าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หลักการในการทำการตลาดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะหัวใจสำคัญของการตลาดยังคงเป็น “ผู้บริโภคและแบรนด์” แต่สิ่งที่นักการตลาดรุ่นใหม่ต้องปรับตัวให้ทัน คือการเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะกับสถานการณ์ และต้องปรับตัวให้ทัน เพราะเทคโนโลยีไม่ใช่อุปสรรคต่อนักการตลาด แต่จะเป็นโอกาสและเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของนักการตลาดแห่งอนาคต.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"