เรียนอาชีวะไม่ตกงาน


เพิ่มเพื่อน    

    จากการที่รัฐบาลไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ จึงกำหนดการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศ โดยมีการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มารองรับการลงทุนดังกล่าว    
    และเมื่อ พ.ร.บ.อีอีซี พ.ศ.2561 ที่มีผลบังคับใช้ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ยังทำให้ความเชื่อมั่นต่ออีอีซีมีมากขึ้น มีนักลงทุนทั้งจีน ญี่ปุ่น ฯลฯ เดินทางมาดูพื้นที่เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อเนื่อง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ปัญหาแรงงานในพื้นที่ 3 จังหวัดอีอีซี ที่มีความต้องการด้านแรงงานเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตฯ ยานยนต์แห่งอนาคต, อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง, การแปรรูปอาหาร, และการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อุตฯ หุ่นยนต์สำหรับภาคอุตสาหกรรมและการใช้งานในชีวิตประจำวัน, การบินแบบครบวงจร, การแพทย์และการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร, ไบโออีโคโนมี โดยเฉพาะพลังงานและเคมีชีวภาพและเทคโนโลยีดิจิทัล
    โดยได้คาดการณ์ว่าจะขาดแคลนแรงงาน โดยเฉพาะด้านอาชีวะจะมีถึง 50,000 คน ในสาขาแห่งอนาคต อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ พยาบาลแผนใหม่ อุตสาหกรรมอวกาศ เป็นต้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้มีการหารือกับภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะแสวงหาแนวทางร่วมกันพัฒนาแรงงานให้ตรงกับความต้องการในพื้นที่อีอีซี
    ล่าสุด สกพอ.และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ บริษัท เพียร์สัน ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจด้านการศึกษาชั้นนำของโลก จะเข้ามาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในการรองรับการพัฒนา 10 อุตสาหกรรม ในพื้นที่อีอีซี
    งานนี้ นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ลกพอ.) ออกมาระบุว่า เป็นก้าวแรกของความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ เพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยการจัดหานักเรียนที่มีทักษะเฉพาะด้าน ทั้งด้านเทคนิค เทคโนโลยี ที่มีขีดความสามารถการพัฒนาที่ตรงกับ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
    ดังนั้นการร่วมมือในครั้งนี้ยังถือเป็นยกระดับภาคการศึกษาและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้มีการเติบโตอย่างเข้มแข็ง เพราะบริษัทเพียร์สันเองก็ถือว่าเป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันให้กับสหภาพยุโรป จากการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อเป็นโมเดล และนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาบุคลากร โดยร่วมกัน 4 ส่วน ได้แก่ รัฐบาลเพียร์สัน ภาคอุตสาหกรรมและนักเรียนให้สอดรับกัน ซึ่งโมเดลดังกล่าวประสบความสำเร็จในสหราชอาณาจักร ทำให้พัฒนากำลังคนในประเทศด้านต่างๆ ดังนั้นโมเดลดังกล่าวจึงนำมาเป็นต้นแบบเพื่อพัฒนากำลังคนที่มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นให้กับอีอีซีเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยให้เป็นไปตามเป้าหมายต่อไปในอนาคต           
    อย่างไรก็ตาม คงต้องยอมรับกันว่า ในปัจจุบันเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่าแรงงานของไทยจำนวนมากในแต่ละปีที่จบการศึกษามานั้น ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นแรงงานที่ไม่ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมนัก ซึ่งเอกชนต่างก็สะท้อนภาพชัดเจนว่าภาคการผลิตต่างต้องการแรงงานในระดับอาชีวศึกษา หรือสายอาชีพค่อนข้างสูง ดังนั้นความร่วมมือครั้งนี้จึงเป็นการส่งสัญญาณให้ทุกฝ่ายได้เห็นถึงทิศทางความต้องการแรงงานในอีอีซีได้เป็นอย่างดี
    และสิ่งสำคัญอยู่ที่ภาคประชาชนที่จำเป็นต้องปรับทัศนคติใหม่ต่อการศึกษาระดับอาชีวะ เพื่อส่งเสริมให้ลูกหลานเรียนจบแล้วมีตลาดแรงงานรองรับที่มั่นคง และนี่คือภารกิจที่ต้องปรับเข้าหากันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมขับเคลื่อนอนาคตของชาติและอนาคตของการลงทุนไทย.

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"