ระบุปืนใหญ่โบราณ ที่ขุดพบที่สนามหลวง เป็นของยุคสงครามเก้าทัพ


เพิ่มเพื่อน    

26ส.ค.61-นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) เปิดเผยว่าได้รับรายงานความคืบหน้าจากนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมาได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครและเจ้าหน้าที่ เข้าไปตรวจสอบปืนใหญ่ เนื่องจากได้รับแจ้งว่าผู้รับจ้างเหมางานขุดวางท่อระบายน้ำและปรับปรุงภูมิทัศน์ ของสำนักโยธากรุงเทพมหานคร ได้ขุดพบปืนใหญ่ จำนวน 1 กระบอกบริเวณสนามหญ้าในสนามหลวงใกล้ถนนทางเข้าสนามหลวงฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นายวีระ  กล่าวว่า ได้รับรายงานว่าปืนที่ขุดพบครั้งนี้เป็นปืนใหญ่แบบโบราณ หรือปืนใหญ่วังหน้าที่สมบูรณ์ ขนาดกลาง ยาว 305 ซม. เส้นผ่าศูนย์ปากกระบอก 40 ซม. ปากลำกล้อง 22ซม. เป็นปืนใหญ่แบบบรรจุดินปืนและลูกกระสุนเหล็กเข้าทางปากกระบอก ส่วนก้นปืนตัน มีรางสายชนวนด้านล่างสำหรับจุดไฟสายชนวนให้วิ่งไปจุดระเบิดดินปืนที่บรรจุไว้ เป็นแรงส่งยิงลูกปืนเหล็กออกทางปากกระบอก ส่วนกลางกระบอกมีแขนหรือปุ่ม 2 ข้าง สำหรับวางแขวนบนแท่น หรือรถปืน ในการตั้งยิง ด้านล่างมีหูร้อยเชือกในการย้าย เคลื่อนที่ไปในกองทัพสงครามโบราณ รูปแบบปืนใหญ่นี้เป็นปืนใหญ่แบบโบราณที่นำออกใช้ในการสงครามโบราณครั้งต่างๆ เช่น สงครามเก้าทัพ โดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท วังหน้าในรัชกาลที่ 1 เป็นต้น


สำหรับปืนใหญ่ในรูปแบบดังกล่าวนี้ ไม่ใช่การขุดพบครั้งนี้เป็นครั้งแรก เคยพบมาก่อนในการขุดวางระบบต่างๆ ในพื้นที่สนามหลวงส่วนที่เคยเป็นพื้นที่ของพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้ามาก่อน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ไปจนกึงสมัยกลางรัชกาลที่ 5 ซึ่งบางส่วนเก็บรักษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑ์ด้านการทหารของกระทรวงกลาโหม 

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปืนใหญ่ที่ขุดพบได้นำกลบดินรักษาความปลอดภัยไว้ในบริเวณพื้นขอบแนวหลุมวางท่อระบายน้ำดังกล่าวในพื้นที่สนามหลวง เนื่องจากพื้นที่สนามหลวงในกำกับของสำนักพระราชวัง ภายใต้การดูแลรักษาความปลอดภัยของสำนักโยธา กรุงเทพมหานครและ สถานีตำรวจชนะสงคราม โดยหลังจากนี้ ได้รับรายงานจากนายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากรว่า กรมศิลปากรจะขอพระบรมราชานุญาตนำปืนใหญ่มาเก็บรักษาในฐานะโบราณวัตถุต่อไป

สำหรับ สงครามเก้าทัพ เป็นสงครามระหว่างอาณาจักรพม่ากับราชอาณาจักรไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานีแห่งใหม่ เวลานั้นบ้านเมืองอยู่ในช่วงผ่านศึกสงครามมาใหม่ ๆ ประจวบทั้งการสร้างบ้านแปลงเมือง รวมทั้งปราสาทราชวังต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2328 พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่า หลังจากบรมราชาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์อังวะแล้ว ทำสงครามรวบรวมเมืองเล็กเมืองน้อยรวมถึงเมืองประเทศราชให้เป็นปึกแผ่น แล้วก็ได้ยกกองกำลังเข้ามา โดยมีจุดประสงค์ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์ โดยยกกองทัพจำนวน144,000 นาย แบ่งเป็น 9ทัพมาตีกรุงรัตนโกสินทร์ ใน5ทิศทาง แต่ด้วยพระราชกุศโลบาย ของร.1. พร้อมกับทหารที่เคยร่วมรบสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2 ทำให้สามารถสกัดทัพพม่าให้ล่าถอยกลับไปได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"