พอช.จัดอบรมหลักสูตร ‘การสื่อสารสาธารณะ’ ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน ตั้งเป้าเสนอเรื่องราวชุมชนสู่สาธารณะเพื่อสร้างพลังเปลี่ยนแปลงสังคม


เพิ่มเพื่อน    

เชียงใหม่/  พอช.จับมือไทยพีบีเอสและภาคีเครือข่ายจัดอบรมหลักสูตร การสื่อสารสาธารณะ ให้ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศ  ฝึกการเล่าเรื่อง การถ่ายทำคลิป VDO. และตัดต่อด้วยโทรศัพท์มือถือ นำเรื่องราวจากชุมชนมาถ่ายทอดสู่สื่อสาธารณะ  เป้าหมายเพื่อใช้พลังการสื่อสารจากชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 

ระหว่างวันที่ 2-5 กันยายน  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส  คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)  และคณะทำงานพัฒนาคนในขบวนองค์กรชุมชน  จัดอบรมการพัฒนาศักยภาพคนในขบวนองค์กรชุมชน หลักสูตร การสื่อสารสาธารณะ ขึ้นที่ฮอไรซันวิลเลจแอนด์รีสอร์ท  อ.ดอยสะเก็ด  จ.เชียงใหม่  โดยมีผู้แทนขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมประมาณ 70 คน  เป้าหมายเพื่อใช้พลังการสื่อสารจากชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

นายธีรพล  สุวรรณรุ่งเรือง   รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวว่า   พอช.ได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ด้านการพัฒนาศักยภาพคนในขบวนองค์กรชุมชนและองค์กรชุมชน  โดยมีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถของคนทำงานในขบวนองค์กรชุมชนและผู้นำชุมชนท้องถิ่นใน 5 ปี  จำนวน 15,000 คน  โดยมุ่งหวังให้คนในขบวนองค์กรชุมชนและองค์กรชุมชน  มีความรู้ความสามารถ  มีคุณธรรม  จริยธรรมตามหลักธรรมาภิบาล    เท่าทันการเปลี่ยนแปลง   และเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับองค์กรและชุมชนท้องถิ่น  ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมา  มีผู้นำที่ได้รับการพัฒนาในเนื้อหาและกระบวนการต่างๆ จำนวน  3,842 คน  และในปี 2561 (ถึงเดือนพฤษภาคม 2561) จำนวน 2,056 คน  โดยมีหลักสูตรต่างๆ  7 หลักสูตร  เช่น  หลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยพลังองค์กรชุมชน, การขับเคลื่อนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ, การพัฒนาและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ  ฯลฯ

“สำหรับหลักสูตรการสื่อสารสาธารณะนั้น  พอช.เห็นความสำคัญว่า  การสื่อสารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์  ซึ่งคนในขบวนองค์กรชุมชนและคนทำงานพัฒนาในพื้นที่จะต้องเรียนรู้  เพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของระบบการสื่อสารที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว  และมีความรู้ความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน  เพื่อนำไปสนับสนุนการทำงานในพื้นที่ให้บรรลุเป้าหมาย   รวมทั้งใช้พลังการสื่อสารเป็นเครื่องมือสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายได้”  รอง ผอ.พอช.กล่าว

นายชัชวาลย์  ทองดีเลิศ  คณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวว่า  ในอดีตชุมชนต่างๆ เคยมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์  อยู่กันแบบพอเพียง  พึ่งตนเองได้   แต่ชุมชนในปัจจุบันมีความอ่อนแอ  ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบมาจากการพัฒนาแบบสมัยใหม่  แบบบนลงล่าง (top-down)  โดยมีรัฐและนายทุนเป็นฝ่ายกำหนดการพัฒนา

ซึ่งหากชุมชนจะเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาจากล่างขึ้นบน  แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ยาก  แต่ไม่ควรท้อ  และต้องดำเนินการดังนี้

1.จะต้องเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาใหม่    จากเดิมคือบนลงล่าง  เป็นจากล่างขึ้นบน (bottom-up)  หรือ “ชุมชนจัดการตนเอง”  คือกระบวนการจัดการตนเองของชุมชน  เปลี่ยนเป็นเชิงรุก  เอาชุมชนเป็นศูนย์กลาง  เริ่มจากปัญหาและความต้องการของชุมชน   เริ่มจากแผนพัฒนาของชุมชน  2.จะผ่าโครงสร้างได้อย่างไร  แต่ละพื้นที่เริ่มมีพื้นที่รูปธรรม  เริ่มมีสภาองค์กรชุมชนที่ชุมชนเริ่มหารือร่วมกัน  มีแผนชุมชน  แผนตำบล  ทำเป็นแผนยุทธศาสตร์จังหวัด  นำแผนชุมชนไปอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 

และ 3.สื่อ  ซึ่งเดิมอยู่ในมือของรัฐและนายทุน  สื่อแนวคิดการพัฒนาของรัฐและทุนมาตลอด  ต่อไปสื่อจะเผยแพร่แนวคิดของชุมชนได้หรือไม่ ?  และจะต้องสื่อสารอะไรบ้าง  จะเสนอปัญหาความต้องการ  เสนอแนวคิดการพัฒนา เสนอองค์ความรู้ภูมิปัญญาของชุมชน  เสนอข้อมูลรูปธรรมความสำเร็จในการแก้ปัญหา เช่น รูปธรรมการจัดสวัสดิการตั้งแต่เกิดจนตาย  รูปธรรมการจัดการป่า  ซึ่งนักสื่อสารชุมชนต้องทำบทบาทนี้

นายชัชวาลกล่าวด้วยว่า  การทำงานจากล่างขึ้นบน  ควรเริ่มจาก 1. พื้นที่รูปธรรม  เป็นพื้นที่เป็นตัวอย่าง  เพื่อให้คนมาเรียนรู้   มีความสำเร็จที่เด่นชัด แก้ปัญหาได้  2. พื้นที่ทางสังคม   โดยเสนอปัญหาความต้องการ  รูปธรรมความสำเร็จให้กับสังคมได้รับรู้   จากเดิมพื้นที่ทางสังคมที่ทำจากบนลงล่าง  จะมองชาวบ้านว่า “โง่  จน  เจ็บ”  จึงต้องเปลี่ยนเป็นชาวบ้านมีศักยภาพ  ชุมชนมีพลัง  มีองค์ความรู้  แก้ปัญหาได้  และมีความยั่งยืน  

“ฉะนั้นพื้นที่ทางสังคมต้องมีตัวอย่างความสำเร็จ  นัยยะพื้นที่ทางสังคมที่ประสบความสำเร็จ  ต้องถูกถอดความรู้ และสร้างการรับรู้ต่อสังคม  ซึ่งในที่สุดจะไปเปลี่ยนกระแสสังคมให้เข้าใจการพัฒนาแนวใหม่   ให้กระแสสังคมเข้าใจเรื่องชุมชนจัดการตนเอง  หากคนในสังคมเข้าใจมากขึ้น   ซึ่งอาจหมายถึงนักวิชาการ  กลุ่มต่างๆ เริ่มรับรู้มากขึ้น  การสนับสนุนจากสังคมจะเกิดขึ้น”  นายชัชวาลย์ยกตัวอย่าง

นายชัชวาลกล่าวในตอนท้ายว่า  หากชุมชนสื่อสารพื้นที่รูปธรรม และสังคมรับรู้มากขึ้น  จนกระทั่งเกิดกระแสของสาธารณะ  และทำให้สังคมมีความเข้าใจชุมชน  ซึ่งจะไปช่วยผลักดันพื้นที่ที่ 3 คือ พื้นที่นโยบาย  โดยกลุ่มต่างๆ ในสังคมจะไปช่วยสนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมชุมชนมากขึ้น  และมีแผนที่สอดคล้องกับชุมชนมากขึ้น รวมถึงการออกกฎหมายที่สอดคล้องกับชุมชนมากขึ้นด้วย 

สำหรับการอบรมการพัฒนาศักยภาพคนในขบวนองค์กรชุมชน หลักสูตร การสื่อสารสาธารณะ  ครั้งนี้  มีหัวข้อการอบรมที่สำคัญ  เช่น  ‘พลังการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง’ โดย ผศ.ประสาท  มีแต้ม  นักวิชาการอิสระด้านสังคมและพลังงาน  การอบรมเชิงปฏิบัติการโดยวิทยากรจากไทยพีบีเอส  เช่น  การเรียนรู้พลังของเรื่องเล่า  การพัฒนาโครงเรื่องให้น่าสนใจ  การเสนอโครงเรื่อง   เทคนิคการถ่ายภาพ  การทำแบนเนอร์  การถ่ายคลิป VDO. ด้วยมือถือ  การตัดต่อเพื่อเล่าเรื่องอย่างง่ายๆ  และนำผลงานมานำเสนอ ฯลฯ  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ที่ได้กลับไปฝึกฝนเพื่อถ่ายถอดเรื่องราวจากชุมชนของตนเอง  และนำผลงานสื่อสารสู่สาธารณะ  เช่น  Youtube  facebook  หรือช่องทางสื่อสารของไทยพีบีเอสได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"