ยกระดับ“อีอีซี” ผ่านเน็ตเวิร์คอุตสาหกรรม (สถานีอีอีซี)


เพิ่มเพื่อน    

สถานีอีอีซี

ยกระดับ“อีอีซี”ผ่านเน็ตเวิร์คอุตสาหกรรม

หลังจากภาครัฐพยายามผลักดันให้โครงพัฒนาพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีเกิดขึ้น ก็มีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ให้ความสนใจกันจำนวนมาก ในยามนี้ไม่ต้องบอกก็คงจะเป็นที่ทราบกันดีว่าเขตภาคตะวันออกเนื้อหอมมากขนาดไหน โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่ดินก็ปรับตัวสูงขึ้นรับกระแสข่าวของอีอีซีมาพักใหญ่แล้วเช่นเดียวกัน 
    

สำหรับ “บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด” หรือ BIG ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างผู้ถือหุ้นชาวไทย โดยบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ปัจจุบันมีสัดส่วนอยู่ 10% และบริษัท แอร์โปรดักส์ แอนด์ เคมิคอลส์ จำกัด บริษัทแม่ของบีไอจีจากประเทศสหรัฐอเมริกามีสัดส่วนการถือหุ้น 49% ที่เหลือเป็นพาร์ทเนอร์ของ BBL อีก 41% ซึ่งดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากว่า 30 ปี เป็นอีกหนึ่งผู้ประกอบการที่มีโรงงานทางแถบภาคตะวันออก ทั้งในจังหวัดระยองและชลบุรี กำลังจะเดินหน้าลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต รองรับความต้องการหรือดีมานด์ที่กำลังเติบโตเพิ่มขึ้น 

 


นายปิยบุตร จารุเพ็ญ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด หรือ BIG กล่าวว่า อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมก๊าซนั้น จะเป็นไปตามสถานการณ์ของอุตสาหกรรมของประเทศไทย เนื่องจากโรงงานการผลิตแทบทุกแห่งต้อใช้กันแทบหมด หากย้อนกลับไปจะพพบว่าที่ผ่านมาดัชนีอุตสาหกรรมติดลบมาตลอด แต่ในส่วนของบริษัทมีกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจ ที่ไม่ได้ผลิตเพียงเฉพาะตามความต้องการและปริมาณเท่านั้น แต่ยังได้มีการใช้นวัตกรรมเข้ามาเป็นตัวช่วยกับทุกอุตสาหกรรม อาทิ การนำเอาออกซิเจนเข้ามาใช้ประหยัดพลังงานกับการหลอมเหล็กหรือกระจก ส่งผลให้บริษัทเติบโตได้ 8 % นับว่าสวนทางกับภาพรวมอุตสาหกรรมที่ติดลบ 3-4% หรือเรียกว่าบีอีจีเติบโตกว่าสองเท่า 

ทั้งนี้ BIG เป็นผู้ให้บริการก๊าซอุตสาหกรรมพร้อมงานติดตั้งสถานี เพื่อจ่ายก๊าซเข้าในระบบการผลิตของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ปลอดภัย ได้มาตรฐานโลก มีผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการครอบคลุมก๊าซหลายชนิด อาทิ ออกซิเจน ไนโตรเจน อาร์กอน ไฮโดรเจน ฮีเลี่ยม คาร์บอนไดออกไซด์ อะเซทิลีน ก๊าซชนิดพิเศษ ก๊าซผสม รวมทั้งงานออกแบบทางวิศวกรรม และงานบริการด้านวิศวกรรม 

เทงบลงทุนมากสุดเป็นประวัติศาสตร์
 ในระว่างปี 2561-2563 มูลค่าการลงทุนของบีไอจีมีมากถึง 4,000 ล้านบาท หลังจากไม่ได้มีการลงทุนและใช้การผลิตเดิมมาตลอด โดยการลงทุนที่อยู่กำลังดำเนินการของปี 2561 ประกอบด้วยกัน 3 การราย คือ 1. จัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างบีไอจีกับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยบีไอจีถือหุ้น 51% อมตะถือหุ้น 49% เพื่อสร้างโรงงานผลิตไนโตรเจนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เฟสแรก มีลูกค้าเปฌรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่าง โพสโค ผู้ผลิตเหล็ก รวมถึงซูมิโตโม รับเบอร์ ที่ใช้ไนโตรเจนเยอะมาก จึงสนใจไปสร้างโรงงานการผลิต โดยใช้ระบบเดินท่อเช่นเดียวกับนิคมอุตสาหรรมมาบตาพุด คาว่าจะเปิดดำเนินงานช่วงเดือน ม.ค. 2562 ภายใต้เงินลงทุน 400 ล้านบาท และเฟสแรกจะมีกำลังการผลิต 5 หมื่นตันต่อปี 

2. สร้างโรงงานผลิตไฮเดรเจนที่มาบตาพุดแห่ง ภายใต้งบประมาณกว่า 600 ล้านบาท เริ่มดำเนินงานช่วงเดือน ม.ค. 2563 เพื่อผลิตไฮโดรเจนให้กับ PTTGC ซึ่งกำลังมีหลายโครงการที่ต้องใช้ไฮโดรเจนพอสมควร มีกำลังผลิต 1.5 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง   รวมถึงจะขยายต่อไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และ3. จัดตั้งโรงโรงแยกอากาศในนิคมอุตสาหรกรมติวาลาที่ประเทศเมียนมา ใช้งบลงทุนไป 500 ล้านบาท มีลูกค้าหลักเป็น JFE จะเป็นการส่งผ่านระบบท่อเช่นเดียวกัน เปิดดำเนินงานช่วงเดือน ม.ค. 2563 

ส่วนแผนงานการลงทุนในปี 2562 เตรียมขยายโรงแยกอากาศที่มาบตาพุด เนื่องจากจากอีอีซีที่รัฐบาลกำลังผลักดัน และหลายโครงการที่กำลังเข้ามาลงทุน ซึ่งทำให้บริษัทต้องรองรับการเติบโต จะใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านบาท น่าจะเปิดดำเนินงานได้ปลายปี 2563 สำหรับโรงงานแห่งนี้จะผลิตไนโตรเจน ออกซิเจน และอาร์กอน กำลังการผลิตน่าจะอยู่ที่ 4 แสนตันต่อปี   

**************************************************************************

นวัตกรรมยกระดับอุตสาหกรรมไทย
นายปิยบุตร กล่าวว่า นับเป็นเรื่องดีที่ภาครัฐกำลังขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 เนื่องในช่วงกว่า 30 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมของประเทศไทยเติบโตมาจากแมสโปรดักส์หรือทำมากได้น้อย ผลิตออกมาจำนวนมาก เพื่อทำให้ต้นทุนต่อหน่วยถูก ลักษณะของของสินค้าก็เหมือนกัน เน้นราคาถูก ขณะที่การผลิตปริมาณมากนั้น ไม่ได้ทำให้ผลกำไรมากขึ้นตามไปด้วย บางครั้งจะพบว่ากำไรเท่าเดิมหรือไม่ก็ลดลง หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เมืองไทยเองก็แทบไม่มีข้อได้เปรียบสักเท่าไหร่ ทั้งในเรื่องค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน การที่พยายามทำไทยแลนด์ 4.0 นั่นคือทำน้อยแล้วได้มาก ทำได้เป็นยูนิคโปรดักส์ และสร้างมูลค่าเพิ่ม แข่งเรื่องความแตกต่าง และคุณค่ามากกว่าราคาการผลิตจึงจำต้องมี Productivity โดยให้สินค้าของบริษัท เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของการผลิต รวมถึง Efficiency ของการช่วยลดการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม และทำให้การใช้ทรัพยากรของโรงงานอุตสาหกรรมยั่งยืน หรือเรียกว่า Sustainability ซึ่งมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

“การลงทุนจากดังกล่าวเป็นเม็ดเงินที่ค่อนข้างมาก แน่นอนว่าบริษัทลงทุนเพื่อรองรับอีอีซี รวมถึงการเติบโตของนวัตกรรมที่อุตสาหกรรมเมืองไทยกำลังมุ่งไปทางนั้น เนื่องจากที่ผ่านมาอุตสาหกรรมของไทยเดินไปสุดทางแล้ว หากไม่ปรับตัวก็ต้องย้ายฐานการผลิต แต่ทว่าการหนีไปใช่ว่าจะรอด บริษัทที่เป็นของคนไทย หากไม่ร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นเข้าไปยาก”  

เน็ตเวิร์คระหว่างผู้ประกอบการ
ปิยบุตร ได้กล่าวเสริมว่า   "ตอนนี้อีอีซียังขาดเรื่องความร่วมมือ เดิมกรอบความคิดของอุตสาหกรรมของประเทศไทย มองแค่ว่าต้องผลิตเยอะไว้ก่อน ไม่มองเป็นเน็ตเวิร์ค หรือเครือข่ายยึดตัวเองเป็นหลัก อย่างจะตั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตหุ่นยนต์ ต้องดูว่าใครจะใช้หุ่นยนตร์ ต้องมานั่งคุยกันว่าอุตสาหกรรมไหนจะได้อานิสงส์  หากผู้ประกอบการจะผลิตอะไร อีกบริษัทก็ไม่ได้ต้องมาผลิตเหมือนกัน หรืออุตสาหกรรมเดิมที่มีส่วนสำคัญอย่างอิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ จะเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นกันอย่างไร เมืองไทยยังขาดตรงนี้ "

ขณะเดียวกันก็มีความน่ากังวลมองว่าสามารถบริหารจัดการได้ โดยเฉพาะเรื่องน้ำและพลังงาน แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามให้มีการประกวดโครงการอนุรักษ์พลังงานมาบ้างแล้ว ซึ่งจริงๆ ต้องมานั่งคุยกันกันทั้งเชน ว่าใช้พลังงานเท่าไหร่ น้ำเท่าไหร่ จะทำให้ดีขึ้นด้วยวิธีไหนบ้าง อย่างน้ำใช้แล้วทิ้ง จะมีวิธีการกลับมารีไซเคิลได้อย่างไร หรือน้ำทิ้งเป็นศูนย์ ส่วนเรื่องของไฟฟ้าก็สำคัญ การมาของโซลาเซลล์ดีมาก แต่จะมีวิธีการจัดเก็บอย่างไกร เพื่อให้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ต่างชาติแห่ลงทุน

การเติบโตทางอุตสาหกรรมส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของนวัตกรรม จะเห็นได้ว่าดัชนีอุตสาหกรรมเติบโต 4% หรือกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง การใช้กำลังการผลิตเดิมที่มีอยู่ 60% กลับมาอยู่ 80% ขณะเดียวกันมีส่วนขยายของโครงการจากผู้ประกอบการ อย่างในมาบตาพุดก็มีการลงทุน หรือในเหมราชเองก็มีนักลงทุนสนใจเข้ามาเยอะ โดยนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาส่วนมากจะมาจากประเทศจีน แต่สิ่งสำคัญต้องคอยดูว่าจะอยู่ระยะยาวหรือไม่ ธุรกิจเราเองก็คงซัพพลายเป็นของเหลวที่ใช้รถขนส่งแทน 

ในอดีตเคยมีจีนมาลงทุนบางธุรกิจอย่างโซลาเซลล์ ก็มาเร็วไปเร็ว เนื่องจากการตั้งโรงงานของธุรกิจดังกล่าวทำได้ง่าย ตอนนี้การผลิตเมดอินไชน่าอาจมีปัญหาสำหรับการส่งออกไปยังบางตลาด หลายรายจึงเลือกมาผลิตในไทยดีกว่า ส่วนหนึ่งก็คงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากอเมริกา หากเป็นเหล็ก ปิโตรเคมี โรงกลั่น จะเป็นอุตสาหกรรมที่อยู่ระยะยาว การจะมองว่านักลงทุนจีนที่เข้ามาเป็นระยะยาวหรือไม่นั้น คงขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม อย่างระยะยาวจะเป็นอุตสาหกรรมยาง  หรือหากทำเพื่อการส่งออกจะย้ายฐานได้ง่าpเพราะดีมานด์ไมได้อยู่ไทย ต้องดูว่าซัพพลายเชนว่าส่งให้ใคร หรือเป็นเพียงแค่หาข้อได้เปรียบทางทรัพยากรด้านการผลิตแล้วไป แต่หากซัพพลายให้กับเมืองไทยในประเทศน่าจะอยู่ได้นานกว่า

นายปิยบุตร ยังกล่าวอีกว่า สมัยก่อนอุตสาหกรรมบ้านเรา อย่างในรถยนต์ ก็จะมีส่วนประกอบเป็นผู้ผลิตกระจก ยาง ล้อเหล็ก ถัง รถหนึ่งคันมีซัพพลายเชนเยอะ ซึ่งเขาก็ไปบอกซัพพลายเออร์ว่าทุกปีต้องลดต้นทุน 5% หรือ 10% หากทุกคนในพาร์ทของซัพพลายเชนลดราคาหมด สุดท้ายทุกอุสาหกรรมจะเหมือนกันหมด ค่าแรง ก๊าซธรมชาติ ไฟฟ้า เท่าเดิมไม่ได้ลด ซัพพลายเชนควรมาดูกันว่าการใช้พลังงานตั้งแต่ผลิต จนกระทั่งเป็นรถหนึ่งคัน สูญเสียพลังงานไปเท่าไหร่ ซึ่งจริงๆ แล้วเยอะมากที่เสียไป หากมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเติมเต็มจะดีกว่าไหม ที่จะทำให้ลดต้นทุนได้ ทำให้ประสิทธิภาพของทั้งอุตสหากรรมการผลิตดีขึ้น แต่ต้องเปลี่ยน Mindset ของอุตสาหกรรมก่อน 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"