ฟันเพิ่มเงินทอนวัด 6ราย/โกง3จว.ใต้ ปปง.คุ้ยทรัพย์สิน


เพิ่มเพื่อน    

    "ป.ป.ช." ฟันเพิ่มอดีต ผอ.ส่วนบูรณะพัฒนาวัด สำนักพุทธฯ กับพวกอีก 5 ราย ทุจริตเงินทอนวัด 3 จังหวัดภาคใต้ 12 ล้านบาท ชงหลักฐานให้ ปปง.-สตง.ตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินเชิงลึก พร้อมชง อสส.ดำเนินคดีอาญา-ผู้บังคับบัญชาฟันวินัย
    เมื่อวันที่ 13 กันยายน นายศรชัย ชูวิเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จ.สงขลา แถลงถึงผลงานของสำนักงาน ป.ป.ช.สงขลา ประจำปีงบประมาณ 2561 โดยมีเรื่องกล่าวหาร้องเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบ 165 เรื่อง อยู่ในขั้นตอนแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน 126 เรื่อง, ดำเนินการเสร็จแล้ว 45 เรื่อง, อยู่ระหว่างดำเนินการ 81 เรื่อง และอยู่ในขั้นตอนไต่สวนข้อเท็จจริงจำนวน 39 เรื่อง 
    สำหรับเรื่องที่น่าสนใจคือ กรณีกล่าวหา น.ส.ประนอม คงพิกุล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และนายเสถียร ดำรงคดีราษฎร์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนา จ.สงขลา กับพวกรวม 7 ราย ร่วมกันทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ในการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนแก่วัดชลธาราวาส จ.นราธิวาส, วัดยูปาราม จ.ยะลา และวัดสุริยาราม จ.สงขลา และเรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์จาก 3 วัดดังกล่าว แห่งละ 4 ล้านบาท 
    โดยกรณีนี้เมื่อเดือน ม.ค.2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช.เคยชี้มูลความผิดนางประนอม นายเสถียร และนายพนม ศรศิลป์ อดีต ผอ.พศ.ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ในสำนวนการไต่สวนของสำนักงาน ป.ป.ช.สงขลา มีเพิ่มในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาที่ถูกชี้มูลความผิด ได้แก่ นายวสวัตติ์ กิตติธีระสิทธิ์ อดีต ผอ.ส่วนบูรณะพัฒนาวัดและการศาสนสงเคราะห์ พศ. มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (4) ประกอบมาตรา 83 และตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 และประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
    นอกจากนี้ ยังมีนายประสงค์ จักรคำ ผิดวินัยร้ายแรง และความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (4) ประกอบมาตรา 83 และตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 และประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, นายพัฒนา สุอำนาตย์มนตรี และความผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และมาตรา 162 (4) ประกอบมาตรา 83 และตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123 ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ พ.ร.บ.ป.ป.ช. มาตรา 123/1 และประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ส่วนนางพรเพ็ญ กิตติธรางกูร, นายดำรงศักดิ์ เกตุแก้ว และนายจักรเวทย์ เดชบุญ มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง
    ทั้งนี้ ได้ส่งหลักฐานข้อมูลทางการเงินของผู้ถูกกล่าวหาและผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ให้สำนักที่รับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบตามอำนาจหน้าที่ต่อไป รวมทั้งแจ้งให้ พศ.ร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายกับเจ้าหน้าที่สำนักงาน พศ. ที่ให้ถ้อยคำเป็นเท็จต่อพนักงานสอบสวน และต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) โดยให้ออกเลขที่เรื่องกล่าวหา และดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามระเบียบในลักษณะเดียวกับตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน เป็นการตรวจสอบเชิงลึก และให้อยู่ในการกำกับดูแลของ น.ส.สุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. 
    นอกจากนี้ ให้สำนักงาน ป.ป.ช.สงขลา ส่งสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นไปยังสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) เพื่อดำเนินคดีอาญา และส่งไปยังผู้บังคับบัญชาเพื่อดำเนินการทางวินัยต่อไปแล้ว
    ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานสัมมนาทางวิชาการประจำปีของการประกาศ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2560 ประจำปี 2560 พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ราษฎร์-รัฐ ร่วมใจ สังคมไทยไร้ทุจริต” ตอนหนึ่งว่า มีหลักสำคัญ 5 หลักคือ 1.หลักสิทธิมนุษยชนที่จะได้รับรู้ 2.ประชาชนมีสิทธิที่จะรู้ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในการครอบครองของรัฐ 3.รัฐมีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาธารณะกับประชาชน หากไม่เปิดเผยจะถือว่าบกพร่อง 4.หลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีคือ นิติธรรม คุณธรรม หลักความโปร่งใส ความรับผิดชอบ หลักการมีส่วนร่วม และคุ้มทุน คุ้มค่า และ 5.การบริหารราชการ 4.0 หรือรัฐบาล 4.0 
    “นายกฯ สั่งทุกส่วนราชการเปิดเผยข้อมูลที่ตนเองมีอยู่ เช่น ข้อมูลผลงาน และข้อมูลที่เป็นความรู้ เป็นประโยชน์กับประชาชน โดยนำไปใส่ในแอปพลิเคชันไลน์  เพื่อให้ประชาชนสามารถกดดูจากโทรศัพท์มือถือได้ เพื่อเป็นประโยชน์และเป็นความรู้สำหรับประชาชน โดยที่ไม่ต้องเดินไปยังหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานไหนมีการเปิดเผยข้อมูลมาก เสนอข้อมูลเป็นประโยชน์ ให้ประกาศเกียรติคุณ เกียรติบัตรในอีก 2 เดือน ขณะเดียวกัน มีการสำรวจตรวจสอบหน่วยงานงบประมาณระดับโลก พบว่าประเทศไทยในเวลาที่ผ่านมามีการเปิดข้อมูลในด้านงบประมาณน้อยมาก โดยเฉพาะหน่วยงานต่างๆ เปิดเผยในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายน้อยมาก จึงควรเปิดเผยให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนรับรู้สามารถนำไปตรวจสอบเป็นประโยชน์ในการป้องกันการทุจริตด้วย”นายวิษณุกล่าว
    นายวิษณุกล่าวว่า เมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ทุกอย่างเปิดเผย จะปกปิด ลับลวงพราง จะซ่อนเร้นไม่ได้ ประชาชนได้ข้อมูลมาสามารถนำมาใช้ตรวจสอบรัฐบาล หน่วยงานรัฐ  หรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะเป็นมาตรการหนึ่งช่วยสกัดกั้นกลโกงทั้งหลายได้เป็นอย่างดี และนำไปสู่การต่อต้านการทุจริต คดโกง ฉะนั้นการที่บอกว่าจะต้องร่วมมือร่วมใจป้องกันการทุจริตมีหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีป้องกันคือกฎหมายข้อมูลข่าวสาร ที่รัฐและราษฎร์ร่วมมือกันในการที่จะต่อต้านการทุจริต ให้สังคมไทยไร้ทุจริต.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"