พาณิชย์แก้กม.ลิขสิทธิ์เพิ่มคุ้มครองละเมิดคอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ต


เพิ่มเพื่อน    

 

กรมทรัพย์สินทางปัญญา แก้พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์  ให้เจ้าของสิทธิ์ยื่น notice ให้ ISP ถอดงานละเมิดออกจากเว็บได้ทันที จากเดิมต้องร้องให้ศาลมีคำสั่งก่อน  พร้อมเพิ่มเอาผิดผู้ผลิต-ค้า อุปกรณ์ “แฮ็ก”  และเพิ่มอายุคุ้มครองภาพถ่ายให้ยาวนานขึ้น จ่อเข้าครม.เร็วๆ นี้

น.ส.นุสรา กาญจนกูล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมฯได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ (ฉบับที่) พ.ศ.... และเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเสร็จสิ้น ล่าสุดได้เสนอให้นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว คาดว่า ในเร็วๆ นี้ กระทรวงพาณิชย์ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบได้ ซึ่งการแก้ไขครั้งนี้ เพื่อทำให้การปกป้อง คุ้มครองการละเมิดบนอินเตอร์เน็ตมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีการแก้ไขใน 3 ประเด็นคือ ความรับผิดชอบผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) ในกระบวนการระงับการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ตแบบแจ้งเตือนและเอาออก (Notice and Takedown), การปรับปรุงบทบัญญัติมาตรการที่เกี่ยวกับละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WCT)

สำหรับ Notice and Takedown ได้แก้ไขให้หากเจ้าของสิทธิ์พบว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเองบนอินเตอร์เน็ตในประเทศ เช่น  มีการโหลดเพลง ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ มาโพสต์บนเว็บไซต์ต่างๆ ก็สามารถส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง  ISP เพื่อให้ถอดเนื้อหาที่ละเมิดออกจากเว็บไซต์ได้ทันที จากพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฉบับปัจจุบัน เจ้าของสิทธิ์ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ ISP ถอดเนื้อหาการละเมิดออก ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลานาน จนอาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ได้รับความเสียหายทางธุรกิจ ส่วนหากละเมิดบนเว็บไซต์ที่มีเซิร์ฟเวอร์ในต่างประเทศ ก็ต้องร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ปิดกั้นเว็บไซต์นั้น

”กฎหมายลิขสิทธิ์ปัจจุบัน กว่าจะถอดเนื้อหาละเมิดออกจากอินเตอร์เน็ตได้ ต้องใช้เวลานาน ไม่ทันกับการแก้ปัญหา กรมฯจึงแก้ไขใหม่ เพื่อให้การยับยั้งการละเมิดทำได้รวดเร็วมากขึ้น โดยหากเจ้าของสิทธิ์พบว่างานตนเองถูกละเมิดบนอินเตอร์เน็ต ก็ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยัง ISP โดยระบุว่า ตนคือใคร เป็นเจ้าของงานอะไร พบการละเมิดที่ใด เมื่อ ISP เชื่อตามนั้นก็ต้องถอดออกทันที จากนั้น ISP ต้องแจ้งไปยังคนที่เอางานชิ้นนั้นขึ้นเว็บว่ามีผู้แจ้งเป็นเจ้าของสิทธิ์ตัวจริง แล้วให้ถอดงานชิ้นนั้นออก ถ้าคนเอางานขึ้นเว็บเป็นโจรจริง คงไม่มีอะไรโต้แย้ง”

แต่หากคนที่เอางานขึ้นเว็บยืนยันว่า ตนเองก็เป็นเจ้าของสิทธิ์เหมือนกันก็สามารถโต้แย้งกลับไปยัง  ISP เพื่อให้ ISP เอางานชิ้นนั้นกลับขึ้นมาบนเว็บไซต์ได้ โดย ISP ก็ต้องแจ้งไปที่คนที่ยื่น notice จากนั้นก็ต้องพิสูจน์กันในศาล หากคนยื่น notice ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเจ้าของตัวจริง ISP ก็จะเอางานที่ถูกกล่าวหาละเมิด กลับขึ้นมาอยู่บนเว็บไซต์เช่นเดิม

ส่วนประเด็นการปรับปรุงบทบัญญัติมาตรการที่เกี่ยวกับละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยีนั้น กำหนดว่า บุคคลใดผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า จัดหา นำเข้า หรือการค้าโดยวิธีอื่นใด ซึ่งอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการแฮ็กบนอินเตอร์เน็ต เช่น กล่องปลดล็อครหัสเข้าอินเตอร์เน็ต ให้ถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี จากกฎหมายปัจจุบัน ยังไม่ครอบคลุมถึงผู้ผลิต และผู้ขายอุปกรณ์เหล่านี้

ขณะที่การเข้าเป็นสมาชิก WCT นั้น กรมฯอยู่ระหว่างการสมัครเข้าเป็นสมาชิกดังกล่าว แต่กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยบางประเด็นยังไม่สอดคล้องกับสนธิสัญญานี้ จึงต้องแก้ไขให้สอดคล้องกัน โดยได้ขยายระยะเวลาการคุ้มคอรงงานภาพถ่าย จากกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยปัจจุบัน คุ้มครอง 50 ปีหลังจากสร้างสรรค์ แต่จะขยายเป็นคุ้มครองตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และเพิ่มอีก 50 ปีหลังจากเสียชีวิตตาม WCT ซึ่งจะทำให้การคุ้มครองต่อเนื่อง และยาวนานมากขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"