เลขาศาลฯเปิดโรดแมปลงมติถอดถอน “ชำนาญ” เผยจัดส่งบัตรลงคะแนนทางไปรษณีย์ นับผล 26 ต.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    


18 ก.ย.61-   นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีกลุ่มผู้พิพากษาเข้าชื่อเพื่อขอถอดถอนนายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ ประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกาและกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ (ก.ต.) ในศาลฎีกา พ้นจากตำแหน่ง ก.ต. ว่า เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ครบกำหนดให้ที่จะให้ผู้พิพากษาคัดค้านหรือถอนรายชื่อที่ยื่น โดยมีผู้พิพากษาขอถอนรายชื่อ 1 ราย จึงเหลือรายชื่อผู้พิพากษาทั้งหมด 1,734 ราย จากเดิมที่ยื่นไว้ 1,735 ราย จำนวนที่เหลืออยู่ครบเกณฑ์ 1 ใน 5 ของผู้พิพากษาทั่วประเทศ 4,493 ราย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 42, 43 ประกอบระเบียบ ก.ต.ว่าด้วยการเข้าชื่อและการลงมติถอดถอนฯ ข้อ 5 แล้ว

นายสราวุธ ชี้แจงขั้นตอนต่อไปว่า สำนักงานศาลฯ จะส่งเรื่องให้นายชำนาญ ผู้ถูกยื่นถอดถอนทำคำชี้แจงภายใน 7 วันนับจากวันนี้ (18 ก.ย.) ให้ส่งคำชี้แจงภายในวันที่ 25 ก.ย.นี้ แล้วปิดประกาศคำชี้แจงที่ศาลทั่วประเทศไว้เป็นเวลา 7 วัน ระหว่างนี้ทางสำนักงานศาลฯ จะทยอยจัดส่งบัตรลงคะแนนการถอดถอนทางไปรษณีย์ให้ผู้พิพากษาทั่วประเทศจำนวน 4,493 ราย เพื่อลงมติ แล้วให้ส่งบัตรกลับมายังสำนักงานศาลฯ ภายในวันที่ 25 ต.ค.นี้ เวลา 16.30 น. และจะเริ่มดำเนินการนับคะแนนตั้งแต่วันที่ 26 ต.ค.นี้ ที่สำนักงานศาลยุติธรรม ถ.รัชดาภิเษก ซึ่งผลคะแนนของการถอดถอนนั้น ตามเกณฑ์ที่ระบุไว้ในระเบียบจะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของผู้พิพากษาทั่วประเทศที่มีสิทธิลงคะแนน คือจำนวน 2,243 ราย เมื่อได้ผลแล้วจะประกาศเผยแพร่ลงในเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นไลน์ของสำนักงานศาลยุติธรรม (COJ) ต่อไป

นายสราวุธ กล่าวต่อไปว่า ในกระบวนการถอดถอนก็ได้ตั้ง “คณะกรรมการดำเนินการเพื่อลงมติถอดถอน ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ” เพื่อดูแลกระบวนการทั้งหมด โดยมีตนเป็นประธาน และผู้พิพากษาระดับศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้น ศาลละ 2 คน ร่วมเป็นกรรมการ ซึ่งวันนี้ช่วงเช้าคณะกรรมการทั้ง 7 คน ก็ได้มีการประชุมกันแล้ว และมีการตั้งคณะอนุกรรมการตรวจนับคะแนนรวม 11 คน สำหรับบัตรลงคะแนนที่จะต้องส่งให้กับผู้พิพากษานั้น ในบัตรจะไม่มีการให้ระบุชื่อ เพราะต้องเป็นการลงคะแนนลับ โดยมีตัวเลือก 2  ช่อง “ถอดถอน” และ “ไม่ถอดถอน” เพื่อให้ทำเครื่องหมายส่งกลับมา ระหว่างนี้นับตั้งแต่วันนี้ (18 ก.ย.) นายชำนาญก็จะต้องหยุดการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลฎีกาเป็นการชั่วคราวจนถึงวันนับคะแนน 26 ต.ค.นี้ ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้พิพากษาทำอรรถคดีต่างๆ ในตำแหน่งประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกานั้นก็ยังดำเนินต่อไป เพราะเป็นคนละส่วนกัน ทั้งนี้ ถือเป็นการดำเนินการถอดถอน ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งถือเป็นระบบการตรวจสอบภายใน

ผู้สื่อข่าวถามว่าก่อนหน้านี้ที่นายชำนาญได้ชี้แจงว่าในการประชุม ก.ต.ชั้นพิจารณาความเหมาะสมการโยกย้ายตำแหน่งของนายชำนาญระดับรองประธานศาลฎีกานั้น นายชำนาญได้ขอให้ประธานศาลฎีกาโอนคดีมรดกของครอบครัวที่มีปัญหาตามที่เครือญาติซึ่งเป็นโจทก์ได้ร้องขอไปยังศาลอื่น โดยเรื่องนี้เป็นประเด็นในการยื่นถอดถอน และบอกว่าโดยตกลงจะไม่ดำเนินคดีกับ ก.ต.ที่ดำเนินการพิจารณาวาระการโยกย้ายไม่ชอบนั้น ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร นายสราวุธ ระบุเพียงสั้นๆ ว่า เรื่องใดในการประชุมก็จะมีไว้เป็นรายงานการประชุม ซึ่งตนไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ท่านให้ข้อมูลอย่างไรก็ต้องรับผิดชอบเอง

เมื่อถามถึงกรณีที่นายชำนาญได้แจ้งความดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาท, พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ต่อคณะผู้แทนที่ยื่นหนังสือขอถอดถอนนั้น จะกระทบต่อกระบวนการเสนอถอดถอนและคณะผู้ลงชื่อหรือไม่ นายสราวุธ ชี้แจงว่า ไม่กระทบกระบวนการ ทั้งนี้ ตามกฎหมายไม่ได้ระบุความคุ้มครองต่อผู้ยื่นถอดถอนไว้เหมือนกับการคุ้มครองเอกสิทธิ์ ส.ส. ในสภา โดยระบบการถอดถอนไม่ว่าจะเรื่องใด ตามหลักสากลต้องมีการเปิดเผยรายชื่อผู้ถอดถอนเพื่อให้สามารถตรวจสอบที่มาได้อยู่แล้ว เพียงแต่ตามกระบวนการของศาลไม่ได้ระบุความคุ้มครองไว้ แต่ถ้าเป็นการดำเนินที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ย่อมได้รับความคุ้มครอง ส่วนสิทธิ์ของการฟ้องคดีทุกคนมีสิทธิ์ที่จะฟ้องได้ หากเห็นว่ามีเรื่องที่กระทบส่วนตัว เรื่องคดีแต่ละคนก็ต้องว่ากันไป

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงกรณีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกับนายชำนาญว่า ในการประชุม ก.ต. เมื่อวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้มีมติให้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงชั้นต้น ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 มาตรา 68 กำหนดให้ประธานศาลฎีกามีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามระเบียบวิธีการที่ ก.ต. กำหนด โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งมีทั้งหมด 3 คน ซึ่งจะมีตำแหน่งจะสูงกว่าระดับประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา ที่นายชำนาญดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบัน ระยะเวลาการสอบสวนข้อเท็จจริงนั้นจะอยู่ในช่วง 30 - 45 วัน ซึ่งมีการสอบสวนทันทีเมื่อประธานศาลฎีกาได้แต่งตั้งคณะกรรมการแล้ว โดยในชั้นนี้นายชำนาญยังมีโอกาสที่จะได้เข้าชี้แจง ทั้งด้วยการเชิญตัวมาสอบถามหรือยื่นเอกสาร ส่วนการดำเนินการถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่ง ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในศาลฎีกานั้น ก็จะดำเนินไปตามกรอบเวลา ไม่จำเป็นต้องรอผลการพิจารณาสอบสวนข้อเท็จจริงชั้นต้นนี้ เนื่องจากเป็นคนละประเด็นกัน โดยการสอบสวนข้อเท็จจริงชั้นต้นเป็นเรื่องการรักษาวินัยของผู้พิพากษา ส่วนการยื่นถอดถอนเป็นกรณีที่รวบรวมรายชื่อผู้พิพากษาตามระเบียบ ก.ต. ว่าด้วยการเข้าชื่อและการลงมติถอดถอนฯ ข้อ 5


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"