การตลาดพิชิตใจสูงวัย


เพิ่มเพื่อน    

      จากการที่ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเต็มรูปแบบในปี 2568 ทำให้กระแสต่างๆ หันมาสนใจเทรนด์การดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทอาหาร ที่ต่างก็พัฒนาเพื่อเน้นตอบโจทย์กลุ่มดังกล่าวมากขึ้น หรือแม้แต่ธุรกิจบริการก็พยายามเพิ่มพื้นที่ รองรับผู้สูงอายุมากกว่าในอดีต เพราะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่กำลังจะมีขนาดเพิ่มขึ้น และมีกำลังซื้อสูงไม่น้อยเลยทีเดียว

        โดยประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 64.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 9.4 ล้านคน คิดเป็น 14.5% ของประชากร โดยเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 5 แสนคน และคาดว่าภายในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ซึ่งจะมีประชากรผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นเกิน 20% ของประชากรทั้งหมด

        สำหรับในช่วงที่ผ่านมามีหลายผลสำรวจที่ต้องการเจาะใจพฤติกรรมของผู้บริโภคสูงวัยเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคงเป็นของวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลผลการวิจัยการทำการตลาดกับกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่าสื่อที่ผู้สูงอายุมีการใช้งานมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. Line 50% 2.โทรทัศน์ 24% และ 3.Facebook 16% โดยสื่อที่ผู้สูงอายุใช้เพื่อเข้าถึงโฆษณาน้อยที่สุด ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ตามมาด้วย ยูทูบ (YouTube) และเว็บไซต์ 

        นอกจากนี้ รูปแบบโฆษณาที่เข้าถึงมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ โฆษณาทีวี (TVC) วิดีโอคลิป รูปภาพ บทความ และ  Infographic ตามลำดับ ขณะเดียวกันจากการวิจัยยังพบว่า ผู้สูงอายุ 93% รู้จักและรู้วิธีการใช้งาน Search Engine เพื่อการสืบค้นข้อมูลอีกด้วย

        บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยการตลาดกับกลุ่มผู้สูงอายุ 55-70 ปี จำนวน 604 คน พบว่าสื่อที่มีการใช้งานมากที่สุด 3 อันดับแรก ในกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ อันดับ 1 แอปพลิเคชันไลน์ (Line) เนื่องจากใช้งานง่ายในการติดต่อสื่อสาร โดยเมื่อเจาะลึกลงไปพบว่าเมื่อผู้สูงอายุอ่านเนื้อหาที่ชื่นชอบ จะใช้การส่งสติกเกอร์แทนการพิมพ์ข้อความตอบโต้ เนื่องจากไม่ถนัดในการพิมพ์ทีละตัวอักษร

        ขณะที่อันดับที่ 2 เป็นโทรทัศน์ สื่อดั้งเดิมที่ยังคงมีอิทธิพลต่อผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุคิดเป็น 61% เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้โดยไม่มีการเปลี่ยนช่อง และเปิดไว้เป็นเพื่อนเพื่อคลายเหงา และอันดับที่ 3 Facebook ผู้สูงอายุมองว่า Facebook นั้นใช้งานยากกว่า Line เวลาจะแชร์ข้อมูลให้ผู้อื่นต่อ ก็ไม่แน่ใจว่าจะกดปุ่มใด ส่วนการเข้าถึงหรือการรับสื่อในรูปแบบของการโฆษณา ยังพบว่าเป็นสื่อโทรทัศน์ เพราะพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ ดูไปเรื่อยๆ ไม่เปลี่ยนช่อง ทำให้โอกาสที่จะได้รับข้อมูลทางการตลาดโดยการฟังหรือการมองเห็นภาพนั้นมีมากกว่าสื่อในช่องทางอื่นๆ โดยการโฆษณาบนโทรทัศน์มักมีทั้งภาพและเสียงไปพร้อมกัน ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกตื่นเต้นและจูงใจ 

        ขณะเดียวกัน การเข้าถึงโฆษณาผ่าน LINE ผู้สูงอายุจะชอบใช้สติกเกอร์ฟรี เมื่อกดแอด Line แล้ว ผู้สูงอายุบล็อก Line ไม่เป็น เมื่อมีโฆษณาผ่านช่องทางนี้ ทำให้ผู้สูงอายุจำเป็นต้องรับข้อมูลทางการตลาดผ่านสื่อ Line ไปโดยปริยายนั่นเอง

        มาต่อกันที่เฟซบุ๊ก แม้จะถูกมองว่าการใช้ยุ่งยากมากกว่าเมื่อเทียบกับสื่ออื่น แต่เหตุผลที่ผู้สูงอายุมักชื่นชอบช่องทางนี้ เนื่องจากมีเนื้อหาหลากหลายที่น่าสนใจ แต่ผู้สูงอายุมักไม่ทราบว่าเนื้อหาที่ตนเองสนใจนั้นเป็นการสื่อทางการตลาดหรือโฆษณาในรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการโฆษณาของเฟซบุ๊กสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมาย (Target Audience) ได้ ทำให้เวลาผู้สูงอายุเข้าใช้เฟซบุ๊กก็จะเห็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับตนเอง

        เห็นเทรนด์เบื้องต้นของการทำตลาดผู้สูงอายุแบบนี้แล้ว ผู้ประกอบการรายใดที่สนใจเจาะกลุ่มดังกล่าว ก็เก็บไว้เป็นข้อมูล เพื่อพิชิตใจสูงวัยให้มาเลือกซื้อสินค้าและบริการของตนเอง เพราะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่กล่าวถึงกันมาสักพักหนึ่งแล้ว เป็นอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ เนื่องจากมีเงินเก็บที่เตรียมจะใช้จ่ายสูง ใครทำการตลาดได้ตรงใจ ก็ย่อมมีโอกาสมากกว่า

รุ่งนภา  สารพิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"