วงการหนังสือปรับตัวรุกช่องทางขายออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

 

สมาคมผู้จัดพิมพ์ เล็งจัดงานมหกรรมหนังสือควบคู่ออนไลน์-ออฟไลน์ หวังตอบรับเทรนด์ขายผ่านออนไลน์โต 70% คาดในอีก 3-5 ปี ช่องทางขายหนังสือผ่านออนไลน์สัดส่วนเพิ่มจาก 30% เป็น 50%

นางสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯมีแนวคิดจะจัดงานมหกรรมหนังสือ ทั้งในรูปแบบเปิดจำหน่ายหน้าร้านควบคู่ไปกับช่องทางออนไลน์ ขณะนี้ได้อยู่ระหว่างเจรจากับสำนักพิมพ์ต่างๆคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆนี้ เพื่อปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันที่นิยมซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ ง่าย สะดวก จนทำให้ปี 2561 นี้หนังสือที่มีการจำหน่ายผ่านร้านค้าออนไลน์ อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เติบโตไปแล้ว 70% คาดว่าจากกระแสดังกล่าวจะทำให้อีก 3-5 ปีข้างหน้าสัดส่วนการขายหนังสือผ่านออนไลน์จะเพิ่มจาก 30% เป็น 50%

สำหรับปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมหนังสือมูลค่าประมาณ 20,000 ล้านบาท คาดว่าปีนี้เติบโตได้ประมาณ 1-2% เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ทรงตัว เนื่องจากในช่วงต้นปีมานี้ได้อานิสงค์กระแสละครบุฟเพสันนิวาส ช่วยผลักดันให้หนังสือวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ได้รับความนิยมอย่างมาก ส่วนครึ่งปีหลังนี้พบว่าหนังสือวรรณกรรมแปลเริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากกระแสและรางวัลช่วยการันตี ทำให้เด็กไทยให้ความสนใจอย่างมาก

 อย่างไรก็ตาม หนังสือที่ได้รับความนิยมสูงสุด ได้แก่ วรรณกรรมกราฟฟิกวัยรุ่น วรรณกรรมแปล และนวนิยาย ส่วนหนังสือที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ไอทีและท่องเที่ยวทั่วไปที่คนสามารถหาความรู้ผ่านเว็ปไซต์ได้ จนทำให้ต้องปรับงานเขียนด้วยการลงพื้นที่เขียนท่องเที่ยวในรูปแบบแปลกใหม่ที่ยังไม่มีใครค้นพบมากขึ้น

ล่าสุด ระหว่างวันที่ 17-28 ต.ค.นี้ทางสมาคมฯจัดงาน มหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่23 และเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 12 ขึ้น ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คาดว่าจะมียอดขายภายในงาน 400 ล้านบาท มีผู้เข้าชมงานประมาณ 1.8 ล้านคน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"