แพทย์-นักวิชาการยืนยัน‘จ๊ะเอ๋’ช่วยส่งเสริมพัฒนาการสมองทั้ง IQ และ EQ


เพิ่มเพื่อน    

‘จ๊ะเอ๋’ การเล่นที่นิยมในทุกประเทศ และมักเรียกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภายใต้ความสนุกสนานนั้นยังแฝงด้วยแรงกระตุ้นมหัศจรรย์ที่ช่วยให้สมองและพัฒนาการของเด็กเติบโตในหลายด้านที่ผู้ใหญ่คาดไม่ถึง
ล่าสุด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เปิดตัวเครื่องมือดูแลลูกยุคใหม่ ‘สิ่งเล็กๆ ที่สร้างลูก’ เพื่อส่งเสริมให้เด็กไทยอายุ 0-5 ปีมีพัฒนาการที่สมวัย ด้วยเครื่องมือใกล้ตัวในราคาเพียง ‘0’ บาท ที่ทุกบ้าน ทุกชนชั้นทางสังคมสามารถทำได้เหมือนกัน 
จ๊ะเอ๋ ก็เป็นหนึ่งในการเล่นแนะนำในคู่มือสิ่งเล็กๆ ที่สร้างลูกที่ให้มากกว่ารอยยิ้ม เพราะเป็นการเล่นที่ไม่เคยล้าสมัย และยังปรากฏอยู่ในหลายวัฒนธรรม อย่างในโซนยุโรปเรียกการละเล่นนี้ว่า “peekaboo”
ประโยชน์ของการเล่นจ๊ะเอ๋ ช่วยฝึกการจดจำข้อมูล เด็กๆ จะจำว่าพ่อแม่นั้นมักจะโผล่ทางไหน และคาดเดาว่าครั้งต่อไปจะเป็นทางใด รู้จักอดทนรอคอย ช่วงเวลาที่แม่ปิดหน้า หรือซ่อนหลังผ้า เด็กก็ต้องรอว่าเมื่อไหร่แม่จะเปิด หรือโผล่มา เกิดสายสัมพันธ์ การเล่นจ๊ะเอ๋คือช่วงเวลาที่ลูกเป็นศูนย์กลาง การสบตาทำเสียงสูงต่ำให้เร้าใจ ทุกรอยยิ้มและเสียงหัวเราะล้วนถักทอสายสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวให้แน่นแฟ้น เกิดความผูกพันในหัวใจลูก
พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล มองว่า ‘จ๊ะเอ๋’ เป็นการเล่นที่ง่ายและสนุก สร้างความผ่อนคลายทั้งสองฝ่าย และยังส่งเสริมพัฒนาการที่สำคัญ คือ การเรียนรู้ของเด็กที่ว่าวัตถุยังคงอยู่แม้เราจะมองไม่เห็น ระหว่างที่ปิดตาและเปิดตา คล้ายกับหาของซ่อนแอบ ทำให้เด็กเรียนรู้ความคงอยู่ของวัตถุ (object permanence) เป็นความฉลาดทางปัญญาและความมั่นคงทางจิตใจ สิ่งนี้ลงรากฝังลึกในใจเด็ก ส่งผลเวลาที่ห่างจากพ่อแม่ การเล่นจ๊ะเอ๋จึงเหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สำหรับเด็ก 2 ปีขึ้นไป พญ.อัมพร แนะนำการเล่นด้วยราคาศูนย์บาทอย่าง ‘เป่า ยิ้ง ฉุบ’ ที่ช่วยให้เด็กได้รู้จักสัญลักษณ์มากขึ้นจากภาษามือ รู้จักเปรียบเทียบว่าอะไรเหนือกว่าอะไร เช่น ค้อนชนะกรรไกร แต่ค้อนแพ้กระดาษ และกระดาษก็แพ้กรรไกร เป็นวงจรซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์ และส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์จากการรู้จักแพ้ชนะ
    พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มองการเล่น ‘จ๊ะเอ๋’ ว่า จากการที่ผู้ใหญ่ปิดตาหรือซ่อนแอบ เด็กในช่วง 2 ขวบปีแรกจะได้เรียนรู้เรื่องการคงอยู่ของสิ่งต่างๆ ว่าเดี๋ยวแม่ก็จะกลับมานะ ฝึกการจดจำข้อมูลว่าพ่อแม่ชอบโผล่มาทางไหน รู้จักอดทนรอคอย พัฒนาด้านการสื่อสาร เพราะการเล่นจ๊ะเอ๋จะเผยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ การมองตาของเด็ก เท่ากับว่าเด็กได้รับการตอบสนอง ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้เกิดสายสัมพันธ์ความผูกพันขึ้นในหัวใจของลูก เพราะถือเป็นช่วงเวลาที่เด็กเป็นศูนย์กลาง หรือเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาคุณภาพ
ดร.วรนาท รักสกุลไทย ผู้เชี่ยวชาญทางการศึกษาปฐมวัย มองว่า การเล่น เป็นช่องทางการเรียนรู้ของเด็กเล็ก เพราะวิธีการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ จ๊ะเอ๋ คนกับคน เกิดความสุขในขณะที่เล่น ความสุขในการดำเนินชีวิต และขณะที่เล่นตาเขาดูการเปิดปิดของแม่เป็นการควบคุมกล้ามเนื้อ และช่วยให้เกิดการจดจ่อ ซึ่งยังช่วยให้แม่สามารถเช็กพัฒนาการของลูกได้ หาก 6 เดือนเขาไม่จดจ่อในสิ่งของ จะรู้ว่าเขามีพัฒนาการล่าช้าหรือไม่ เด็กจะจำโทนเสียงของแม่ หรือผู้เลี้ยงดูได้อย่างมหัศจรรย์ จึงสังเกตได้ว่าเวลาที่คนอื่นเล่นจ๊ะเอ๋ เด็กอาจไม่หัน แต่จะหันตามเสียงของคนใกล้ชิดมากกว่า ส่วนเด็กวัยขวบกว่า-2 ขวบ รูปแบบการเล่นจ๊ะเอ๋ จะช่วยให้เด็กเป็นตัวของตัวเอง โดยให้เด็กเป็นคนพูดจ๊ะเอ๋ด้วยตัวเอง และใช้ผ้า หรืออุปกรณ์มาช่วยปิดหน้า ทำให้เด็กรู้จักการเป็นผู้นำ จะช่วยสร้างความมั่นใจในตัวเอง พร้อมกับการชมเพื่อเสริมแรงให้มีความมั่นใจมากขึ้น จ๊ะเอ๋จึงเป็นการกระตุ้นประสาทสัมผัสที่ดี และการให้รางวัลด้วยการกอด สัมผัสที่นุ่มนวลระหว่างการเล่นจะทำให้การเล่นเป็นเวลาคุณภาพ  
การเล่นเป็นช่องทางการเรียนรู้ของเด็กเล็กโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยสิ่งของราคาแพง สิ่งสำคัญคือ “เวลาคุณภาพ” และ “หัวใจ” เพื่อให้เป็นช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้และสานสัมพันธ์ที่มีความหมายต่อพัฒนาการที่สำคัญในชีวิตของเด็ก. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"