2จุดตาย'โอ๊ค'พันคดีกรุงไทย เช็ค10ล้านใช้เวลา3เดือนถึงจำได้


เพิ่มเพื่อน    

แม้อัยการจะไม่มีความเห็นสั่งฟ้องโอ๊ค-พานทองแท้ ชินวัตร “ในกรณีเช็ค  26 ล้านบาทเข้าบัญชีตัวเอง ในคดีฟอกเงินการปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย โดยฟ้องเพียงแค่สำนวน เช็คเงิน  10 ล้านบาท แต่กระนั้น มันก็ทำให้ “พานทองแท้”ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นจำเลยคดีอาญา ตามรอย บิดา ทักษิณ และอา-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่หลังจากนี้ ก็ต้องปลีกเวลาในชีวิตส่วนหนึ่ง มาคอยประชุมกับทีมทนายความ เพื่อสู้คดีในชั้นศาลอาญาคดีทุจริต ฯ  อันทำให้ ชีวิตคงต้องเปลี่ยนไปพอสมควร จนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยเฉพาะการลุ้นผลคดีในแต่ละชั้นศาล

อย่างไรก็ตาม สำนวนคดีเช็ค 26 ล้านบาท ถือว่ายังไม่สะเด็ดน้ำ เพราะต้องรอดูว่าสุดท้ายแล้ว “พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ”จะทำความเห็นแย้ง อัยการ เพื่อยืนยันการสั่งฟ้อง สำนวนคดี เช็ค  26ล้านบาทกลับไปที่อัยการหรือไม่ โดยหากดีเอสไอ แย้งคำสั่งไม่ฟ้องของอัยการ เพื่อยืนยันให้มีการยื่นฟ้องคดี พานทองแท้ เพิ่มอีกหนึ่งสำนวน ความเห็นแย้งดังกล่าวและสำนวนทั้งหมด ก็จะส่งไปให้ “เข็มชัย ชุติวงศ์ อัยการสูงสุด”เป็นผู้ชี้ขาด

โดยเรื่อง เช็ค  10 ล้านบาทดังกล่าว ที่พานทองแท้ ถูกฟ้องเป็นจำเลย มีการตั้งข้อสังเกตุจาก “ศิริชัย วัฒนโยธิน อดีตประธานศาลอุทธรณ์-อดีตรองประธานศาลฎีกา”ที่สำคัญเป็น”ตุลาการเจ้าของสำนวนคดีทจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยฯ”  ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินจำคุก อดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทยและผู้บริหารกฤษดามหานครยกพวง เมื่อปี 2558

“อดีตประธานศาลอุทธรณ์”ระบุไว้ในคำวินิจฉัยส่วนตน เมื่อ 26 สิงหาคม 2558 ถึง”เงื่อนปมเช็ค10  ล้านบาท”ดังกล่าวไว้โดยสรุปว่า การที่นายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร ที่ได้สินเชื่อกรุงไทยร่วม 9,900 ล้านบาท ผ่านบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จนถูกศาลฎีกาฯตัดสินจำคุกในคดีทุจริตปล่อยกู้กรุงไทยฯ แนวทางการไต่สวนคดี จากพยานหลักฐาน พบว่า หลังกรุงไทยปล่อยสินเชื่อดังกล่าวออกมา นายวิชัย ได้สั่งจ่ายเช็คจำนวน 10 ล้านบาทจากไทยธนาคารเข้าบัญชีพานทองแท้ ที่ธ.กรุงเทพ สาขาบางพลัด จนถูกคตส.เข้าตรวจสอบการทำธุรกรรม  ต่อมา  พานทองแท้ ชี้แจงกับอนุไต่สวนของคตส.ตอนคดีอยู่ในชั้นคตส.ที่มี แก้วสรร อติโพธิ คุมคดี นายพานทองแท้ อ้างว่าเป็นเงินที่ร่วมลงทุนกับรัชฎา กฤษดาธานนท์  ลูกชายนายวิชัย ซึ่งปัจจุบันก็อยู่ในเรือนจำ แต่ตอนนั้น พานทองแท้ กลับไม่ได้ชี้แจงตอนนั้นว่า ทำธุรกิจอะไร

หลังจากนั้น ประมาณ 3เดือน จึงได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า เป็นการร่วมลงทุนนำเข้าธุรกิจรถยนต์จากต่างประเทศมาขาย แต่ติดขัดเรื่องขั้นตอนการนำเข้ารถยนต์ใช้เวลานานและสีรถยนต์ไม่ถูกใจ จึงยกเลิกการทำธุรกิจ

เห็นว่า หากเป็นเงินร่วมลงทุนทำธุรกิจตามที่อ้าง ก็น่าจะชี้แจงไปตั้งแต่ครั้งแรก และนายพานทองแท้เป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ ข้ออ้างร่วมลงทุนเพียง  10ล้านบาท ไม่น่าเชื่อถือ คำชี้แจงขัดต่อเหตุผล ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง”

คำวินิจฉัยดังกล่าวระบุอีกว่า “ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบเส้นทางการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าหลังบริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค ได้สินเชื่อจากกรุงไทย ต่อมาจำเลย(นายรัชฏา) ได้นำเงินดังกล่าวไปซื้อหุ้นจองที่เป็นหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด ของบริษัทท่าอากาศยานไทย หรือทอท. ก่อนเข้าตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 420,000 หุ้น ที่หากเก็บไว้จะสามารถทำกำไร แต่นายรัชฏา กลับนำหุ้นมาเสนอขายกับพนักงานบริษัทมาสเตอร์โฟน ที่เป็นบริษัทในเครือบริษัทฮาวคัม ที่ พานทองแท้ เป็นประธานกรรมการ จึงเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลย(นายรัชฏา) ส่อไปในทางต่างตอบแทน”

เช็ค  10 ล้านบาท และหุ้นจอง ทอท. ที่โยงถึง พานทองแท้ จึงเป็นจุดตาย สำคัญที่ทำให้ พานทองแท้ อยู่ในอาการน่าเป็นห่วง ในคดีกรุงไทย!!

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"