ประเดิมเสนอชื่อส.ว.กร่อย กกต.หวั่นช่วงท้ายสมัครล้น


เพิ่มเพื่อน    

    บรรยากาศลงทะเบียนองค์กรเสนอชื่อ ส.ว.วันแรกเงียบเหงา มีแค่ 4 องค์กร กกต.เร่งประชาสัมพันธ์ให้แต่ละองค์กรเตรียมเอกสารให้พร้อม กังวลช่วงกลาง-ท้ายแห่สมัครจนล้น
    เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประจำกรุงเทพมหานคร ผู้สื่อข่าวรายงานการเปิดรับลงทะเบียนองค์กรที่มีสิทธิ์แนะนำชื่อบุคคลเพื่อสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา  (ส.ว.) ระหว่างวันที่ 15-24 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นการเปิดรับลงทะเบียนวันแรกว่า บรรยากาศตั้งแต่เปิดทำการในช่วงเช้ามีผู้แทนองค์กรต่างๆ ทยอยเดินทางนำเอกสารมาให้เจ้าหน้าที่ กกต.ตรวจสอบความสมบูรณ์และยื่นจดทะเบียนองค์กรค่อนข้างบางตา มีเพียงผู้แทน 4 องค์กร คือ สมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง, สมาคมแพทย์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย, มูลนิธิธรรมนิติ และสมาคมศิษย์เก่าจันทร์ประดิษฐาราม โดยมีนายสมยศ อักษร ผู้ตรวจการเขตตรวจการที่ 1 มาสังเกตการณ์ความเรียบร้อยในการยื่นลงทะเบียนองค์กร
    นายถิรรัตน์ พินิจตานนท์ ปฏิบัติหน้าที่แทน ผอ.กกต.กทม.กล่าวว่า บรรยากาศการเปิดรับลงทะเบียนวันแรกมีผู้แทนองค์กรทยอยเข้ามาติดต่อเพื่อลงทะเบียน ซึ่งพบว่าบางองค์กรยังมีปัญหาเรื่องเอกสารมอบอำนาจ จึงแนะนำให้ไปแก้ไขแล้วนำกลับมายื่นลงทะเบียนอีกครั้ง ส่วนองค์กรที่เคยประสานขอคำแนะนำจาก กกต.และเตรียมเอกสารมาครบถ้วนก็สามารถยื่นลงทะเบียนได้ ดังนั้นจึงขอประชาสัมพันธ์ไปยังองค์กรต่างๆ ที่มีความประสงค์ลงทะเบียนให้ไปติดต่อที่สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดต่างๆ เพื่อจะได้ทราบว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง อย่างละกี่ชุด จะได้กรอกรายละเอียดมาได้ล่วงหน้าไม่ต้องเสียเวลา 
    โดยเอกสารสำคัญที่ขาดไม่ได้ เช่น วัตถุประสงค์และข้อบังคับขององค์กร, ผู้มีอำนาจกระทำการแทนองค์กร, งบการเงิน, ผลการดำเนินงาน และรายงานการประชุมย้อนหลัง 3 ปี เพื่อแสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้นๆ มีผลการทำงานอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญคือจะต้องเป็นองค์กรที่ไม่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง และจะต้องเป็นองค์กรที่จัดตั้งโดยไม่แสวงหารายได้
    "กกต.ยอมรับว่ามีความกังวลว่า ในช่วงกลางและท้ายของระยะเวลาการสมัครจะมีองค์กรมายื่นลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจจะไม่สามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งจำนวนองค์กรที่ยื่นจดทะเบียนส่วนใหญ่ร้อยละ 80-90 ตั้งอยู่ในเขต กทม. จึงขอแนะนำว่าให้เตรียมเอกสารมาให้พร้อม หากยังไม่เข้าใจขอให้มาสอบถาม" นายถิรรัตน์กล่าว
    ทั้งนี้ สำนักงาน กกต.กทม.ได้ประชาสัมพันธ์ให้องค์กรต่างๆ ที่จะมายื่นขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม ตรวจสอบให้ชัดเจนว่าองค์กรของตนเองถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และต้องอธิบายวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลให้ชัดเจน ที่สำคัญคือเอกสารรายงานงบการเงิน และรายงานการประชุมย้อนหลัง 3 ปี นอกจากนี้องค์กรที่จะมาลงทะเบียนจะต้องเลือกวัตถุประสงค์เพียง 1 ประเภทเท่านั้น ต้องเลือกให้ถูกประเภทว่าเราเป็นองค์ประเภทใด เพราะหากเลือกผิดจะถือว่าเสียสิทธิ์และเสียโอกาส   
    อย่างไรก็ตาม หลังรับลงทะเบียนองค์กรแล้วจะใช้เวลาตรวจสอบคุณสมบัติ 7 วัน จากนั้นจะส่งให้ กกต.กลางพิจารณา 20 วันเพื่อประกาศรายชื่อ หากองค์กรใดไม่ได้รับการประกาศรายชื่อสามารถยื่นโต้แย้งได้ภายใน 3 วัน. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"