คมนาคมตั้งเป้าดันยอดคนใช้รถไฟฟ้าเพิ่ม 400%


เพิ่มเพื่อน    

 

คมนาคมตั้งเป้าดันยอดคนใช้รถไฟฟ้า 400% แตะ 5 ล้านคนต่อวันภายใน 10 ปี เล็งขยายฟุตบาต-ทางจักรยานเปลี่ยนพฤติกรรมจูงใจใช้รถไฟฟ้า เร่งเครื่องโปรเจ็กต์รถไฟฟ้า 2.6 แสนล้านเข้าครม.ปีนี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดในงานสัมมนาผังเมืองใหม่ เมกะโปรเจ็กต์ : พลิกโฉม กทม.ว่าสำหรับโครงการลงทุนระบบรางในเมืองหลวงอย่างรถไฟฟ้านั้นเป็นอีกยุทธศาสตร์สำคัญในการแก้จราจรเมืองหลวงได้อย่างดี โดยตามแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 1 นั้นจะเปิดบริการครบ 12 เส้นทางภายในระยะเวลา 10 ปีนับจากนี้ หรือในปี 2572 ตั้งเป้าว่าจะมีผู้ใช้บริการต่อวัน 5.13 ล้านคน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 400% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ 1 ล้านคนต่อวัน รวมโครงข่ายรถไฟฟ้าในปีดังกล่าว 509 กม. 312 สถานี 

อย่างไรก็ตามดังนั้นในอนาคตจะต้องมีมาตรการจูงใจให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาใช้รถไฟฟ้า โดยมีแผนจะขยายพื้นที่ทางเท้าให้เพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าและบริเวณสถานีใหญ่สนับสนุนให้คนเดินมากขึ้นเช่นควบคู่ไปกับการอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการตลอดจนเด็กเล็กเพื่อปลูกฝังค่านิยมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้มีแผนลงทุนทำทางจักรยานเพื่อให้ประชาชนขี่มาจอดแล้วเดินทางด้วยรถไฟฟ้าอีกด้วย 

นายชัยวัฒน์กล่าวต่อว่าส่วนด้านความคืบหน้าด้านแผนพัฒนารถไฟฟ้านั้นภายในสองเดือนสุดท้ายของปีนี้จะมีการเสนอโครงการรถไฟฟ้ามูลค่า 2.65 แสนล้านบาทให้ฝ่ายนโยบายรัฐบาลพิจารณาทั้งสภาพัฒน์และที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เริ่มจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกช่วงศูนย์วัฒนธรรม-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.4 แสนล้านบาทจะเสนอเข้าสู่บอร์ดพีพีพีได้ในเดือนต.ค.ก่อนเสนอเข้าสู่ครม.ในเดือนพ.ย.นี้ ส่วนด้านโครงการรถไฟฟ้าสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.1 แสนล้านบาทนั้นจะเสนอเข้าบอร์ดรฟม.ได้ในเดือนพ.ย.ก่อนเสนอเข้าสู่บอร์ดพีพีพีและครม.ต่อไปในปลายปีนี้ 

นอกจากนี้ยังมีรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย 2.42 หมื่นล้านบาทจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาพัฒน์ได้ในเดือนพ.ย. ก่อนเสนอเข้าสู่ครม.เห็นชอบต่อไป ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยาย ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน-ศิริราช วงเงิน 7.46 พันล้านบาท และรถไฟฟ้าสีแดงส่วนต่อขยายช่วงรังสิต-ธรรมศาสตร์ วงเงิน 6.57 พันล้านบาท 
นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบรางอยู่ที่อันดับ 44 ของโลกถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น อีกทั้งยังส่งผลให้ต้นทุนโลจิสติกส์สูงถึง 14% ของผลผลิตมวลรวมประเทศ(GDP) ทำให้การส่งออกสินค้าไปขายยังประเทศที่สามต้องเสียศักยภาพการแข่งขันไปมาก สู้ราคาเพื่อนบ้านไม่ได้เพราะเรามีต้นทุนขนส่งที่สูงกว่า ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญในการลงทุนรถไฟทางคู่มูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านบาทเพื่อเพิ่มระยะทางของระบบรางอีกมากว่า 3,000 กม.ทั้งระบบรถไฟทางคู่และระบบรถไฟความเร็วสูง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"