Music Sharing ดนตรีเปลี่ยนชีวิตที่คลองเตย


เพิ่มเพื่อน    

    ชุมชนคลองเตย ซึ่งเป็นชุมชนแออัดเก่าแก่ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ปัญหาพื้นฐานของชุมชนได้แก่ ปัญหาความแออัดของที่อยู่อาศัย ปัญหาขยะ ปัญหายาเสพติด ด้านการประกอบอาชีพพบว่าร้อยละ 70 ของประชากรประกอบอาชีพรับจ้าง ลูกจ้างโรงงาน ช่างก่อสร้าง ที่เหลือประกอบอาชีพอิสระ ค้าขาย ร้อยละ 50 ของประชากรมีบ้านเป็นของตนเอง เยาวชนที่เติบโตในชุมชนคลองเตยเสี่ยงต่อการข้องเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนสลัม เช่น ปัญหายาเสพติด ความรุนแรง ครอบครัวแตกแยก ความยากจน
    ศิริพร พรมวงศ์ หรือ "ครูแอ๋ม" แกนนำ Music Sharing ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงรวมกลุ่มดนตรีเล็กๆ ที่มีความคิดในการขยายพื้นที่เชิงสร้างสรรค์สำหรับเด็กๆ ผ่านกระบวนการดนตรี ภายใต้ "โครงการดนตรีเพื่อการแบ่งปัน" โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทำการยกทีมครูอาสาไปสอนเด็กๆ ที่คลองเตยเป็นประจำสัปดาห์ละครั้ง โดยเด็กๆ ที่มาเรียนมีอายุตั้งแต่ 6-7 ขวบ ไปจนถึงวัยรุ่นอายุ 13-14 ด้วยจำนวนเด็กที่มากถึง 30-40 คน ทำให้กีตาร์ตัวหนึ่งต้องผลัดกันเล่น 5 คน กิจกรรมนี้ทำให้เห็นพลังของดนตรีในการนำพาเด็กๆ ไปสู่เส้นทางที่สร้างสรรค์ มีพื้นที่สำหรับรวมกลุ่ม เด็กๆ ได้แสดงออก และสามารถค้นพบศักยภาพที่อยู่ในตัวเอง ครูแอ๋มกล่าวว่า “เวลาเด็กๆ ได้มาเล่นดนตรีด้วยกัน ทุกคนมีความสุข บางคนไม่มีพ่อแม่ แต่พอได้มาทำกิจกรรมด้วยกัน มันทำให้รู้สึกเหมือนเรามีครอบครัว มีคนที่ใส่ใจดูแลกัน"
    ครูแอ๋มกล่าวว่า ความยากของโครงการดนตรีสำหรับเด็ก คือ เป็นโครงการที่ต้องทำต่อเนื่อง ต้องทุ่มเททั้งพลัง และใช้เวลาในการอดทน รอคอย กว่าจะเห็นพัฒนาการหรือการเปลี่ยนแปลงของเด็กๆ เพราะการเรียนดนตรีต้องใช้เวลาในการฝึกฝน เรียนรู้ ไม่เหมือนกับการทำค่าย หรือกิจกรรมศิลปะที่ทำจบแล้วแยกย้ายได้ภายใน 1 วัน ที่ชุมชนคลองเตย เป็นการเปิดพื้นที่ทางเลือกดีๆ ให้กับเด็ก ช่วยดึงพวกเขาออกมาจากการตกไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และอบายมุขรอบตัว โดยการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้รู้จักการทำงานร่วมกัน ปลูกฝังให้เด็กๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมอยากพัฒนาชุมชน เปิดพื้นที่ทางเลือกดีๆ ให้กับเด็กๆ และยังเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวต่อๆ ไปอีกมากมายที่จะช่วยให้เด็กหลายคนพลิกชีวิตมาไกลเกินฝันด้วยพลังของดนตรี หลังจากทำโครงการมา 5 ปี ก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง เด็กๆ หลายคนเติบโตขึ้นมาเป็นแกนนำ จากที่เขาไม่เคยมีความคิดความฝันถึงชีวิตในอนาคต ตอนนี้หลายคนค้นพบเป้าหมายและแรงบันดาลใจ อยากจะมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากเล่นดนตรีให้เก่งๆ และอยากเรียนต่อทางด้านนี้
    ครูแอ๋มบอกว่า เป้าหมายต่อไปของ Music Sharing คือการวางแผนทำเรื่องกองทุนการศึกษาสำหรับเด็กๆ ที่ตั้งใจอยากเรียนต่อด้านดนตรีอย่างจริงจัง เพื่อไปให้ถึงในระดับมหาวิทยาลัย เพราะสำหรับเด็กๆ เหล่านี้แล้ว โอกาสที่จะเรียนต่อด้านดนตรีเป็นไปได้ยากมาก เพราะต้องใช้ทุนสูง หลายคนเรียนจบแค่ ม.3 ก็แยกย้ายกันไป ไม่ได้มองไปถึงเป้าหมายเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งหากเป้าหมายนี้สำเร็จ เด็กเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต.


            จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์
            ([email protected])


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"